18.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 18.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45] ความคิดเห็นที่ 4-24 ความคิดเห็นที่ 4-25 ฐานาฐานะ, 12 มิถุนายน เวลา 11:47 น. GravityOfLove, 21 ชั่วโมงที่แล้ว พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๕. จูฬยมกวรรค ๖. มหาธรรมสมาทานสูตร ว่าด้วยธรรมสมาทาน ๔ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9701&Z=9903&bgc=papayawhip&pagebreak=0 ... 1:43 PM 6/11/2556 ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :- 1. พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคทรงถามพระภิกษุทั้งหลายก่อน พระภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พำนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้ง แก่พระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้. ดังนั้น ในส่วนนี้มีความสำคัญ ได้เห็นอาจาระสมบัติของพระภิกษุทั้งหลายว่า พระภิกษุทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ อันเป็นไปเพื่อความเจริญรุ่งเรือง แก่พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. 2. ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ (เช่น การบำเพ็ญทาน) ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ ขอเพิ่มเติมเล็กน้อยว่า ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ (เช่น การบำเพ็ญทาน สำรวมในศีลเป็นต้น) ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ 3. อุปมาเหมือนกินนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยอันอร่อย และเป็นยารักษาโรคด้วย แล้วหาย ขอเพิ่มเติมเล็กน้อยว่า อุปมาเหมือนกินนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยอันอร่อย และเป็นยารักษาโรคด้วย แล้วหายป่วย 4. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๕. จูฬยมกวรรค ๖. มหาธรรมสมาทานสูตร ว่าด้วยธรรมสมาทาน ๔ ขอถามว่า เพราะอะไรหนอ หมายเลข ๕ และ ๖ จึงเว้นช่องว่างไม่เท่ากัน? ความคิดเห็นที่ 4-26 GravityOfLove, 12 มิถุนายน เวลา 12:06 น. ขอบพระคุณค่ะ แก้ไขย่อความจาก แม้ปรารถนาดังนี้แต่ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนากลับเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนากลับเสื่อมไป ทั้งนี้เป็นเพราะ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ / ไม่ได้เห็น / ไม่ฉลาด / ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็น / ไม่ฉลาด / ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ เป็น แม้ปรารถนาดังนี้แต่ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนากลับเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนากลับเสื่อมไป ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใด? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เนื่องธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า (เหล่าสัตว์ย่อมไม่สามารถรู้ทั่วถึงธรรมได้หากพระพุทธเจ้าไม่บังเกิดขึ้นในโลก) มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ (ทรงเป็นผู้แนะ ผู้นำ ผู้คอยชักจูงเกี่ยวกับเรื่องของธรรม ทรงตั้งชื่อเป็นหมวดๆ ตามที่เป็นจริง) มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พำนัก (ทรงเอาธรรมมาจัดรวมเป็นกลุ่ม เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย) ดังนั้น ขอพระองค์โปรดอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้น แล้วพวกข้าพระองค์จะทรงจำไว้ให้ดี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ขอให้พวกเธอจงฟัง และทรงจำไว้ให้ดี ดังนี้ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ / ไม่ได้เห็น / ไม่ฉลาด / ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็น / ไม่ฉลาด / ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ -------------------------------------- ขอถามว่า เพราะอะไรหนอ หมายเลข ๕ และ ๖ จึงเว้นช่องว่างไม่เท่ากัน? เพราะเคาะผิดพลาดค่ะ ความคิดเห็นที่ 4-27 ฐานาฐานะ, 12 มิถุนายน เวลา 12:34 น. คำถามในมหาธรรมสมาทานสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9701&Z=9903 1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? 2. ในพระพุทธดำรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป กำจัดแล้วซึ่งวาทะของประชาชน คือ สมณะและพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่น ย่อมสว่างรุ่งเรือง ไพโรจน์ ฉันนั้นเหมือนกัน. คำถามว่า ธรรมสมาทานนี้ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป กำจัดวาทะอย่างไร? ความคิดเห็นที่ 4-28 GravityOfLove, 12 มิถุนายน เวลา 12:45 น. ตอบคำถามในมหาธรรมสมาทานสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9701&Z=9903 1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ๑. เหตุที่สิ่งทั้งหลายไม่เป็นไปตามความปรารถนา ๒. ธรรมสมาทานมี ๔ อย่าง ๓. เพราะบุคคลมีอวิชชา ไม่รู้ตามจริง จึงเสพธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ เพราะบุคคลไม่ตกอยู่ในอวิชชา รู้ตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ เสพธรรมที่ควรเสพ ๔. ถ้าทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ไม่ว่าตอนที่ทำกรรมนั้น จิตใจจะ เป็นทุกข์ หรือเป็นสุข หรือเฉยๆ ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก ถ้าทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ไม่ว่าตอนที่ทำกรรมนั้น จิตใจจะ เป็นทุกข์ หรือเป็นสุข หรือเฉยๆ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๕. ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งกําลังท่องสูตรนี้ มีเทวดาให้สาธุการ เพราะทุกพยัญชนะเหมือนกับตอนที่พระผู้มีพระภาคแสดงไว้ ว่ากันว่าวันนั้น เทพองค์นี้ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล เทวดาทั้งหลายต่างรักใคร่ชอบใจ พระสูตรนี้ ------------------------------------------- 2. ในพระพุทธดำรัสว่า ... คำถามว่า ธรรมสมาทานนี้ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป กำจัดวาทะอย่างไร? ตอบว่า กำจัดวาทะที่ว่า โทษในกามไม่มี (กรรมดีไม่มีผล กรรมชั่วไม่มีผล) จะบัญญัติผลของกรรมไปทำไม ไม่มีประโยชน์ ความคิดเห็นที่ 4-29 ฐานาฐานะ, 12 มิถุนายน เวลา 17:19 น. GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว ตอบคำถามในมหาธรรมสมาทานสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9701&Z=9903 ... 12:44 PM 6/12/2013 ตอบคำถามได้ดีครับ ในคำตอบข้อ 2 นั้น ผมสันนิษฐานว่า กำจัดวาทะอย่างนี้ คือ เช่น ธรรมสมาทานข้อ 1 (ทุกข์ในปัจจุบัน และทุกข์ในอนาคต) จะเป็นอันผู้อื่นกล่าวได้ว่า ดูผู้นั้นซิมีทุกข์ทั้งในปัจจุบันในอนาคต. ธรรมสมาทานข้อ 2 (สุขในปัจจุบัน แต่ทุกข์ในอนาคต) จะเป็นอันผู้อื่นกล่าวได้ว่า ดูผู้นั้นซิ แม้จะมีสุขในปัจจุบัน แต่อนาคตก็จะมีทุกข์ ธรรมสมาทานข้อ 3 (ทุกข์ในปัจจุบัน แต่ประสบสุขในอนาคต) จะเป็นอันผู้อื่นกล่าวได้ว่า แม้จะมีสุขในอนาคต แต่ก็ประสบทุกข์ในปัจจุบัน. ธรรมสมาทานข้อ 4 (สุขในปัจจุบัน และประสบสุขในอนาคต) จะเป็นอันผู้อื่นกล่าวตำหนิอะไรๆ ไม่ได้เลย กล่าวคือ ไม่มีที่ติเลย. ข้อสันนิษฐานนี้ ก็เป็นการสันนิษฐานล้วนๆ. ความคิดเห็นที่ 4-30 ฐานาฐานะ, 12 มิถุนายน เวลา 17:23 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาธรรมสมาทานสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9701&Z=9903 พระสูตรหลักถัดไป คือวีมังสกสูตร [พระสูตรที่ 47]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ วีมังสกสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9904&Z=9991 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=535 โกสัมพิยสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9992&Z=10133 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=540 ความคิดเห็นที่ 4-31 GravityOfLove, 12 มิถุนายน เวลา 19:01 น. คำถามวีมังสกสูตร กรุณาอธิบายค่ะ //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=535&bgc=papayawhip ๑. ผู้จะสอบสวนมี ๓ คือ ผู้สอบสวนในอรรถ ผู้สอบสวนในสังขาร ผู้สอบสวนในพระศาสดา. ผู้สอบสวนสังขาร (สังขารวีมังสกะ) หมายถึงผู้พิจารณาสังขารธรรม โดยลักษณะของธรรมนั่น โดยสามัญญลักษณะ และโดยวิภาคธรรม << กรุณาอธิบายตรงนี้เพิ่มเติมด้วยค่ะ แปลว่าอะไรคะ (จากเชิงอรรถฉบับมหาจุฬาฯ) ๒. ทำไมตรัสถึงการเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรคะ (อธิบายพระสูตรที่ใดคะ) ๓. "ภิกษุ พึงแสวงหาพระตถาคตเจ้าในเหตุทั้ง ๒ เพราะว่า พระตถาคตเจ้านี้ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง คือกัลยาณมิตรผู้ใหญ่ พึงทราบความที่พระตถาคตเจ้านั้นเป็นกัลยาณมิตรอย่างใหญ่หลวงนี้. ๔. กรุณาอธิบายจากที่นี่ ... ถึงที่นี่ค่ะ อานนท์! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้เลยๆ อานนท์ พรหมจรรย์ทั้งสิ้นนี้ คือ ความเป็นผู้มีมิตรงาม ๑ ความเป็นผู้มีสหายงาม ๑ ความเป็นผู้โน้มไปในมิตรงาม ๑. ... ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจ. ๕. บทว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพียงนั้นหามิได้" ความว่า ตลอดเวลาที่ภิกษุเป็นผู้ถึง ความเป็นผู้มีชื่อเสียงในพระราชาและอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น หรือซึ่งบริวารสมบัติ โทษบางอย่างมีมานะและมานะจัดเป็นต้นย่อมไม่มี เธอเป็นดุจว่าผู้เข้าไปสงบระงับแล้ว ดุจพระโสดาบัน และดุจพระสกทาคามีอยู่ เธอย่อมเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชี้ชัดว่า เธอเป็นพระอริยะหรือเป็นปุถุชนหนอแล. ๖. บทว่า "เป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้ว" ความว่า เป็นผู้มีภัยหามิได้ เข้าไปยินดีแล้ว. อธิบายว่า "เป็นผู้เข้าไปยินดีแล้วโดยส่วนเดียว คือเป็นผู้เข้าไปยินดีโดยติดต่อ." อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีภัย เข้าไปยินดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เข้าไปยินดี โดยความเป็นภัยหามิได้ ดังนี้บ้าง. ๗. พระขีณาสพทั้งหลายย่อมรักการเข้าไปติเตียนผู้อื่นอย่างนี้ ๘. กรุณาอธิบายจากที่นี่ ... ถึงที่นี่ค่ะ บทว่า "ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุผู้จะสอบสวนเหล่านั้น" ... ก็เราเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยอาชีวัฏฐมกศีลนั้น ด้วยศีลที่บริสุทธิ์แม้นั้นหามิได้ เป็นผู้มีตัณหาหามิได้ ชื่อว่าเป็นผู้หมดตัณหา เพราะความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์นั่นเอง. ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 4-32 ฐานาฐานะ, 14 มิถุนายน เวลา 00:33 น. GravityOfLove, 22 ชั่วโมงที่แล้ว คำถามวีมังสกสูตร กรุณาอธิบายค่ะ //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=535&bgc=papayawhip ๑. ผู้จะสอบสวนมี ๓ คือ ผู้สอบสวนในอรรถ ผู้สอบสวนในสังขาร ผู้สอบสวนในพระศาสดา. ผู้สอบสวนสังขาร (สังขารวีมังสกะ) หมายถึงผู้พิจารณาสังขารธรรม โดยลักษณะของธรรมนั่น โดยสามัญญลักษณะ และโดยวิภาคธรรม << กรุณาอธิบายตรงนี้เพิ่มเติมด้วยค่ะ แปลว่าอะไรคะ (จากเชิงอรรถฉบับมหาจุฬาฯ) อธิบายว่า จาก FOOTNOTE ของฉบับมหาจุฬาฯ ๑ ผู้ตรวจสอบ มี ๓ จำพวก คือ (๑) อัตถวีมังสกะ หมายถึงผู้พิจารณาประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น (๒) สังขารวีมังสกะ หมายถึงผู้พิจารณาสังขารธรรม โดยลักษณะของธรรมนั่น โดยสามัญญลักษณะ และโดยวิภาคธรรม (๓) สัตถุวีมังสกะ หมายถึงผู้พิจารณาตรวจสอบพระศาสดา เช่น พิจารณาว่า ขึ้นชื่อว่า ศาสดาต้องมีคุณเช่นนี้ๆ ในสูตรนี้ หมายเอาสัตถุวีมังสกะ (ม.มู.อ. ๒/๔๘๗/๒๘๖, ม.มู.ฏีกา ๒/๔๘๗/๓๖๑) สันนิษฐานว่า ผู้ทำการสอบสวนในพระธรรมวินัยทำได้ 3 อย่างคือ 1. ผู้สอบสวนในอรรถ คือสอบสวนในเรื่องการถึงประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น. 2. ผู้สอบสวนในสังขารธรรม โดยลักษณะของธรรมนั้นๆ เช่นลักษณะทั่วไปของธรรมนั้น โดยวิภาคธรรม [วิภาค น. การแบ่ง, การจําแนก; ส่วน, ตอน. (ป., ส.).] หรือกำหนดเป็นส่วนๆ แล้วสอบสวน หรืออาจจะหมายความถึงลักษณะเฉพาะๆ ของธรรมนั้นๆ. คำว่า สามัญลักษณะ, ปัจจัตตลักษณะ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สามัญลักษณะ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปัจจัตตลักษณะ ว่าโดยคำอธิบายอย่างง่ายๆ (พยายามทำให้ง่าย) คือ 1. สอบสวนว่า มีใครได้ประโยชน์จากพระศาสนานี้หรือไม่? 2. สอบสวนว่า ลักษณะของธรรมต่างๆ ที่ทรงแสดงนั้น เป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่? 3. พระศาสดาหรือผู้สั่งสอน มีคุณสมบัติจริงหรือไม่? พอเข้าใจไหมหนอ? - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ๒. ทำไมตรัสถึงการเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรคะ (อธิบายพระสูตรที่ใดคะ) อธิบายว่า คำๆ นี้น่าจะมีอนุสนธิมาจากคำว่า เพื่อรู้แจ้ง ด้วยประการฉะนี้ บทว่า "เพื่อรู้แจ้ง ด้วยประการฉะนี้" ความว่า เพื่อประโยชน์รู้แจ้งอย่างนี้. จากการสอบทานย้อนกลับ ได้ความว่า บทว่า "เพื่อรู้แจ้ง ด้วยประการฉะนี้" ความว่า เพื่อประโยชน์รู้แจ้งอย่างนี้. มาจากอรรถกถาบาลีว่า อิมสฺมึ ปน สุตฺเต สตฺถุวีมํสโก อธิปฺเปโต เจโตปริยายนฺติ จิตฺตวารํ จิตฺตปริจฺเฉทํ สมนฺเนสนาติ เอสนา ปริเยสนา อุปปริกฺขา อิติ วิญฺญาณายาติ เอวํ วิชานนตฺถาย ฯ จากการสอบทานอรรถกถาย้อนกลับไปพระไตรปิฎกบาลี ได้ความว่า [๕๓๖] ภควา เอตทโวจ วีมํสเกน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา ปรสฺส เจโตปริยายํ อชานนฺเตน ตถาคเต สมนฺเนสนา กาตพฺพา สมฺมาสมฺพุทฺโธ วา โน วา อิติ วิญฺญาณายาติ ฯ //budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=536&Roman=0 จากการสอบทานพระไตรปิฎกบาลีย้อนกลับไปพระไตรปิฎกภาษาไทย ได้ความว่า [๕๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา เมื่อไม่รู้วาระจิตของผู้อื่น พึงทำการตรวจดูในตถาคต เพื่อทราบว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่. กล่าวคือ เพื่อทราบว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่. นั่นคือ พิจารณาจากความเป็นกัลยาณมิตรแก่สรรพสัตว์นั่นเอง. - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ๓. "ภิกษุ พึงแสวงหาพระตถาคตเจ้าในเหตุทั้ง ๒ เพราะว่า พระตถาคตเจ้านี้ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง คือกัลยาณมิตรผู้ใหญ่ พึงทราบความที่พระตถาคตเจ้านั้นเป็นกัลยาณมิตรอย่างใหญ่หลวงนี้. อธิบายว่า ข้อนี้ไม่เข้าใจ เหตุทั้ง 2 คืออะไร แต่อาจจะหมายถึงว่า เมื่อบุคคลไม่มีเจโตปริยญาณแล้ว คือไม่รู้วาระจิตของผู้อื่น ก็พึงพิจารณาจากธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตว่า เหตุทั้ง 2 จึงหมายถึง 2 สิ่งนี้ คือ 1. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ 2. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต เพราะเหตุใด? เพราะเหตุว่า เมื่อไม่รู้วาระจิตของผู้อื่น ก็สามารถสอบทานได้เพียงเท่านี้. - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - |
แก้วมณีโชติรส
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?] Group Blog All Blog
Link |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค
๖. มหาธรรมสมาทานสูตร ว่าด้วยธรรมสมาทาน ๔
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9701&Z=9903&bgc=papayawhip&pagebreak=0
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้หลายมาตรัสว่า
โดยมากสัตว์ทั้งหลาย มีความปรารถนา มีความพอใจ
มีความประสงค์อย่างนี้ว่า
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ พึงเสื่อมไป
ธรรมที่น่าปรารถนาที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ พึงเจริญยิ่ง
แม้ปรารถนาดังนี้แต่ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนากลับเจริญยิ่ง
ธรรมที่น่าปรารถนากลับเสื่อมไป
ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใด?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า
(เหล่าสัตว์ย่อมไม่สามารถรู้ทั่วถึงธรรมได้หากพระพุทธเจ้าไม่บังเกิดขึ้นในโลก)
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ
(ทรงเป็นผู้แนะ ผู้นำ ผู้คอยชักจูงเกี่ยวกับเรื่องของธรรม ทรงตั้งชื่อเป็นหมวดๆ
ตามที่เป็นจริง)
มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พำนัก
(ทรงเอาธรรมมาจัดรวมเป็นกลุ่ม เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น
จึงชื่อว่ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย)
ขอพระองค์โปรดแสดงเนื้อความนั้น พวกข้าพระองค์ได้สดับแล้วจะทรงจำไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ถ้าอย่างนั้น ขอให้พวกเธอจงฟัง และทรงจำไว้ให้ดี ดังนี้
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ / ไม่ได้เห็น / ไม่ฉลาด / ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็น / ไม่ฉลาด / ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ (ได้แก่ การคบสัตบุรุษ การฟังสัทธรรม
และการพิจารณาโดยแยบคาย)
ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ
ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ (เช่น การบำเพ็ญทาน สำรวมในศีลเป็นต้น)
ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ
เมื่อเป็นดังนี้ ก็เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ
คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ
ดังนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนาก็เจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนาก็เสื่อมไป
ข้อนั้นเป็นเพราะปุถุชนไม่ได้รู้ถูกต้อง
ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว / ได้เห็น / ฉลาด / ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของ
พระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ / ฉลาด / ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ...
(พิจารณานัยตรงกันข้ามกับปุถุชนดังกล่าวแล้ว)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัปปุรุษ
ธรรมสมาทานมี ๔ อย่าง คือ
๑. ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๒. ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๓. ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป
๔. ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป
บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทานข้อ ๑ - ๒ ตามความเป็นจริง
ไปแล้วในอวิชชา (ตกอยู่ในอวิชชา)
จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนาย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนาย่อมเสื่อมไป
นั่นเป็นเพราะบุคคลนั้นไม่ได้รู้ถูกต้อง
บุคคลไม่รู้จักธรรมสมาทานข้อ ๓ - ๔ ตามความเป็นจริง
ไปแล้วในอวิชชา (ตกอยู่ในอวิชชา)
จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนาย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนาย่อมเสื่อมไป
นั่นเป็นเพราะบุคคลนั้นไม่ได้รู้ถูกต้อง
ส่วนบุคคลที่รู้จักธรรมสมาทานข้อ ๑ - ๒ ตามความเป็นจริง ไปแล้วในวิชชา
จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนาย่อมเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนาย่อมเจริญยิ่ง
นั่นเป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง
ส่วนบุคคลที่รู้จักธรรมสมาทานข้อ ๓ - ๔ ตามความเป็นจริง ไปแล้วในวิชชา
จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนาย่อมเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนาย่อมเจริญยิ่ง
นั่นเป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง
๑. ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบอกุศลกรรมบถ ๑๐ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง
พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอกุศลกรรมบถข้อนั้นๆ เป็นปัจจัย
ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
อุปมาเหมือนกินน้ำเต้าขมที่มียาพิษ แล้วตาย
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อกุศลกรรมบถ_10
๒. ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบบอกุศลกรรมบถ ๑๐ พร้อมด้วยสุขบ้าง
พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะอกุศลกรรมบถข้อนั้นๆ เป็นปัจจัย
ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินินาต นรก
อุปมาเหมือนดื่มน้ำหวานอร่อยที่มียาพิษ แล้วตาย
๓. ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเว้นขาดจากการประกอบอกุศลกรรมบถ ๑๐
พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง
ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากการประกอบอกุศลกรรมบถ ๑๐
ข้อนั้นๆ
ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
อุปมาเหมือนกินมูตรเน่าที่มียารักษาโรค แล้วหายป่วย
๔. ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเว้นขาดจากการประกอบอกุศลกรรมบถ ๑๐
พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง
ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากการประกอบอกุศลกรรมบถ ๑๐
ข้อนั้นๆ
ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
อุปมาเหมือนกินนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยอันอร่อย
และเป็นยารักษาโรคด้วย แล้วหายป่วย
อุปมาเหมือนในสารทสมัยซึ่งเป็นเดือนท้ายแห่งฤดูฝน
อากาศอันโปร่งปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์ลอยอยู่ในท้องฟ้า กำจัดความมืด
อันมีในอากาศทั้งสิ้น ย่อมส่องสว่างเจิดจ้า แม้ฉันใด
ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก
กำจัดแล้วซึ่งวาทะของผู้อื่น คือสมณะและพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่น
ย่อมสว่างเจิดจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
[แก้ไขตาม #4-25, 4-26, 4-37]