18.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
18.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]

ความคิดเห็นที่ 4-33
ฐานาฐานะ, 14 มิถุนายน เวลา 00:38 น.

             ๔. กรุณาอธิบายจากที่นี่ ... ถึงที่นี่ค่ะ
             อานนท์! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้เลยๆ
             อานนท์ พรหมจรรย์ทั้งสิ้นนี้ คือ ความเป็นผู้มีมิตรงาม ๑ ความเป็นผู้มีสหายงาม ๑
ความเป็นผู้โน้มไปในมิตรงาม ๑.
             ...
             ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจ.
อธิบายว่า
             พระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์เทียวนะ พระเจ้าข้า.
             พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า
             ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว
             ดูกรอานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.

             อุปัฑฒสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=26&Z=51

             ครั้งหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรเข้าเฝ้าแล้วกราบทูลว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นเทียวนะ พระเจ้าข้า.
             [๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกละ ถูกละ สารีบุตร ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวัง
ข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.

             สารีปุตตสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=52&Z=73

             นัยก็คือ ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญามากมานานมากแล้ว
กล่าวคือตั้งแต่ในอดีต ในอดีตได้เคยบวชเป็นฤาษีมาเป็นร้อยชาติ
ก็ไม่สามารถหลุดพ้นได้เลย จนกระทั่งเมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติ
เมื่อได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาคหรือจากสาวกของพระผู้มีพระภาค
จึงสามารถบรรลุธรรมเครื่องหลุดได้.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ๕. บทว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพียงนั้นหามิได้" ความว่า ตลอดเวลาที่ภิกษุเป็นผู้ถึง
ความเป็นผู้มีชื่อเสียงในพระราชาและอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น หรือซึ่งบริวารสมบัติ
โทษบางอย่างมีมานะและมานะจัดเป็นต้นย่อมไม่มี
             เธอเป็นดุจว่าผู้เข้าไปสงบระงับแล้ว ดุจพระโสดาบัน และดุจพระสกทาคามีอยู่
เธอย่อมเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชี้ชัดว่า เธอเป็นพระอริยะหรือเป็นปุถุชนหนอแล.
อธิบายว่า
             ความว่า ตลอดเวลาที่ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีชื่อเสียงในพระราชาและอำมาตย์
ของพระราชาเป็นต้น หรือซึ่งบริวารสมบัติ โทษบางอย่างมีมานะและมานะจัดเป็นต้นย่อมไม่มี
             น่าจะพิมพ์ตกไป คือ
             ตลอดเวลาที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ถึงความเป็นผู้มีชื่อเสียงในพระราชาและอำมาตย์
ของพระราชาเป็นต้น หรือซึ่งบริวารสมบัติ โทษบางอย่างมีมานะและมานะจัดเป็นต้นย่อมไม่มี
             สรุปใจความอรรถกถาว่า
             ตราบที่ยศยังไม่ปรากฎ บุคคลนั้นก็สงบเสงี่ยม ไม่เห็นว่ามีมานะหรือดูหมิ่นผู้อื่นเลย
เพราะสงบเสงี่ยม นั้นเอง ใครๆ ก็ยังดูไม่ออกว่า เป็นพระอริยะหรือเป็นปุถุชน?

อรรถกถาบาลี :-
             ภิกฺขเว  ยาว  ภิกฺขุ   ราชราชมหามตฺตาทีสุ  อภิฺญาตภาวํ  วา ปริวารสมฺปตฺตึ  วา  
อาปนฺโน  โหติ  ตาว  เอกจฺเจ  มานาติมานาทโย  อาทีนวา
น  สํวิชฺชนฺติ  อุปสนฺตูปสนฺโต  วิย  (๒)  โสตาปนฺโน  วิย  สกทาคามี  
วิย  จ วิหรติ  อริโย  นุ  โขติ(๓)  ปฺเปตุ ํ(๔)  
น  สกฺกา  โหนฺติ  ฯ

พระไตรปิฎก สยามรัฐ :-
             แต่นั้นก็ตรวจดูตถาคตต่อไปว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏถึงความมียศแล้ว
โทษบางชนิดในโลกนี้ของภิกษุนั้นมีอยู่บ้างหรือไม่.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่มีโทษบางชนิดในโลกนี้ ชั่วเวลาที่ตนไม่ถึงความปรากฏ
ถึงความมียศ แต่เมื่อใด ภิกษุถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว เมื่อนั้น จึงมีโทษบางชนิดในโลกนี้
.
             ภิกษุผู้พิจารณาเมื่อตรวจดูตถาคตนั้นก็รู้ว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว
มิได้มีโทษบางชนิดในโลกนี้ เมื่อใด ตรวจดูตถาคตนั้นก็รู้อย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏ
ถึงความมียศแล้ว มิได้มีโทษบางชนิดในโลกนี้ แต่นั้น ก็ตรวจดูตถาคตต่อไปว่า
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ๖. บทว่า "เป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้ว" ความว่า
             เป็นผู้มีภัยหามิได้ เข้าไปยินดีแล้ว. อธิบายว่า "เป็นผู้เข้าไปยินดีแล้วโดยส่วนเดียว
คือเป็นผู้เข้าไปยินดีโดยติดต่อ."
             อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีภัย เข้าไปยินดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เข้าไปยินดี
โดยความเป็นภัยหามิได้ ดังนี้บ้าง.
อธิบายว่า
             ข้อ 6 นี้ น่าจะมาจากอรรถกถาบาลีว่า
             อภยูปรโตติ  อภโย  หุตฺวา  อุปรโต  อจฺจนฺตูปรโต  สตตูปรโตติ  
อตฺโถ  น  วา  ภเยน  อุปรโตติปิ  อภยูปรโต  จตฺตาริ
หิ  ภยานิ  กิเลสภยํ  วฏฺฏภยํ  ทุคฺคติภยํ  อุปวาทภยนฺติ ฯ

พระไตรปิฎก สยามรัฐ :-
             แต่นั้น ก็ตรวจดูตถาคตต่อไปว่า ผู้มีอายุนี้ ไม่ประกอบด้วยภัย ท่านผู้มีอายุนี้
หาประกอบด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ
เมื่อตรวจดูตถาคตนั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ ประกอบด้วยความไม่มีภัย
หาเป็นผู้ประกอบด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ
อรรถกถาบาลี :-
             {๕๓๗.๖}   ตเมนํ   สมนฺเนสมาโน   เอวํ   ชานาติ  อภยูปรโต
อยมายสฺมา   นายมายสฺมา   ภยูปรโต   วีตราคตฺตา  กาเม  น  เสวติ
ขยา  ราคสฺสาติ  ฯ  ตญฺเจ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ ํ  ปเร  เอวํ  ปุจฺเฉยฺยุ ํ  เก
ปนายสฺมโต    อาการา   เก   อนฺวยา   เยนายสฺมา   เอวํ   วเทติ
อภยูปรโต     อยมายสฺมา    นายมายสฺมา    ภยูปรโต    วีตราคตฺตา
กาเม   น  เสวติ  ขยา  ราคสฺสาติ  ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=537&Roman=0

             สรุปความว่า
             บทว่า "เป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้ว" คือ ปราศจากความกลัวแล้ว.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ความคิดเห็นที่ 4-34
ฐานาฐานะ, 14 มิถุนายน เวลา 00:40 น.

             ๗. พระขีณาสพทั้งหลายย่อมรักการเข้าไปติเตียนผู้อื่นอย่างนี้
อธิบายว่า
             เป็นติเตียนผู้อื่น หรือการกำราบผู้อื่นให้ออกจากโทษนั้น
             ในคำว่า "สัตว์ทั้งหลายอาศัยพระขีณาสพเช่นกับเรา จงอย่าพินาศเลย ดุจพระเถระผู้อยู่ในมุลุปปลวาปีวิหาร."
             พระเถระผู้อยู่ในมุลุปปลวาปีวิหาร แสดงอิทธิฤทธิ์ เพื่อให้ภิกษุเจ้าถิ่นเห็น
เพื่อคลายจิตประทุษร้ายในพระอรหันต์เช่นท่าน ถ้าคลายจิตประทุษร้ายได้
ก็เป็นอันออกจากโทษคือการประทุษร้ายในพระอรหันต์.
             การตำหนิคนพาล ก็เพื่อ
             1. ให้คนพาลเห็นความผิด เป็นประหนึ่งชี้ขุมทรัพย์
             2. ให้คนอื่นๆ เห็นโทษนั้น จากนั้นก็จะไม่คล้อยตามคนพาลนั้น.

             ๑. เรื่องพระราธเถระ [๖๐]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=16&p=1

             สารีปุตตเถรคาถา คาถาสุภาษิตของพระสารีบุตรเถระ
             บุคคลควรเห็นท่านผู้มีปัญญาชี้โทษมีปกติกล่าวข่มขี่ เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้
             ควรคบบัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่าเมื่อคบกับบัณฑิตเช่นนั้น ย่อมมีแต่ความดีไม่มีชั่วเลย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=26&A=8049&w=ท่านผู้มีปัญญาชี้โทษมีปกติกล่าวข่มขี่+เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้

             ๘. กรุณาอธิบายจากที่นี่ ... ถึงที่นี่ค่ะ
             บทว่า "ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุผู้จะสอบสวนเหล่านั้น"
             ...
             ก็เราเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยอาชีวัฏฐมกศีลนั้น ด้วยศีลที่บริสุทธิ์แม้นั้นหามิได้
เป็นผู้มีตัณหาหามิได้ ชื่อว่าเป็นผู้หมดตัณหา เพราะความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์นั่นเอง.
             ขอบพระคุณค่ะ
7:00 PM 6/12/2013
อธิบายว่า
             สันนิษฐานว่า บทว่า "ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุผู้จะสอบสวนเหล่านั้น"
             เป็นอรรถาธิบายในข้อ 538
             การสอบถาม
             [๕๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในพวกภิกษุผู้พิจารณานั้น ภิกษุผู้พิจารณารูปหนึ่งควรสอบ
ถามตถาคตต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มีอยู่หรือไม่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเมื่อจะพยากรณ์ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและ
โสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี.
- - - - - - - - - - -
             ในบุคคลทั้ง ๓ ผู้สอบสวนเหล่านั้น ...
             น่าจะหมายถึง
             1. พวกภิกษุผู้พิจารณาธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มีอยู่หรือไม่.
             2. พวกภิกษุผู้พิจารณาธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกัน ของพระตถาคต มีอยู่หรือไม่.
             3. พวกภิกษุผู้พิจารณาธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่หรือไม่.
             จากนั้น ก็พึงสอบสวนให้ยิ่งๆ ขึ้นไป หรือด้วยการฟังธรรมอันประณีต อันเปรียบให้เห็น
ธรรมขาวธรรมดำ เมื่อได้สอบสวนและได้เข้าใจเนื้อความแล้ว ก็ถึงความเลื่อมใสในศาสดาว่า
             พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
             พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
             พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
- - - - - - - - - - -
             บทว่า "เราเป็นผู้มีอาชีวัฏฐมกศีลนั้นเป็นหนทาง มีอาชีวัฏฐมกศีลนั้นเป็นโคจร" ความว่า
เราเป็นผู้มีอาชีวัฏฐมกศีลบริสุทธิ์ว่า นี่เป็นทางของเรา นี่เป็นโคจรของเรา.
             บาลีว่า เอตาปาโถ ดังนี้บ้าง.
             อรรถกถาอธิบายในส่วนของคำว่า
             เราเป็นผู้มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นเป็นทาง มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นเป็นโคจร
             คำว่า อาชีวัฏฐมกศีล
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาชีวัฏฐมกศีล

             คำว่า ก็เราเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยอาชีวัฏฐมกศีลนั้น ด้วยศีลที่บริสุทธิ์แม้นั้นหามิได้
เป็นผู้มีตัณหาหามิได้ ชื่อว่าเป็นผู้หมดตัณหา เพราะความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์นั่นเอง.

             ไม่ค่อยเข้าใจนัก แต่น่าจะหมายความว่า
             ก็เราเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยอาชีวัฏฐมกศีลนั้น ด้วยเหตุเพียงรักษาศีลนั้นให้บริสุทธิ์
เท่านั้นหามิได้ แต่เป็นเพราะเป็นผู้หมดตัณหา.

ความคิดเห็นที่ 4-35
GravityOfLove, 14 มิถุนายน เวลา 15:00 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ .. .. .

ความคิดเห็นที่ 4-36
GravityOfLove, 14 มิถุนายน เวลา 18:44 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค
              ๗. วีมังสกสูตร ว่าด้วยการตรวจดูธรรม
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9904&Z=9991&bgc=papayawhip&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             ภิกษุผู้พิจารณาที่ไม่รู้วาระจิตของผู้อื่น (ไม่มีเจโตปริยญาณ)
จะตรวจดูคุณของพระผู้มีพระภาคว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่
             ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
             ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า
(เหล่าสัตว์ย่อมไม่สามารถรู้ทั่วถึงธรรมได้หากพระพุทธเจ้าไม่บังเกิดขึ้นในโลก)
             มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ
(ทรงเป็นผู้แนะ ผู้นำ ผู้คอยชักจูงเกี่ยวกับเรื่องของธรรม ทรงตั้งชื่อเป็นหมวดๆ
ตามที่เป็นจริง)
             มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พำนัก
(ทรงเอาธรรมมาจัดรวมเป็นกลุ่ม เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น
จึงชื่อว่ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย)
             ขอพระองค์โปรดแสดงเนื้อความนั้น พวกข้าพระองค์ได้สดับแล้วจะทรงจำไว้
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ถ้าอย่างนั้น ขอให้พวกเธอจงฟัง และทรงจำไว้ให้ดี ดังนี้
             เมื่อจะตรวจดูพระตถาคตเพื่อทราบว่า ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่
             พึงตรวจดังนี้
             ๑. พึงตรวจดูในธรรม ๒ ประการคือ
             ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยตาและหูอันเศร้าหมองของพระตถาคต มีอยู่หรือไม่
             เมื่อตรวจดูก็ทราบว่า ไม่มี
             ๒. ตรวจดูต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยตาและหูอันเจือกัน (ที่ผสมกัน)
(เช่นดำบ้าง ขาวบ้าง คือเป็นอกุศลบ้าง กุศลบ้าง) ของพระตถาคต มีอยู่หรือไม่
             เมื่อตรวจดูก็ทราบว่า ไม่มี
             ๓. ตรวจดูต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยตาและหูอันผ่องแผ้วของพระตถาคต
มีอยู่หรือไม่
             เมื่อตรวจดูก็ทราบว่า มี
             ๔. ตรวจดูต่อไปว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ ถึงพร้อมกุศลธรรมนี้
(ได้แก่ อาชีวัฏฐมกศีล) สิ้นกาลนาน (นานแล้ว) หรือว่า
สิ้นกาลนิดหน่อย (เพิ่งไม่นานมานี้)
             เมื่อตรวจดูก็ทราบว่า ถึงพร้อมกุศลธรรมนี้สิ้นกาลนาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาชีวัฏฐมกศีล

             ๕. ตรวจดูต่อไปว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ เมื่อมียศแล้ว มีโทษบางชนิดหรือไม่
(เป็นผู้คงที่ในโลกธรรม ๘ หรือไม่)
             เพราะภิกษุบางรูป ตอนที่ยังไม่มียศ ก็ไม่มีโทษปรากฎ
แต่พอมียศ ก็มีโทษปรากฎ
             เมื่อตรวจดูก็ทราบว่า (พระตถาคต) เมื่อมียศแล้ว ก็ไม่มีโทษปรากฎ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โลกธรรม_8

             ๖. ตรวจดูต่อไปว่า ผู้มีอายุนี้ ไม่ประกอบด้วยภัยเพราะไม่มีราคะ
ไม่เสพกามทั้งหลายเพราะสิ้นราคะ
             (ภัยมี ๔ อย่าง คือ ภัยเกิดจากกิเลส ภัยเกิดจากวัฏฏะ
ภัยเกิดจากทุคติ ภัยเกิดจากการติเตียน)
             เมื่อตรวจดูก็ทราบว่า ไม่ประกอบด้วยภัยเพราะไม่มีราคะ
ไม่เสพกามทั้งหลายเพราะสิ้นราคะ
             หากมีผู้ถามว่า ทราบได้จากอาการที่ส่อแสดงอย่างไร (มีอะไรเป็นเครื่องบ่งชี้)
             หากจะตอบโดยชอบ ควรตอบอย่างนี้ว่า
             ท่านผู้มีอายุนี้ บางทีก็อยู่ในหมู่ บางทีก็อยู่ผู้เดียว
แต่ก็ไม่ดูหมิ่นพวกที่ดำเนินดี (ปฏิบัติดี),
             พวกที่สั่งสอนคณะ (อยู่กับหมู่คณะ บริหารหมู่คณะ),
    พวกที่ดำเนินชั่ว,
    พวกที่ติดอยู่ในอามิสทั้งหลายในโลกนี้,
    พวกที่ไม่ติดเพราะอามิสในโลกนี้
(ทรงมีพระทัยเสมอต่อเหล่าสัตว์ทั้งปวง เช่น ต่อพระเทวทัตต์ นายขมังธนู
โจรองคุลิมาล ในช้างธนบาล และในพระราหุล)
             เราได้สดับรับข้อนี้มาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
             พระองค์ทรงเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยภัยเพราะไม่มีราคะ
ไม่เสพกามทั้งหลายเพราะสิ้นราคะ

             การสอบถาม
             ภิกษุผู้พิจารณารูปหนึ่งควรสอบถามพระตถาคตต่อไปว่า
             ๑. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยตาและหูอันเศร้าหมองของพระตถาคต มีอยู่หรือไม่
             เมื่อจะทรงตอบ พึงทรงตอบอย่างนี้ว่า ไม่มี
             ๒. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยตาและหูอันเจือกัน ของพระตถาคต มีอยู่หรือไม่
             เมื่อจะทรงตอบ พึงทรงตอบอย่างนี้ว่า ไม่มี
             ๓. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยตาและหูที่ผ่องแผ้วของพระตถาคต มีอยู่หรือไม่
             เมื่อจะทรงตอบ พึงทรงตอบอย่างนี้ว่า มี
             ทรงเป็นผู้มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นป็นทาง มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นเป็นโคจร
เพราะเหตุนั้นพระองค์จึงไม่ใช่ผู้มีตัณหา
             สาวกควรจะเข้าหาศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ เพื่อฟังธรรม
             ศาสดาย่อมแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วย
ส่วนดำส่วนขาวแก่สาวกนั้น
             ทรงแสดงธรรมด้วยประการใดๆ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมบางอย่าง
ในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ
             ย่อมถึงความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย
             ย่อมเลื่อมใสในศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
             พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
             พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
             หากชนพวกอื่นถามว่า ทราบได้จากอาการที่ส่อแสดงอย่างไร
             หากจะตอบโดยชอบ ควรตอบอย่างนี้ว่า
             เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อจะฟังธรรม
             พระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ
อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เรานั้น
             ทรงแสดงธรรมแก่เราด้วยประการใดๆ เรารู้ยิ่งธรรมบางอย่าง
ในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ
             ถึงแล้วซึ่งความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย
             เลื่อมใสแล้วในพระรัตนตรัย
             ศรัทธาของบุคคลใดบุคคลหนึ่งตั้งมั่นแล้วในพระตถาคต มีมูล มีที่อาศัย
ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้
             ศรัทธานี้ พระองค์ตรัสว่า มีเหตุ มีทัสสนะ (โสดาปัตติมรรค) เป็นมูลมั่นคง
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่พึงให้กวัดแกว่งได้
             การตรวจดูธรรมในตถาคต ย่อมมีอย่างนี้
             ตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณาตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็นอย่างนี้
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #4-37]

ความคิดเห็นที่ 4-37
ฐานาฐานะ, 15 มิถุนายน เวลา 12:46 น.

GravityOfLove, 5 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๕. จูฬยมกวรรค
             ๗. วีมังสกสูตร ว่าด้วยการตรวจดูธรรม
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9904&Z=9991&bgc=papayawhip&pagebreak=0
6:43 PM 6/14/2013

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน
             มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
             ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
             เนื่องธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า
ควรแก้ไขเป็น
             ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
             เนื่องด้วยธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า
หรือแก้ไขเป็น
             ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ดังนั้น ขอพระองค์โปรดอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้น
แล้วพวกข้าพระองค์จะทรงจำไว้ให้ดี
ควรแก้ไขเป็น
             ดังนั้น ขอพระองค์โปรดแสดงเนื้อความนั้น พวกข้าพระองค์ได้สดับแล้วจะทรงจำไว้
หรือแก้ไขเป็น
             ขอพระองค์โปรดแสดงเนื้อความนั้น พวกข้าพระองค์ได้สดับแล้วจะทรงจำไว้.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             หากจะตอบโดยชอบ ควรตอบอย่างนี้ว่า
             ท่านผู้มีอายุนี้ บางทีก็อยู่ในหมู่ บางทีก็อยู่ผู้เดียว
แต่ก็ไม่ดูหมิ่นพวกที่ดำเนินดี (ปฏิบัติดี)
             พวกที่สั่งสอนคณะ (อยู่กับหมู่คณะ บริหารหมู่คณะ)
             พวกที่ดำเนินชั่ว
             พวกที่ติดอยู่ในอามิสทั้งหลายในโลกนี้
             พวกที่ไม่ติดเพราะอามิสในโลกนี้
ควรแก้ไขด้วยการใส่จุลภาคคั่นไว้ เพื่อให้เห็นว่า เนื้อความต่อเนื่องกัน ดังนี้ :-
             หากจะตอบโดยชอบ ควรตอบอย่างนี้ว่า
             ท่านผู้มีอายุนี้ บางทีก็อยู่ในหมู่ บางทีก็อยู่ผู้เดียว
แต่ก็ไม่ดูหมิ่นพวกที่ดำเนินดี (ปฏิบัติดี),
             พวกที่สั่งสอนคณะ (อยู่กับหมู่คณะ บริหารหมู่คณะ),
    พวกที่ดำเนินชั่ว,
    พวกที่ติดอยู่ในอามิสทั้งหลายในโลกนี้,
    พวกที่ไม่ติดเพราะอามิสในโลกนี้

ความคิดเห็นที่ 4-38
GravityOfLove, 15 มิถุนายน เวลา 13:15 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 4-39
ฐานาฐานะ, 15 มิถุนายน เวลา 13:31 น.

             คำถามในวีมังสกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9904&Z=9991

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 4-40
GravityOfLove, 15 มิถุนายน เวลา 14:55 น.

            ตอบคำถามในวีมังสกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9904&Z=9991

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ภิกษุผู้จะสอบสวน เมื่อไม่รู้กระบวนจิตผู้อื่น พึงสอบสวนพระตถาคต
ในสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและฟังด้วยหูว่า สิ่งเศร้าหมองของพระตถาคตมีหรือไม่ เป็นต้น
             ๒. พระตถาคตไม่ประกอบด้วยภัยเพราะไม่มีราคะ
ไม่เสพกามทั้งหลายเพราะสิ้นราคะ ทราบได้จาก เช่น
             บางทีก็อยู่เป็นหมู่กับคนอื่น บางทีก็อยู่คนเดียว แต่จะไม่ดูหมิ่นทั้งพวกที่
ปฏิบัติดี, พวกที่ปฎิบัติไม่ดี, พวกที่ติดในอามิส, พวกที่ไม่ติดในอามิส เป็นต้น
             ๓. เมื่อตรวจสอบด้วยตาและหูแล้ว พระตถาคตไม่มีธรรมที่เศร้าหมอง
ทรงมีธรรมที่ผ่องแผ้วจึงไม่ใช่ผู้มีตัณหา
             ทรงแสดงธรรมอันประ๊ณีตแก่สาวก แล้วสาวกรู้ตามในธรรมทั้งหลาย
ถึงไตรสรณะอย่างมั่นคง
             ๔. ผู้ตรวจสอบหรือผู้สอบสวนหรือผู้พิจารณา มี ๓ จำพวก คือ
             (๑) ผู้สอบสวนอรรถ (อัตถวีมังสกะ) หมายถึงผู้พิจารณาประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น
             (๒) ผู้สอบสวนสังขาร (สังขารวีมังสกะ) หมายถึงผู้พิจารณาสังขารธรรม โดยลักษณะของธรรมนั่น
โดยสามัญญลักษณะ และโดยวิภาคธรรม
             (๓) ผุ้สอบสวนพระศาสดา (สัตถุวีมังสกะ) หมายถึงผู้พิจารณาตรวจสอบพระศาสดา เช่น พิจารณาว่า
ขึ้นชื่อว่าศาสดาต้องมีคุณเช่นนี้ ๆ << พระสูตรนี้
             ๕. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นกัลยาณมิตรแก่สัตว์ทั้งปวงอย่างใหญ่หลวง
เพราะหวังได้ว่า จะเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างบริบูรณ์
             (ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น)
             ๖. ท่านพระอานนท์เข้าใจผิดว่า ความเป็นกัลยาณมิตรมีส่วนเพียงครึ่งหนึ่ง
ของความเจริญในพระธรรมวินัยนี้
             ๗. เรื่องกัลยาณมิตร
             - พระมหาจุนทะ
             พระผู้มีพระภาคตรัสข้อปฏิบัติเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสแก่พระมหาจุนทะว่า
             ภิกษุทั้งหลายควรทำความขัดเกลาว่า คนเหล่าอื่นจักมีคนชั่วเป็นมิตร พวกเราจักมีมิตรที่งาม.
             - พระเมฆิยะเถระ
             ตรัสธรรมสำหรับบ่มวิมุตติแก่พระเมฆิยะเถระ
โดยตรัสธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรให้วิเศษว่า
             ธรรมทั้ง ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความสุกหง่อมแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่สุกหง่อม
๕ อย่างเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกัลยาณมิตร ...
             - พระราหุลเถระ
             ประทานโอวาทเป็นเครื่องพิจารณาเนื่องๆ แก่พระราหุลเถระ
             จึงตรัสธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรก่อนธรรมทั้งหมดว่า
             เธอจงคบกัลยาณมิตร ที่นอนที่นั่งอันสงัด ที่อันเงียบปราศจากเสียงกึกก้อง
เธอจงเป็นผู้รู้ประมาณในการกิน.
             เธออย่าได้ทำความอยากในปัจจัยเหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต ปัจจัยคือที่นอนและที่นั่ง
             เธอจงอย่ามาสู่โลกอีก.
             ๘. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีมารยาททางกายและทางวาจาหมดจด
             - ท่านพระสารีบุตร
             ทรงเคยปวารณาให้ภิกษุว่ากล่าวมารยาททางกายและทางวาจาของพระองค์ได้
             ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะว่ากล่าวพระองค์ได้
             - อุตตรมาณพ
             อุตตรมาณพติดตามพระองค์อยู่ ๗ เดือนเพื่อจะหาข้อติเตียนทางกายและทางวาจาของพระองค์
             แต่ก็ไม่พบ
             - เทวปุตตมาร
             เทวปุตตมารติดตามพระองค์ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรม
             แสวงหาอยู่ตลอด ๖ ปีก็ไม่ได้เห็นโทษอะไรเลย แม้เพียงความปริวิตกทางใจ.
             มารคิดว่า "ถ้าว่าเราจักเห็นอกุศลแม้เพียงเหตุที่พระโพธิสัตว์นั้นตรึกแล้ว
ในเพราะโทษนั้นนั่นแหละ เราจักตีพระโพธิสัตว์นั้นที่ศีรษะแล้วหลีกไป."
             มารนั้นไม่ได้เห็นโทษเลยตลอด ๖ ปี
             ติดตามพระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าอีก ๑ ปี ก็ไม่ได้เห็นโทษอะไรๆ จึงไหว้แล้วหลีกไป
             ๙. พระตถาคตทรงมี ๔ อย่างต่อไปนี้ที่ไม่ต้องระมัดระวัง ไม่มีอะไรต้องปกปิด
             (๑) ทรงมีมารยาทกางกายบริสุทธิ์
             (๒) ทรงมีมารยาททางวาจาบริสุทธิ์
             (๓) ทรงมีมารยาททางใจบริสุทธิ์
             (๔) ทรงมีอาชีวบริสุทธิ์
             ๑๐. "ธรรมที่เป็นกุศลนี้" ได้แก่ ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘
             ได้แก่ กุศลกรรมบถ 7 ข้อต้น (กายกรรม 3 วจีกรรม 4) +  สัมมาอาชีวะ
             - เรื่องในอดีตชาติของพระองค์ คือมีพระราชา ๒ พระองค์ คือ
             พระราชาในแคว้นคันธาระ (พระโพธิสัตว์) และพระราชาในแคว้นวิเทหะ (ท่านพระอานนท์)
อันเป็นตัวอย่างของการมีอาชีวบริสุทธิ์ของพระโพธิสัตว์
             ๑๑. โลกธรรม 8
             โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้
             ต่างกันแต่ว่า คนปุถุชนไม่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง (ลุ่มหลง ยินดียินร้าย
ปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไปไม่พ้นจากทุกข์ มีโสกะปริเทวะ เป็นต้น)
             ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริง
             (ว่าสิ่งเหล่านี้อย่างใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ ไม่ขุ่นมัวหม่นหมอง คลุ้มคลั่งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์
มีสติดำรงอยู่ เป็นผู้ปราศจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น)
             ๑๒. ภัยมี ๔ อย่าง คือ
             (๑) ภัยเกิดจากกิเลส
             (๒) ภัยเกิดจากวัฏฏะ
             (๓) ภัยเกิดจากทุคติ
             (๔) ภัยเกิดจากการติเตียน
              พระตถาคต (และพระอรหันต์ทั้งหลาย) ปลอดจากภัยทั้ง ๔
              พระเสขบุคคลย่อมกลัวภัย ๓ ประการ (ไม่มีภัยจากทุคติ) พระเสขบุคคลจึงเป็นผู้ยังไม่ปลอดภัย
              ปุถุชนย่อมกลัวภัยทั้ง ๔
             ๑๓. พระขีณาสพ (พระอรหันต์) ทั้งหลายย่อมรักการเข้าไปติเตียนผู้อื่น เช่น
             - เรื่องพระเถระเข้าไปหมู่บ้านมุลุปปลวาปี เพื่อบิณฑบาตร
             เป็นตัวอย่างที่พระอรหันต์ติเตียนเพื่อให้คลายจิตประทุษร้ายในพระอรหันต์
ถ้าคลายจิตประทุษร้ายได้ก็เป็นอันออกจากโทษคือการประทุษร้ายในพระอรหันต์
             ๑๔. ความเชื่อของพระโสดาบันนั้น ใครๆ ก็ลักไปไม่ได้
             - สูรอุบาสกนั่งฟังธรรมพระพุทธองค์ แล้วได้เป็นพระโสดาบัน
             มารเนรมิตเป็นรูปเปรียบพระพุทธเจ้าเข้าไปหาเขายังเรือน แล้วกล่าวว่า
             ได้พูดผิดไปว่ารูปไม่เที่ยง เป็นต้น
             อุบาสกจึงรู้ว่าเป็นมาร จึงพูดให้มารไปเสีย

ความคิดเห็นที่ 4-41
ฐานาฐานะ, 15 มิถุนายน เวลา 19:23 น.

GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในวีมังสกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9904&Z=9991
...
2:54 PM 6/15/2013

              ตอบคำถามได้ดี มีข้อติงและเพิ่มเติมดังนี้ :-
              ๖. ท่านพระอานนท์เข้าใจผิดว่า ความเป็นกัลยาณมิตรมีส่วนเพียงครึ่งหนึ่ง
ของความเจริญในพระธรรมวินัยนี้
              ควรแก้ไขและเพิ่มลิงค์ดังนี้ :-
              ๖. ท่านพระอานนท์เข้าใจผิดว่า ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรมีส่วนเพียงครึ่งหนึ่ง
ของความเจริญในพระธรรมวินัยนี้

              อุปัฑฒสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=26&Z=51
              สารีปุตตสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=52&Z=73

              ความเป็นกัลยาณมิตร ต่างกันความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              - พระราหุลเถระ
              ประทานโอวาทเป็นเครื่องพิจารณาเนื่องๆ แก่พระราหุลเถระ
              ควรแก้ไขดังนี้ :-
              ประทานโอวาทเป็นเครื่องพิจารณาเนืองๆ แก่พระราหุลเถระ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              - เรื่องพระเถระเข้าไปหมู่บ้านมุลุปปลวาปี เพื่อบิณฑบาตร
              ควรแก้ไขดังนี้ :-
              - เรื่องพระเถระเข้าไปหมู่บ้านมุลุปปลวาปี เพื่อบิณฑบาต
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ขอให้คุณ GravityOfLove ค้นหาลิงค์มาเพิ่มเติมในข้อย่อย ๗ (3 ลิงค์)
ทำนองเดียวกับข้อย่อย ๖.

ย้ายไปที่



Create Date : 05 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 7:33:02 น.
Counter : 605 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog