ขงจื๊อ: วิถีปราชญ์คือไหว้ฟ้า บูชาดินและอ่อนน้อมถ่อมตัว
โดยทั่ว ๆ ไปถ้าเราศึกษาประวัติของบุคคลสำคัญของโลก หรือคนที่ประสบความสำเร็จในวิธีชีวิตที่ตัวเองชอบ หลาย ๆ คน มักจะมีศัตรู ที่จงเกลียดจงชัง เล่นงานกลั่นแกล้ง จนต้องประสบชะตาชีวิตเลวร้ายอย่างที่สุด ตัวอย่างชัด ๆ เลย ก็มีไล่มาตั้งแต่ โสเครตีส นักปราชญ์ชาวกรีก โมสาร์ท คีตกวี ชาวออสเตรีย กาลิเลโอที่ต้องต่อสู้กับศาสนจักร หรือในไทยก็เช่น สุนทรภู่ กวีรัตนโกสินทรื ตอนต้น ที่พอจะเป้นตัวอย่างได้

สิ่งที่ผมสนใจและตั้งคำถามกับตัวเอง ก็คือว่า เหตุใด บุคคลสำคัญเหล่านั้น จึงประสบปัญหาเดียวกัน คือ มีศัตรูที่คอยทำลาย แล้วก็เกลียดเขา ทั้งที่คนเหล่านั้นก็มีความ "เก่ง" ในทางคนตน

คำถามที่สองก็คือว่า เมื่อคนเหล่านี้มีศัตรูคอยกลั่นแกล้ง แล้ว เหตุใด ความคิด/ผลงานของพวกเขาจึงประสบความสำเร็จอยู่ยั้งยืนยง มาจนถึงทุกวันนี้ ตรงกันข้ามกับศัตรูของพวกเขาที่ผลงาน ล้วนเงียบหายไปเลย

----------------------
สำหรับคำถามแรก ว่าเหตุใดจึงมีแต่คนเกลียดนักคิดนักเขียนและกวีเหล่านี้

คำตอบที่ผมพอจะหาได้ในเบื้องต้น คือ คนเหล่านี้ มีหนึ่งลักษณะที่คล้ายกัน นั่นก็คือ มักจะเป็นคนที่ "สวนกระแส"

แล้วพอสวนกระแส ปุ๊บ แน่นอนว่ามันต้องไปทำให้ คนทีอยุ่ในกระแส เริ่มรู้สึกขาดความมั่นคง จนนำมาซึ่งความหมันไส้ และแรงเข้านานเข้าอาจลุลาม กลายเป็นหมายหัวเป็นศัตรูในที่สุด

โสเครตีส เที่ยวสอนให้เด้กหนุ่มในนครเอเธนส์ ตั้งคำถามกับประเด็นพื้นฐานทางจริยธรรม และการปกครอง จน นำมาซึ่งความรู้สึก "ไม่มั่นคง" ของคนกลุ่มใหญ่ และโสเครตีส ต้องโดนข้อหา "ชักจูงให้เด็กหนุ่มเสียคน"

โมสาร์ท เป้นที่โปรดปรานของจักรพรรดิออสเตรียฮังการี จนทำให้ ซาลิเอรี่ เริ่มรุ้สึกไม่มั่นคง - หมั่นไส้ - และหมายหัวเป็นศัตรูในที่สุด

กาลิเลโอ สนับสนุนแนวคิด เรื่องโลกและจักรวาล ของโคเปอร์นิคัส ซึ่งขัดแย้งต่อความเชื่อของศาสนจักร จนทำให้เขาเกือบโดนเผาทั้งเป็น ก่อนที่จะยอม เปลี่ยนคำพูดเออ ออ ตาม ศาสนจักรไปก่อน แล้วแอบมาวิจัย สิ่งที่เขาเชื่ออย่างลับ ๆ

สุนทรภู่ แก้กลอน ของ รัชกาลที่ 3 ครั้งยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ ในท้องพระโรง ทำให้ พระองค์เสียพระพักตร์เป็นอันมาก เมื่อครั้ง นั้น พระองค์ มิได้ถูกคาดการณ์ว่าจะต้องขึ้นสืบราชบัลลังก์ สุนทรภู่ จึงกล้าวิพากษ์วิจารณ์ งานกลอนโดยตรง แต่พอ ถึงเวลาเข้าจริง ๆ พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ความซวยจึงตกมาที่สุนทรภู่ เรียกว่า เป็นขั้นตกต่ำที่สุดในชีวิตเลยทีเดียว

---------------------------------------



ผมดูภาพยนตร์ชีวประวัติของขงจื๊อ แล้วก็พบว่า ชีวิตขงจื๊อ ก็ไม่ต่าง จากปราชญ์และกวี ที่กล่าว ๆ ไปข้างต้นเสียเท่าไหร่ คือ เริ่มต้นเป้นคนมีความสามารถอยู่เป้นทุนเดิม และก็มีการแสดงความสามารถนั้น จนไปทำให้คนเหม็นหน้า และคนที่เหม็นหน้า นั้นก็เริ่ม "เสี้ยมพรรค สมัครพล ขนพวก" มาทำร้ายในเรื่องที "นอกเหนือความสามารถ" จนสุดท้าย "คนเก่ง" ก็ต้อง หนีหัวซุกหัวซุน

ก็คือ ถ้าสู้กันด้วยวิชาความรุ้ไม่ได้ พวกศัตรูนักปราชญ์ ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้กำลัง ใช้ทหาร ใช้เพื่อนที่มีมากกว่า มาทำร้าย ข่มขู่ ให้เราเห็น ๆ เสมอ จนอาจกล่าวได้ว่า นี่เป็นลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของความขี้อิจฉาของมนุษย์


คำตอบของคำถามข้อแรก ก็นำมาสู่วิธีคิดของคำถามข้อที่สอง คือ ทั้ง ๆที่ "อัจฉริยะ" เหล่านั้นโดนคนเกลียดมากมาย แต่ทำไมท้ายที่สุดแล้ว ผลงานของพวกเขา ยังคงอยู๋มาจนถึงทุกวันนี้

หลาย ๆ คน ก็ต่างกรณีกันไป

อย่าง โมสาร์ท หรือสุนทรภู่ นั้นมีผลงานที่เป้นที่พอพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว เรียกว่า ค่าของคนสองท่าน นั้นเกิดจากผลของงาน ในตัวผลงานล้วน ๆ

ส่วนคำตอบในอีกกรณีนึง ก็น่าจะเป็น อย่าง โสเครตีส หรือ ขงจื๊อ ก็คือเพราะ พวกเขามีลูกศิษย์ลูกหาที่ภักดี อยู่จำนวนหนึ่ง

ลูกศิษย์ลูกหาเหล่านี้นี่แหละ ที่จะคอยช่วยเหลือเกื้อกูล ในยามที่โดนรังแก นอกจากนั้นยังจะช่วยเผยแพร่ คำสอนและผลงาน ของ นักปราชญ์เองให้เป็นที่เลื่องลือ ต่อไปอีกด้วย

เราจะปฏิเสธ ไม่ได้ว่าคำสอนของโสเครตีส และ คำสอนของขงจื๊อ มี อิทธิพลต่อปรัชญา ตะวันตกและตะวันออก ได้เพราะผลงาน ความอตสาหะของลูกศิษย์

------------------

หากจะสรุป ประสบการณ์ปัญหาชีวิตของปราชญ์ที่เล่ามาทั้งหมด นั้น ทำให้ได้แง่คิดว่า "ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน" นั้นก็เป็นจริงส่วนหนึ่ง แต่ไม่จริงทั้งหมด

เพราะ "ค่าของงาน" จะดำรงอยู่ได้ นั้น จะต้อง พึ่ง "ฟ้า" คือ ต้องได้ใจคนที่อยู่สูงกว่า ให้สนับสนุน อย่างกรณีของ โมสาร์ท หรือสุนทรภู่ แม้ว่าจะมีศัตรูตามทำลาย แต่ "ฟ้า" เห้นค่างานของพวกเขา

นอกจากนี้ ยังจะต้อง พึ่ง "ดิน" คือ ลูกศิษย์ลูกหา ให้ช่วยกระจายแนวความคิด และผลงาน อย่างโสเครตีส และ ขงจื๊อ ด้วย

ทั้งการบุชาฟ้าดิน อย่างที่ว่าไป นี้จะยิ่งสมบูรณืแบบยิ่งขึ้น หากว่า "อัจฉริยะ" ทั้งหลาย รู้จัก "ถ่อมตัวอย่างแนบเนียน" พยายามทำให้คน หมั่นไส้ให้น้อยที่สุด แม้ว่าจะหลีกเลี่ยงได้ยาก

ปัญหาที่พบเจอ ในแนวคิด ของ นักคิดสวนกระแส หรือพวกอัจฉริยะ ก้คือ พวกเขา มักจะมีความมั่นใจใน "เนื้อหา" ของงานตัวเอง มากเกินไป แบบอารมณ์ คิดว่า "งานกูดี" ซะอย่าง จะทะเลาะ จะวิจารณ์ใครตรง ๆ ก้ได้ ไม่ต้องกลัว

มันก็จริงอยู่ ว่างาน คุณอาจจะดีจริง
แต่ถ้าดูจากประสบการณืของพวกนักปราชญ์หรืออัจฉริยะในอดีต เราจะเห็นว่า ศัตรูของพวกเขา เหล่านั้น มักจะโจมตี พวกเขา "นอกเรื่อง" กันทั้งนั้น

ถ้าคุณเป็นกวี แล้วคุณมั่นใจว่า คุณใช้ภาษา ฉันทลักษณ์ได้งดงาม แล้วละก็ คนที่เขาหมั่นไส้คุณ เขาก็ไม่มาแข่งภาษากับคุณหรอก

แต่เขาจะพาเพื่อนมารุมมั่ว แล้วเฉไฉ ออกนอกเรื่องนะสิ

ตัวอย่างแบบนี้ มีให้เห็นกันเยอะ

เพราะฉะนั้น นอกจาก จะ "ไหว้ฟ้าบูชาดิน" แล้ว การ "ถ่อมตัว"

และต้องไม่ไปหาเรื่องทะเลาะเบาะแว้งขัดแย้งใครโดยไม่จำเป้น ยังจะช่วยส่งเสริมกำลังของผลงานของตัวคุณเองด้วย

เมือศึกษาประวัติชีวิตของปราชญ์ทั้งหลายในอดีตอย่าง ชีวิตขงจื๊อ ก็น่าจะช่วยให้เราตระหนัก และนำความจริงในข้อนี้ไปคิดต่อ เพื่อประยุกต์ใช้กับชีวิตของเราได้บ้างไม่มากก้น้อย



Create Date : 04 มีนาคม 2553
Last Update : 4 มีนาคม 2553 18:07:11 น.
Counter : 783 Pageviews.

1 comments
  
ผมดูในโรงภาพยนตร์ หลับเป็นช่วงๆ เลยครับ
โดย: คนขับช้า วันที่: 11 พฤษภาคม 2554 เวลา:23:12:00 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend