18.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 18.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45] ความคิดเห็นที่ 4-42 ความคิดเห็นที่ 4-43 ฐานาฐานะ, 15 มิถุนายน เวลา 20:38 น. ค้นลิงค์มาตอบได้ถูกต้องทั้ง 3 ลิงค์เลย แปลกใจ ลิงค์แรกทำไมเริ่มที่บรรทัด 1256 (&A=1256) //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1256&Z=1517&pagebreak=0#104top ความคิดเห็นที่ 4-44 GravityOfLove, 15 มิถุนายน เวลา 20:47 น. ตอนพรีวิวก่อนคลิกส่ง คลิกลิงค์แล้ว ก็ใช้ได้นะคะ แต่ทำไมตอนนี้เป็นแบบนี้ แปลกใจเหมือนกันค่ะ ความคิดเห็นที่ 4-45 ฐานาฐานะ, 15 มิถุนายน เวลา 21:06 น. GravityOfLove, 8 นาทีที่แล้ว ตอนพรีวิวก่อนคลิกส่ง คลิกลิงค์แล้ว ก็ใช้ได้นะคะ แต่ทำไมตอนนี้เป็นแบบนี้ แปลกใจเหมือนกันค่ะ 8:47 PM 6/15/2013 บรรทัดแรกควรเริ่มที่เริ่มต้นพระสูตร หรือไม่ก็เริ่มที่ข้อ 104 เริ่มต้นพระสูตร :- 1. เอา mouse ไปที่ลูกศร ICON ชี้ไปทางซ้าย จะเห็น URL ที่เต็มพระสูตร คือบรรทัดแรกเริ่มต้นพระสูตร เริ่มที่บรรทัด 1237 หรือ 2. คลิกที่ลูกศร ICON ที่ชี้ไปทางซ้าย จะได้ URL ที่เต็มพระสูตร จากนั้นก็จำว่า บรรทัดแรกของพระสูตรคือ 1237 3. จากนั้น นำมา 1237 ใส่แทน 1256 //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1256&Z=1517&pagebreak=0#104top จะเป็น //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1237&Z=1517&pagebreak=0#104top วิธีเริ่มที่ข้อ 104 //84000.org/tipitaka/read/?12/104 หรือดูบรรทัดด้านล่างจะแสดง URL ของ 12/104 ว่า เริ่มและสิ้นสุดบรรทัดใด เริ่มที่ 1296 สิ้นสุดที่ 1386 //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1296&Z=1386&pagebreak=0 จากนั้น นำมา 1296 ใส่แทน 1256 //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1256&Z=1517&pagebreak=0#104top จะเป็น //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1296&Z=1517&pagebreak=0#104top ความคิดเห็นที่ 4-46 GravityOfLove, 15 มิถุนายน เวลา 22:10 น. วิธีเริ่มที่ข้อ 104 //84000.org/tipitaka/read/?12/104 ข้อนี้ง่ายที่สุดค่ะ ขอเลือกวีธีนี้ (วิธีอื่นๆ อ่านแล้วยังมึนๆ อยู่ค่ะ) ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 4-47 ฐานาฐานะ, 15 มิถุนายน เวลา 22:51 น. จากคำถามในวีมังสกสูตร เมื่อวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2556 เวลา 19:01 น. GravityOfLove, วันพุธ เวลา 19:01 น. ข้อย่อยที่ 2 ว่า ๒. ทำไมตรัสถึงการเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรคะ (อธิบายพระสูตรที่ใดคะ) ผมได้ตอบแล้ว [ฐานาฐานะ, เมื่อวานนี้ เวลา 00:33 น.] เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2556 เวลา 00:33 น. ขอให้คุณ GravityOfLove อธิบายการค้นหาคำตอบของผม และ capture ภาพตามที่ได้ค้นหามาแสดงด้วย. ความคิดเห็นที่ 4-48 GravityOfLove, 15 มิถุนายน เวลา 23:07 น. เปิดอรรถกถาบาลีไม่เป็นค่ะ ความคิดเห็นที่ 4-49 ฐานาฐานะ, 15 มิถุนายน เวลา 23:30 น. ผมเองก็ไม่ค่อยคล่อง วันหลังจะแนะนำให้ครับ. ความคิดเห็นที่ 4-50 GravityOfLove, 15 มิถุนายน เวลา 23:33 น. (ค่อยยังชั่วหน่อยค่ะ นึกว่าจะให้ไปยืนคาบไม้บรรทัดหลังห้องเสียแล้ว) ขอบพระคุณค่ะ คราวนี้จะจดและจำให้ดี ความคิดเห็นที่ 4-51 ฐานาฐานะ, 16 มิถุนายน เวลา 15:37 น. ผมเองก็ไม่ค่อยคล่อง วันหลังจะแนะนำให้ครับ. 23:31 15/6/2556 การเปิดอรรถกถาบาลี :- 1. เปิดพระไตรปิฎกฉบับเรียนพระไตรปิฎก 2. คลิกที่อรรถกถาบาลี 3. ดูชื่อหนังสือ ในที่นี้จะเห็นว่า อรรถกถาบาลีอยู่ในมัชฌิมนิกาย ซึ่งเป็นเล่มที่ 7, 8 และ 9 จากนั้นทดลองคลิกที่เล่ม 7 แล้วเลื่อนไปหน้าสุดท้าย และก่อนสุดท้าย เพื่อดูคร่าวๆ ว่า จะอยู่ในเล่มนี้หรือไม่? *เล่มที่ ๗ สติปฏฺฐานสุตฺตวณฺณนา หน้า ๕๐๙ *เล่มที่ ๗ มูลปริยายวคฺควณฺณนา หน้า ๕๑๐ โดยเทียบกับสารบัญพระไตรปิฎกภาษาไทย สารบัญพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ //84000.org/tipitaka/read/?index12 ดูคร่าวๆ อย่างนี้ เพื่อกำหนดเล่มที่ค้นในแคบลง. ด้วยวิธีนี้จะได้ว่า อรรถกถาบาลีอยู่ในเล่มที่ 8 *เล่มที่ ๘ มารตชฺชนิยสุตฺตวณฺณนา หน้า ๗๐๓ *เล่มที่ ๘ จุลฺลยมกวคฺควณฺณนา หน้า ๗๐๔ จากนั้น ก็คลิกค้นดูคำบาลี ในที่นี้ควรใช้ชื่อพระสูตรเป็นคำค้น คือ จะเลือกชื่อพระสูตรนั้น หรือพระสูตรก่อน/หลังก็ได้ โดยเกณฑ์ก็คือ ให้สะกดเป็นภาษาบาลีให้ถูกต้อง กรณีพระสูตรนี้เลย ใช้คำค้นว่า วีมังสกสูตร ซึ่งสะกดเป็นภาษาบาลี อาจจะยากสักหน่อยคือ วีมงฺส หรือ วีมํส หรือ มงฺส หรือ มํส จากการทดลองคำค้นว่า วีมํส หรือ มํส ใช้ได้ผล. กรณีพระสูตรก่อนหน้า คือมหาธรรมสมาทานสูตร คำค้นควรเป็น สมาทาน กรณีพระสูตรหลัง คือ โกสัมพิยสูตร คำค้นควรเป็น โกสมฺพ เมื่อได้อรรถกถาบาลีในพระสูตรที่ตามต้องการแล้ว ควรจดเล่ม และบรรทัดเริ่มต้นไว้ก่อน จากนั้นก็พยายามอ่าน เพื่อสร้างความคุ้นเคย. ความคิดเห็นที่ 4-52 ฐานาฐานะ, 16 มิถุนายน เวลา 20:30 น. คำถามเมื่อ 22:52 15/6/2556 เรื่องขอให้คุณ GravityOfLove อธิบายการค้นหาคำตอบของผม และ capture ภาพตามที่ได้ค้นหามาแสดงด้วย เมื่อโปรแกรมพระไตรปิฎกฉบับเรียนพระไตรปิฎก พร้อมใช้งานเมื่อใด ก็ค่อยทยอยตอบมาภายหลัง. โปรแกรมพระไตรปิฎกฉบับเรียนพระไตรปิฎก //learntripitaka.com/Download.html เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า วีมังสกสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9904&Z=9991 พระสูตรหลักถัดไป คือโกสัมพิยสูตร [พระสูตรที่ 48]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โกสัมพิยสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9992&Z=10133 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=540 พรหมนิมันตนิกสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=10134&Z=10286 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=551 มารตัชชนียสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=10287&Z=10458 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=557 ความคิดเห็นที่ 4-53 GravityOfLove, 16 มิถุนายน เวลา 20:38 น. คำถามโกสัมพิยสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9992&Z=10133 กรุณาอธิบายค่ะ ๑. ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อเป็นดังนั้น พวกเธอรู้อะไร เห็นอะไร จึงเกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ๒. ทิฏฐิที่เป็นนิยยานิกธรรม ทั้ง ๗ ข้อ เป็นญาณของพระอริยะ ไม่ใช่ของปุถุชน ใช่ไหมคะ สงสัยค่ะ ทำไมญาณที่ ๑ ใช้คำว่า ภิกษุ แต่ญาณที่ ๒ - ๗ ใช้คำว่า อริยสาวก ๓. กรุณาอธิบายเรื่องข้างล่างนี้ (เกี่ยวกับพระวินัย) ค่ะ วันหนึ่งเข้าเวจกุฏีเหลือน้ำสำหรับล้างไว้ในภาชนะแล้วออกไป ภิกษุผู้ทรงวินัยเข้าไปภายหลัง เห็นน้ำนั้น ออกมาแล้วถามภิกษุนั้นว่า คุณ น้ำนี้คุณเหลือไว้หรือ. ส. ใช่ คุณ. ว. ท่านไม่รู้ว่าเป็นอาบัติในเพราะเหตุนั้นหรือ. ๔. กรุณาอธิบายค่ะ เมตตาเป็นเครื่องบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาของภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากายกรรม. ๕. เป็นวินัยของสงฆ์หรือคะที่ต้องบำเพ็ญสาราณียธรรมโดยไม่แตก ๑๒ ปี ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 4-54 ฐานาฐานะ, 17 มิถุนายน เวลา 01:37 น. GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว คำถามโกสัมพิยสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9992&Z=10133 กรุณาอธิบายค่ะ ๑. ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อเป็นดังนั้น พวกเธอรู้อะไร เห็นอะไร จึงเกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ เนื้อความในส่วนนี้คือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เช่นนี้ก็เป็นอันว่า สมัยใด พวกเธอ เกิด ขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ สมัยนั้นพวกเธอมิได้เข้าไปตั้ง เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรมในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อเป็นดังนั้น พวกเธอรู้อะไร เห็นอะไร จึงเกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ยังกันและกันให้เข้าใจ ไม่ ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ยังกันและกันให้ปรองดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน ดูกรโมฆ- *บุรุษทั้งหลาย ข้อนั้นนั่นแหละ จักมีเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เธอทั้งหลายตลอด กาลนาน. อธิบายว่า สันนิษฐานว่า ในเมื่อสิ่งที่ควรกระทำในเพื่อนสพรหมจารี ก็ไม่กระทำ (เมตตาในกรรมทั้ง 3) เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอรู้อะไร เห็นอะไรที่ประเสริฐกว่าสิ่งที่ควรกระทำ ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย จึงได้ทะเลาะกัน. นัยก็คือ พวกเธอไม่รู้อะไรเลย ไม่เห็นอะไรเลย จึงได้ทะเลาะกันอย่างนี้. - - - - - - - - - - - - - - - ๒. ทิฏฐิที่เป็นนิยยานิกธรรม ทั้ง ๗ ข้อ เป็นญาณของพระอริยะ ไม่ใช่ของปุถุชน ใช่ไหมคะ สงสัยค่ะ ทำไมญาณที่ ๑ ใช้คำว่า ภิกษุ แต่ญาณที่ ๒ - ๗ ใช้คำว่า อริยสาวก อธิบายว่า สันนิษฐานว่า ข้อแรกแสดงโดยสภาพของพระภิกษุก่อนว่า นี้เป็นญาณที่ ๑ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว. จากนั้นในข้อถัดไปจึงแสดงด้วยคำว่า อริยสาวก เพราะกำหนดไว้แล้วในข้อแรก. สันนิษฐานล้วน. ๓. กรุณาอธิบายเรื่องข้างล่างนี้ (เกี่ยวกับพระวินัย) ค่ะ วันหนึ่งเข้าเวจกุฏีเหลือน้ำสำหรับล้างไว้ในภาชนะแล้วออกไป ภิกษุผู้ทรงวินัยเข้าไปภายหลัง เห็นน้ำนั้น ออกมาแล้วถามภิกษุนั้นว่า คุณ น้ำนี้คุณเหลือไว้หรือ. ส. ใช่ คุณ. ว. ท่านไม่รู้ว่าเป็นอาบัติในเพราะเหตุนั้นหรือ. อธิบายว่า สันนิษฐานว่า น่าจะคล้ายเหลือน้ำไว้ในขัน. วัจจกุฎีวัตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=7&A=4704&w=ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในกระบอก#437top ๔. กรุณาอธิบายค่ะ เมตตาเป็นเครื่องบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาของภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากายกรรม. อธิบายว่า น่าจะหมายความว่า อภิสมาจาริกธรรม อันประกอบด้วยเมตตา เป็นเมตตากายกรรม. กล่าวคือ อภิสมาจาริกวัตร หรือวัตรต่างๆ เช่นอาวาสิกวัตร เป็นกายกรรม ดังนั้น อภิสมาจาริกวัตรต่างๆ เหล่านี้ หากประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ จึงเป็นเมตตากายกรรม. อาวาสิกวัตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=07&A=4363&Z=4392 คำว่า อภิสมาจาร, อาทิพรหมจริยกาสิกขา //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อภิสมาจาร //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อาทิพรหมจริยกาสิกขา ๕. เป็นวินัยของสงฆ์หรือคะที่ต้องบำเพ็ญสาราณียธรรมโดยไม่แตก ๑๒ ปี ขอบพระคุณค่ะ 8:38 PM 6/16/2013 ตอบว่า ไม่น่าจะเป็นพระวินัยของสงฆ์ แต่อรรถกถากล่าว 12 ปี ก็เพื่อให้เห็นความสำคัญว่า ควรรักษาให้มั่นคงตลอดกาลนานเท่านั้นเอง. ความคิดเห็นที่ 4-55 GravityOfLove, 17 มิถุนายน เวลา 11:48 น. เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ย้ายไปที่ |
แก้วมณีโชติรส
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?] Group Blog All Blog
Link |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
๗. เรื่องกัลยาณมิตร
- พระมหาจุนทะ
พระผู้มีพระภาคตรัสข้อปฏิบัติเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสแก่พระมหาจุนทะว่า
ภิกษุทั้งหลายควรทำความขัดเกลาว่า คนเหล่าอื่นจักมีคนชั่วเป็นมิตร พวกเราจักมีมิตรที่งาม.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1256&Z=1517&pagebreak=0#104top
- พระเมฆิยะเถระ
ตรัสธรรมสำหรับบ่มวิมุตติแก่พระเมฆิยะเถระ
โดยตรัสธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรให้วิเศษว่า
ธรรมทั้ง ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความสุกหง่อมแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่สุกหง่อม
๕ อย่างเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกัลยาณมิตร ...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=7531&Z=7618
- พระราหุลเถระ
ประทานโอวาทเป็นเครื่องพิจารณาเนื่องๆ แก่พระราหุลเถระ
จึงตรัสธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรก่อนธรรมทั้งหมดว่า
เธอจงคบกัลยาณมิตร ที่นอนที่นั่งอันสงัด ที่อันเงียบปราศจากเสียงกึกก้อง
เธอจงเป็นผู้รู้ประมาณในการกิน.
เธออย่าได้ทำความอยากในปัจจัยเหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต ปัจจัยคือที่นอนและที่นั่ง
เธอจงอย่ามาสู่โลกอีก.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=8111&Z=8134&pagebreak=0