รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
17 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
คำถามเรื่อง การฝึกเคลื่อนมือ

มีคำถามมาจากนักปฏิบัติครับ ผมตัดข้อความบางส่วนออก เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว ข้อความมีดังนี้ครับ

....................................................

จริงด้วยคุณนมสิการ ที่คุณบอกใน blog ว่า "ยังไม่มีกำลังพอในสติสัมปชัญญะ
ท่านจะล้มเหลวไม่เป็นท่าในการดูจิต" ผมสังเกตุว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ
ผมฝึกดูจิตมาเกือบปี ป่านนี้ผมยังไม่มีสติตั้งมั่นเลย ไม่รู้เป็นเพราะอะไร?
ล้มไม่เป็นท่า วันที่ผ่านมาผมไปที่บ้านอารีย์
เจ้าหน้าที่ที่มาแนะนำก็พูดแบบคุณเป๊ะเลย อันที่จริงผมไม่น่าทิ้งฐานกายไปดูจิตเลย
ผมต้องนับหนึ่งใหม่อีกครั้งแล้วล่ะ ^^!
ถามนิดนึงครับ เท่าที่ผมได้รับสอนมาบอกว่า
ระหว่างขยับมือ มือขยับ ใจก็ดู ผมจำหลักการนี้แล้วรู้ว่าเพ่งครับ
เพราะขยับแล้วใจต้องดู เหนื่อยครับ ผมเลยคิดว่า
ขอแค่มือขยับแล้วรู้สึกได้ไหม โดยที่ใจไม่ต้องดู
มันจะรู้สึกว่าง่ายกว่า

.................
มาอ่านดูความเห็นของผมดังนี้ครับ

ท่านที่ถามคงฝึกเคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียน
ที่ถามมาว่า ขอแค่ขยับแล้วเพียงรู้สึกได้ไหม
ผมขอตอบว่า ได้ครับ ถูกต้องแล้วครับ
การรู้สึกนั้นก็คือใจไปรับรู้นั่นเองครับ
ให้รู้สึกอย่างเดียว และที่รู้สึกนี้ก็ให้เป็นธรรมชาติ
ที่จิตเขารู้สึกได้เอง โดยไม่ต้องไปจ้องดูครับ
เทคนิคการฝึกของหลวงพ่อเทียน ถ้าใครได้ฝึกและเข้าใจ
จะมองออกว่า เป็นรูปแบบที่ง่ายนั้นแต่แฝงไปด้วย
ประโยชน์ที่ได้เต็ม ๆ จากการฝึก โดยเฉพาะมือใหม่และรวมทั้งมือเก่าทั้งหลายด้วยครับ
การขยับมืออย่างช้า ๆ ทีนิ่มนวลและสบาย ๆ โดยไม่เกร็งถึงกับ slow motion
ขยับแล้วหยุด ขยับแล้วหยุด นี่เป็นเทคนิคที่กระตุ้นความรู้สึกตัวได้ดี
ทำให้ตื่นตัวอยู่ ไม่เผลอไปในระหว่างฝึก
การลูบลำตัว ก็คือการกระตุ้นกำลังรู้ของจิตรู้ อันนี้ดีสำหรับมือใหม่ที่กำลังจิตอ่อน
การลูบลำตัว ผู้ฝึกเขาจะรู้สึกได้เป็นอย่างดี
การเคลื่อนมือ ก็จะให้รู้อาการเคลื่อนอาการไหว อันเป็นการฝึกให้รู้สึกได้ถึงสิ่งที่เบาๆ ได้
แต่มือใหม่อาจรู้สึกถึงการเคลือนนี้ไม่ได้ แต่ถ้าใครรู้สึกถึงได้ แสดงว่า กำลังจิตเริ่มดีมีกำลังมากขึ้นแล้วครับ

ผมแนะนำให้อ่านเรื่อง หลักการเบื้องต้นของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแบบชาวบ้าน
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=09-2009&date=02&group=1&gblog=83
เพื่อให้เข้าใจเพิ่มเติมที่ว่า การรู้สึกถึง นั้นเป็นอย่างไร

ในการฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ถ้าตอนฝึกรู้สึกว่า ไม่เป็นธรรมชาติ รู้สึกหนัก รู้สึกเกร็ง นั้นแสดงว่า มีอะไรทีคลาดเคลื่อนไปแล้วครับ


Create Date : 17 กันยายน 2552
Last Update : 29 มกราคม 2555 19:07:36 น. 16 comments
Counter : 1456 Pageviews.

 
การเลือกใช้ฐานกาย
เพื่อรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวร่างกายไว้ก่อน
เมื่อฐานมั่นคงดี มีฐานที่มั่นแล้วก็สามารถตามรู้
ตามดูความคิด และความรู้สึกของจิตที่เปลี่ยนแปลงได้ด้วยในภายหลัง....
เรียบง่าย แต่แฝงคุณค่าที่ยิ่งใหญ่จริงๆครับ.


แล้วแต่จริต?หรือเปล่าวครับ
เรียนถามความเห็นท่านมนสิการครับ

ขออนุโมทนา


โดย: เส้นรุ้ง เส้นแวง IP: 210.203.178.194 วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:14:13:55 น.  

 
ตอบ คุณ เส้นรุ้ง เส้นแวง
ขอตอบในความเห็นส่วนตัวนะครับ กรุณาอ่านด้วยวิจารณญาณด้วยครับ

การปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ( ผมไม่ขอแยกสมถ วิปัสสนา นะครับ ) อันดับแรกเลย ต้องพัฒนาจิตรู้ให้เกิดก่อนครับ
มาดูกันก่อนครับว่า การพัฒนาจิตรู้ ให้เกิดนั้นก็คือการใช้ กาย เวทนา จิต เป็นตัวพัฒนาให้เกิดจิตรู้

การใช้ฐานกาย จะง่ายและสบายในการฝึกฝน และฝึกฝนในรูปแบบได้ทันที เมื่อเริ่มต้น ฐานกาย ผู้ฝึกฝนถ้ารู้ และ เข้าใจในหลักการ ทันทีที่เริ่มฝึก ก็เริ่มได้เลย เพราะการพัฒนาจิตรู้ นั้น เราจะให้จิตรู้นั้นรับรู้การเปลี่ยนแปลงอะไรก็ได้
เช่น มีสัมผัส ไม่มีสัมผัส มีการเคลื่อน มีการหยุดเคลื่อน หรือ อื่น ๆ ถ้าผู้ปฏิบัติเป็นคนช่างสังเกตตัวเอง เพียงแต่เขาเริ่มฝึก จิตรู้ นั้นก็เกิดทันที แต่ผู้ปฏิบัติใหม่จะมองไม่ออก มองไม่เป็น จึงไม่เห็น ดังนั้น การใช้ฐานกายเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาจิตรู้ จึงเป็นสิ่งที่ผมนำมาแนะนำใน blog ของผม

การใช้ฐานเวทนา ผมยังมองไม่ออกว่า จะใช้สุขเวทนาในการพัฒนาจิตรู้ได้หรือไม่ แต่ถ้าใช้ทุกขเวทนา นี่ได้แน่นอนครับ แต่ทุกขเวทนา นี้จะเป็นกรรมฐานที่ไม่เป็นสุข เมื่อไม่เป็นทุกข์ การฝึกก็ยากลำบากกว่าฐานกาย

การใช้ฐานจิต ผมเห็นว่า ถึงแม้ว่าจะได้เหมือนกัน แต่จะยากมากในการพัฒนาจิตรู้ เพราะจิตรู้ที่ไม่มีกำลัง จะไม่สามารถเห็นตัวจิต และ ตัวจิตตสังขารได้เลย เพราะจิตรู้จะถูกจิตตสังขารครอบงำทุกครั้ง การเกิดจึงยาก

ที่คุณเขียนมาว่า การใช้ฐานกายเพื่อความมั่นคงก่อน แล้วจึงมาตามดูความคิด อันนี้ก็ถูกแบบหนึ่ง
แต่ผมเห็นว่า นอกจากแบบที่คุณเขียนไว้นั้น ยังมีอีกแบบหนึ่ง ก็คือ การใช้ฐานกาย พร้อมกับฐานจิตพร้อมกันทันที
โดยใช้ฐานกาย เพื่อพัฒนาจิตรู้ พร้อมกับหลอกล่อให้จิตมันคิดขึ้นเอง พอจิตคิดขึ้นแล้ว ให้ตัดความคิดทันที ให้ฝึกแบบนี้ แต่คนโดยมากไม่เชื่อในวิธีการนี้ โดยเฉพาะคนที่ฝึกสายหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อเทียนนี่ลึกซึ้งมากถ้าไม่คิดพิจารณาให้ดีจะมองไม่ออกเลย ผมจึงว่า วิธีที่ 2 คือ ฐานกาย พร้อมดูความคิด เป็นเทคนิคที่ให้ผลได้เร็วกว่า ถ้าผู้ฝึกเข้าใจ

ผมมีเหตุผลที่ผมเสนอว่า เทคนิคหลวงพ่อเทียนเป็นแบบใช้ฐานกายฝึก แล้วดูความคิดทันทีเลย เพราะว่า หลวงพ่อเทียนให้เคลื่อนมือเป็นจังหวะ ๆ มีหลาย ๆ ขั้น เคลื่อนหยุด เคลื่อนหยุด ทำไมเป็นอย่างนี้ ถ้าใช้ฐานกายอย่างเดียว ก็ฝึกแบบเดินจงกรมก็ได้นี่น่า หรือ เคลื่อนมือคลอดไม่ต้องหยุดก็ได้นี่นา เคลื่อนง่าย ๆ ไม่ต้องวกไปวนมา ก็ได้นี่นา ที่ท่านให้เคลื่อนหยุด เคลื่อนหยุด และวกไปวนมา เพื่อให้จิตมันเผลอแล้วจะเกิดความคิดขึ้นครับ เมื่อความคิดเกิด ก็ให้ตัดมันทิ้งไปครับ แล้วก็ล่อให้ความคิดเกิดอีก แล้วก็ตัดออกไปอีก
แต่การฝึกนั้นจะใช้แบบ 1 ที่คุณว่า หรือ แบบ 2 ที่ผมเสนอ ก็ได้ครับ ถ้าเข้าใจในวิธีการฝึก
เขียนมากไม่ได้ครับ เดียวเขาก็จะหาว่าผมเป็นพวกนอกคอกครูบาอาจารย์ ก็แล้วแต่เขาจะคิดละครับ แต่ถ้าเขาคิดแบบนี้ เขาก็จะเป็นคนที่ไม่เคยเห็นความคิดคัวเองละครับ จริงใหมครับท่าน...


โดย: นมสิการ วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:17:08:12 น.  

 
" เมื่อความคิดเกิด ก็ให้ตัดมันทิ้งไปครับ "
======================
หมายความว่ามันตัดของมันเองนะ
ใช่ไหมครับ ไม่ใช่เราจงใจนะ

เพราะถ้าเรารู้ทันว่าจิตหนีไปคิด
มันก็กลับมารู้สึกตัวอัตโนมัติขึ้นมาเอง
ถูกต้องไหมครับ.
ท่านมนสิการ

ขอบคุณมากครับ


โดย: เส้นรุ้ง เส้นแวง IP: 58.10.65.67 วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:19:54:37 น.  

 
ชอบ Stye การคุยธรรมะของท่านมนสิการมากครับ.
เลยแอบเข้ามาสนทนาธรรมด้วยครับ.
รู้สึกสนทนาด้วยแล้วปลอดโปร่ง (ไม่อึดอัดนะครับ)

ขอบคุณที่แนะนำธรรมะดีๆครับ


โดย: เส้นรุ้ง เส้นแวง IP: 58.10.65.67 วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:19:59:18 น.  

 
ตอบคุณ: แม่ภูมิ

สบายใจก็ดีแล้วครับ อ่านน้อย ๆ ฝึกมาก ๆ จะได้ผลดีกว่าครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:20:56:28 น.  

 
ตอบคุณ เส้นรุ้ง เส้นแวง

" เมื่อความคิดเกิด ก็ให้ตัดมันทิ้งไปครับ "
======================
หมายความว่ามันตัดของมันเองนะ
ใช่ไหมครับ ไม่ใช่เราจงใจนะ

>>> ทีผมว่า เมื่อความคิดเกิด ก็ตัดมันทิ้งไปนั้น
ผมหมายถึงคนใหม่ๆ ที่กำลังฝึกครับ คนใหม่จะไม่เห็นความคิดเกิด แต่เขาจะหลงเข้าไปในความคิด การไม่เห็นความคิดแต่กลับหลงเข้าไปในความคิด มันมีแต่เสีย กับเสียครับ ผมจึงเขียนแบบนั้นว่า ให้ตัดมันทิ้งไปซะเนื่องจากกำลังฝึกในรูปแบบ เขาย่อมจะมีความรู้ตัวได้ดีกว่าตอนอยู่ในชีวิตประจำวันจริง ๆ ที่ส่วนใหญ่จะหลงเข้าไปในความคิด

>>> ทีนี้สำหรับ มือไม่ใหม่ และ ก็ไม่เก่า คือ ฝึกมาพอตัวแล้ว เห็นความคิดได้ แต่ว่า ยังไม่เด็ดขาดทุกครั้ง ในกรณีแบบนี้ ส่วนมากจะเห็นความคิดได้ช้า หรือ บางทีก็จะเข้าไปในความคิดคือเผลอหลงไปเล็กน้อย ถ้าคน ๆ นี้เกิดรู้สึกตัวขึ้นมาจากการหลงไปคิด ก็คือหลุดจากการหลงคิดแล้วมาเป็นรู้สึกตัวอีกครั้งหนึ่งครับ แต่เขาจะไม่เห็นความคิดเกิด แต่เขาจะเห็นความคิดตอนหยุด เมื่อเขากลับมารู้สึกตัวอีกครั้ง เมื่อความคิดหยุดไป ถ้าเขาจะคิดต่อ เขาจะต้องตั้งใจคิดต่อเอง และเขาจะไม่เห็นความคิดเมื่อคิดต่อไปเพราะนี่เป็นการตั้งใจคิด คนพวกนี้จะรู้ว่า ความคิดที่ไม่มีประโบชน์ ไร้สาระ ความคิดฟุ่งซ่าน เขาจะไม่คิดต่อไปอีก
เพราะความคิดพวกนี้ ทำให้ทุกข์และไม่เกิดผลดี

>>> สำหรับมือเก๋ากึกมาก ที่ฝึกมาเป็นอย่างดี คนพวกนี้ เวลาความคิดเกิดเขาจะเห็นความคิดเกิด เมื่อเห็นแล้ว ถ้าเขาจะไม่ต้องการคิดต่อไป ความคิดก็จะหยุดเอง ซึ่งเขาก็จะเห็นอีกว่า ความคิดมันหยุดไปเองแล้ว แต่ถ้าเขาจะปล่อยให้ความคิดมันคิดต่อไปอีก เขาก็สามารถปล่อยให้ความคิดคิดต่อไปได้ โดยที่เขาจะไม่หลงเข้าไปในความคิดเลย และเวลาความคิดมันคิดต่อไปอีก เขาก็ยังคงเห็นความคิดได้อยู่ครับ

จะเห็นว่า สภาวะความคิด มันขึ้นกับประสบการณ์การฝึกฝนและกำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ซึ่งแต่ละคนแต่ละระดับ ก็จะมีสภาพที่ต่างกันไป


โดย: นมสิการ วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:21:15:50 น.  

 
ว้าย เพิ่งเห็นค่ะ ว่า ดันล็อกอินเข้ามา
แหม ว่าจะไม่เปิดเผยตัวเองซะหน่อย 55

ลาไปนอนแล้วค่ะอาจารย์


โดย: มือใหม่ IP: 61.7.189.91 วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:21:29:10 น.  

 
ขอบคุณมากครับ


โดย: เส้นรุ้ง เส้นแวง IP: 115.67.17.121 วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:22:21:30 น.  

 
สวัสดีคับพี่
ตอนนี้ผมคงรู้ความคิดได้ในระดับที่สอง คือหลงเข้าไปในความคิดก่อนถึงรู้ได้ หรือรู้ความคิดได้เฉพาะตอนหยุดเท่านั้น
แต่ผมเคยสังเกตตัวเองอย่างนึงคับว่า ผมจะรู้สึกว่ามีความคิดเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ "มีคำพูด" หรือบัญญัติอะไรสักอย่างเท่านั้น มันเหมือนเป็นอะไรบางอย่างที่ผมใช้วัดตัวเองน่ะคับ ที่ว่า ขณะนั้นมีความคิดเกิดขึ้นแล้ว (แต่ขณะรู้นั้น มันก็ไม่ได้มีการบอกหรืออะไรมาบอกอีกต่อนะคับ ว่ามีถ้อยคำหรือความคิดเกิดขึ้นแล้ว)

เพราะตรงนี้ด้วยหรือป่าวคับ ที่ทำให้ผมแทบไม่เคยเห็นความคิดตั้งแต่ขณะเกิดขึ้น เพราะขณะเกิดมันจะไม่มีคำพูด คือมีแค่อะไรบางอย่างผุดๆ หรือไหวๆ ใช่ไหมครับ


โดย: บั๊กคุง IP: 58.64.123.86 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:3:48:07 น.  

 
อันความคิด และ อาการของจิตปรุงแต่ง มันจะออกมาเหมือนกันทางกายภาพ (physical observation ) คือ ผู้ปฏิบัติจะรู้และเห็น เหมือนเป็นพลังงานที่โผล่วูบขึ้นมา
ถ้าผู้ปฏิบัติมีสัมมาสติที่ไว ตั้งมั่น เขาจะเห็นมันได้ตอนเกิด แต่เมื่อเห็นมันแล้ว ก็จะมีขบวนการของสัญญาตามมาอีก ก็คือเข้าไปตึความหมายของพลังงานว่า คืออะไร นี่คือความคิดเรื่องโน้น เรืองนี้ นี่คือพลังงานที่แปลว่ากลุ้มใจ เป็นต้น

สำหรับพลังงานนี้ สำหรับคนที่ไม่ได้ฝึก ก็อาจรู้สึกได้เหมือนกันตอนเกิด แต่เขาจะไม่เห็นครับ เช่น ตอนที่เขาเกิดโกรธวูบขึ้นมา เขาจะสัมผัสได้ถึงพลังงานที่โผล่วูบขึ้นมาอย่างรุนแรง แต่คนที่ไม่ได้ปฏิบัติ จะต่างจากคนปฏิบัติที่ว่า เขาไม่เห็นมัน เพียงรู้สึกได้ แต่คนปฏิบัติ จะเห็นได้และรู้สึกได้ การเห็นได้ของนักปฏิบัติจะมีพลังในการหยุดยั้งพลังงานนี้ได้ ดังนั้น นักปฏิบัติจึงหยุดอาการปรุงต่งทางใจได้ดีกว่า ทำให้นักปฏิบัติมีทุกข์น้อยลงกว่าคนท่ไม่ได้ปฏิบัติ


โดย: นมสิการ วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:7:47:43 น.  

 
ทีแรกผมเข้าใจว่า คำว่าเห็นกับรู้สึก นี่เป็นอันเดียวกัน
แต่สำหรับคำว่าเห็น พี่หมายถึง มีจิตรู้มาเห็นใช่ไหมคับ
(เพราะถ้าแค่รู้สึก ผมก็รู้สึกได้บ่อยๆ ทั้งอาการโกรธ หรือที่เวลามองหรือฟังแล้วรู้สึกใจมันเคลื่อน แต่อาการโกรธนี่ ตอนที่ผมรู้สึกตอนมันวูป มันก็ดับทันทีเลยเหมือนกันนะครับ)

ส่วนตรงที่พี่ว่ามันจะหยุดพลังงานนี้ได้นี่ หมายถึงพอหลังจากจิตรู้ไปเห็นแล้ว พลังงานมันจะหยุดลงไปเอง ตามไตรลักษณ์หรือป่าวครับ (รวมทั้งจิตรู้ก็ดับลงเช่นกัน)


โดย: บั๊กคุง IP: 58.64.123.20 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:10:47:08 น.  

 
ที่คุณถามมานั้น ผมขอแยกเป็น 3 ประเภทครับ
ประเภทแรก คือปุถุขนทั่ว ๆ ที่ไม่ได้ฝึกฝน เมื่อเขาโกรธ เขาก็รู้ว่าเขาโกรธ แต่เขาไม่เห็นพลังงานที่เกิดขึ้นที่เรียกว่าความโกระนั้น ปรกติ เมื่ออารมณ์โกรธเกิดขึ้น พลังงานที่เรียกว่าความโกรธจะวูบขึ้นมา คนพวกนี้ไม่เห็น แต่เมื่อพลังงานวูบมาแล้ว และครอบคลุมจิตใจของเขา เขาก็รู้ว่าเขาโกรธ ความโกรธนี่เป็นตัวเขา เขารู้แต่ข้าไปแล้ว
เขาถูกความโกรธครอบงำได้เต็มที่แล้ว

ประเภทสอง คือ ประเภทที่กำลังฝึกอยู่และจิตรู้แยกตัวออกมาได้แล้ว คนประเภทนี้จะเห็นว่า จิตรู้ นี่คือตัวเรา แต่อาการทางจิต เช่นความรู้สึก ความโกรธ นี่ไม่ใช่ของเรา
คนประเภทนี้ จะทั้งรู้และทั้งเห็นอาการของจิตได้เมื่อเกิดขึ้น เขาจะเห็นพลังงานเกิดวูบขึ้นมาได้ แต่จิตรู้เห็นอาการของจิตแล้ว อาการของจิตก็หยุดลงไปเอง
ส่วนจะถามว่า จิตรู้จะหายไปไหม อันนี้ผมไม่รู้จะตอบอย่างไรนะครับ เพราะเมื่ออาการโกรธหายไปแล้ว แต่จิตรู้ก็จะไปรู้อย่างอื่นแทนครับ เช่น ตายังเห็น หูได้ยิน นี่ก็จิตรู้ไปรู้ท้งนั้น

ประเภทที่ 3 ประเภทนี้อธิบายให้เข้าใจยาก ประเภทนี้คือประเภทที่ 2 แต่พัฒนาสัมมาสติ จนจิตรู้กระจายตัวออกไปแล้ว การเห็นพลังงานที่เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ก็ยังเห็น แต่พลังงานบางอย่างก็ไม่เกิดขึ้นอีกในคนประเภทนี้ เขาจะเห็นพลังงานที่เกิดเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่เขา และก็ไม่มีตัวเขาด้วย เอาเป็นว่า ผมเชียนไว้แต่นี้พอให้รู้ว่า ยังมีอีกแบบก็แล้วกันนะครับ ผมจะไม่เขียนมากเพราะจะทำให้สับสนกับแบบที่ 2 ซึงผู้ที่ฝึกฝนส่วนใหญ่เมื่อผ่าน 1 ก็จะมีถึง 2 ก่อน ผมอยากให้เข้าใจแบบ 2 ให้ถ่องแท้ เพื่อว่าจะได้เข้าใจเมื่อพบเห็นและจะได้ไม่เดินผิดทางไป

พลังงานที่เกิดขึ้น ก็คือส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 ขันธ์ 5 นี่พระพุทธองค์ว่ามันทุกข์ มันเป็นไตรลักษณ์ มันอยู่ทนไม่ได้ มันก็แสดงตัวเองออกมาว่ามันเป็นไตรลักษณ์ และสิ่งที่เห็นมันได้ว่า มันเป็นไตรลักษณ์ก็คือจิตรู้นั้นเอง


โดย: นมสิการ วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:12:21:06 น.  

 
ผมก็ยังสลับไปมาระหว่างประเภทที่หนึ่งกับสอง

หลังๆ มานี่ผมเริ่มเข้าใจมาบ้างแล้วคับว่า ความสงสัย (ที่เป็นเรื่องของสภาวะ) ถ้าไม่ใช่ติดปัญหาจริงๆ มันไม่มีความหมายเลย กับการที่ไปอ่านหรือไปคิดๆ เอา เพื่อแก้ข้อสงสัยนี้ ซึ่งผมรุ้สึกว่า มันก็ไม่ต่างอะไรกับความคิดอื่นๆ เลย และยิ่งถ้าเรารู้ไม่ทันความสงสัยนี้ มันก็จะหยุดการปฎิบัติไป แล้วไปหาอ่านหาค้นคว้าเอาแทน

ขอบคุณมากครับ


โดย: บั๊กคุง IP: 58.8.86.231 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:14:15:51 น.  

 
ไม่ว่าจะอ่านอย่างไร หรือ คิดเอาเองอย่างไร ไม่มีทางรู้ได้เลยว่า สภาวะจริง ๆ เป็นอย่างไร
การรุ้ได้ต้องมาจากการปฏิบัติที่ถูกวิธีเท่านั้น
ถ้าเราเข้าใจ แล้ว ปฏิบัติอย่างถูกวิธี
มันต้องเกิดสภาวะแน่ ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้น
ไม่ต้องไปถามใคร ไม่ต้องไปอ่านที่ไหนอีก
เพราะเราจะเห็น จะเข้าใจได้ทีนที
มันเป็นอย่างนี้เอง

การไปอ่านมาก ๆ ยิ่งสับสน เพราะสภาวะที่ผมเล่าให้ฟังเป็น 3 แบบ คนทีเขามาเขียนให้อ่าน หรือ พูดให้ฟัง ก็ไม่รู้ว่า เขาพูดแบบไหนกันแน่ เมื่อไปฟัง ก็อาจเข้าใจผิดไปเอง เมื่อเข้าใจผิดไปเอง เวลาปฏิบัติ ก็จะพบว่า เอ ทำไมไม่เห็นเหมือนที่อ่านมา หรือ ที่ฟังมาเลย ก็จะทำให้คิดว่าปฏิบัติผิดก็ได้ หรือ ว่าเกิดไปพบคำสอนทีไม่ตรงทาง แล้วเราเกิดหลงเชื่อ อย่างนี้ ก็จะหลงทางไปอีกนาน


โดย: นมสิการ วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:17:00:19 น.  

 
ผมต้องนับ 1 ใหม่อีกรอบแล้วครับ


โดย: คนโง่ๆ IP: 172.16.21.104, 58.137.22.2 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:8:55:22 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:19:18:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.