รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
29 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
ทุกข์เกิดแล้ว จัดการอย่างไรดี

มีคำถามจากนักปฏิบัติ ผมขอนำมาแสดงไว้ดังนี้

วันนี้มีเรื่องมารบกวนพี่อีกครั้ง

ช่วงหลังมานี่ ผมเริ่มรู้สึกเป็นกลางต่อความคิดหลายๆ แบบมากขึ้นมาก
(นานๆ ทีจะเห็นเป็นแค่อะไรสักอย่างไหวๆ ขยุกขยิก แล้วดับ
แต่ส่วนใหญ่จะหลงไปคิดนิดนึงแล้วถึงขาด
มันเลยตีความได้ว่า ความคิดดี ไม่ดี หรือคิดทั่วๆ ไป ก็เริ่มจะเป็นกลางกับมัน สักแต่ว่าเห็น)

พอผมเห็นความคิด แบบเป็นกลางไปเรื่อยๆ เข้า ผมสังเกตได้ว่า
บางความคิด แม้เกิดขึ้นมาแวปเดียว คือแม้ผมจะมารู้มันในขณะต่อมาได้แล้วก็ตาม
มันเหมือนฝากความทุกข์ไว้ที่อก ซึ่งผมคิดว่า
ผมก็ไปรู้ไอความทุกข์นั้นนะ (ตรงนี้ผมโง่เง่าจริงๆ คนทั่วไปเวลาทุกข์ก็รู้สึกได้หมดแหล่ะ
เพียงแต่ว่าจะทำอะไรหรือไม่ทำ หลังจากนั้น)
แต่มันยังคงทุกข์อยู่อีกสักพักครับพี่ แต่ ตอนแรกผมไม่รู้
ผมก็ว่าทำไมมันไม่ดับ หรือมันไม่เห็นความทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ถูกรู้
เหมือนเห็นความคิด คือมันยังรู้สึกว่าผมกำลังทุกข์อยู่นั่น

แต่ตอนหลัง พอเจอบ่อยๆ เข้า มันเหมือนกับว่า จริงๆ ไอ้ตัวความทุกข์นั้น
มันก็มีอยู่ครับ ที่อกวูปหนักๆ มันมีอยู่ มันก็ทุกข์น่ะพี่ แต่ผมไม่พอใจ ไม่ชอบมัน ผมไม่ทันตัวนี้
คืออดทนดูๆ ไป เข้า มันเห็นว่า ความทุกข์ที่แนบอยู่กับอกนั้นก็มีอยู่
ความไม่ชอบหรือสงสัยก็มีอยู่(ต่างหาก) ความคิดเข้ากระทำก็อยู่(ต่างหาก)

ทีนี้มันก็แยกได้แค่นั้นครับพี่ มันติดตรงที่ ไอ้ความทุกข์นั้น มัน "มีความรู้สึก"
ว่าเป็น "ผม" แนบอยู่เต็มเปี่ยม (ตอนแรกผมนึกว่า "เรา" เกิดจากความคิด-สัญญาเท่านั้น)

ผมจึงอยากถามพี่ว่า
1- ไอ้ตรงนี้มันต้องเกิดจิตรู้ก่อนหรือป่าวครับพี่ ถึงจะเห็นทุกอย่าง แยกกันอยู่หมดเลย ลงไตรลักษณ์ได้หมดเลย
2- ส่วนความทุกข์ที่ผมต้องรับผลไปสักพัก คือวิบากใช่มั้ยพี่
3- ที่ผมตามรู้มา ถือว่ากำลังมาถูกทางแล้วไหมครับ

..............................................................

ความเห็นของผมเป็นดังนี้ครับ

สภาวะทุกข์นั้น จะเริ่มมาจากความคิดที่มีการปรุงแต่งในลักษณะของการชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจ แต่คนส่วนใหญ่จะเป็นแบบไม่ชอบใจ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ทั้งชอบใจและไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น เมื่อเกิดการปรุงแต่งแล้ว และรู้ได้ช้า หรือ ที่เรียกกันว่า รู้ไม่เท่าทัน การปรุงแต่งนั้นก็จะเข้าครอบงำจิตใจไปแล้ว ทำให้เจ้าตัวเกิดอาการทุกข์ขึ้นมาได้ครับ

เมื่อเรารู้สาเหตุว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้นแล้ว ว่า เป็นเพราะการรู้ไม่เท่าทันทุกช์เกิดนั้นเอง วิธํการจัดการ ก็คือ ต้องฝึกฝนให้มากในสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ซึ่งผมขอแนะนำว่า เมื่อทุกข์เกิดและจิตถูกครอบงำด้วยการปรุงแต่งอยู่ อย่าไปดูจิตที่เป็นทุกข์ เพราะจะสลัดทุกข์ไม่ออก วิธีการฝึกฝนควรมาลงที่กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐานให้มากเข้าไว้
แล้วจิตที่ถูกการปรุงแต่งครอบงำ จะค่อยๆ จางออกไป จางออกไป ทำให้ความทุกข์ในใจออกจะค่อย ๆ ลดลงได้ จิตใจก็จะค่อย ๆ สดใสขึ้นได้ ในเวลาเดียวกัน การฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็จะเป็นการเพิ่มศักยภาพของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ให้ว่องไว และตั้งมั่นมากขึ้น

ขอตอบคำถามในที่ถามมา

1 การเห็นไตรลักษณ์ ต้องเห็นด้วยจิตรู้ จึงจะแจ่มแจ้งแก่จิตเอง ถ้าจิตรู้ไม่เกิดขึ้น จิตรู้จะไม่เห็นไตรลักษณ์ทีแท้จริง แต่ผู้ปฏิบัติจะเป็นการคาดตะเนเอา หรือ คิดเอาเองในเรื่องไตรลักษณ์ จิตรู้ จะมาได้ก็มาจากการฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จนแนบแน่นมีกำลัง แล้วจิตรู้ จะแสดงศักยภาพออกมาให้ผู้ปฏิบัติสัมผัสพลังของมันได้เอง

2 ใช่วิบากหรือไม่ ผมไม่ทราบครับ แต่เรือ่งทุกข์นั้น ในคนทีมีกิเลสตัณหาอยู่ในจิตใจ ต้องมีทุกข์แน่นอนครับ เพราะตัณหาก็คือการยึดติด พอทุกข์เกิดแล้ว ตัดได้ช้า ทำให้ตัดไม่ขาด จิตที่มีตัณหาก็ยึดทุกข์นั้นทันที

3. ข้อนี้ ความเห็นของผมจะไม่เหมือนกับพระอาจารย์บางท่านครับ ผมเห็นว่า ถ้าจิตยังไม่มีกำลังตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิแล้ว การตามรู้ ตามดู จะมีแต่การยึดติดในทุกข์ครับ ยิ่งเป็นปัญหาให้แก่ผู้ปฏิบัติ เพราะจิตจะถูกการปรุงแต่งครอบงำ แล้วเป็นทุกข์ตลอดเวลา เหมือนจิตกินอาหารพิษเข้าไปนั้นเอง ขอให้อ่านเรื่อง
กินให้อ้วน

ผมมีความเห็นว่า การปฏิบัตินั้น การตามรู้ ตามดู จะทำได้ก็ต่อเมื่อ จิตรู้ เขาเกิดแล้วและตั้งมั่นดีแล้ว ครับ ซึ่งจิตรู้ มีกำลังแล้วเขาจะหยุดการปรุงแต่งได้ และเห็นไตรลักษณ์ของการปรุงแต่งนั้น ๆ อันเป็นปัญญาให้แก่จิต
ข้อนี้ขอให้อ่านเรื่อง
อะไรคือ "รู้แต่ไม่รู้อะไร."



************
ถ้าผมอธิบายตรงไหนไม่ชัดเจน ขอให้ถามเพิ่มได้ครับ








Create Date : 29 สิงหาคม 2552
Last Update : 29 มกราคม 2555 19:27:43 น. 18 comments
Counter : 1309 Pageviews.

 
รู้ แต่อย่าให้มันรู้อะไรเข้า
ถ้ามันรู้อะไรเข้า ก็จะติดอันนั้นทันที
รู้แต่ไม่รู้อะไร One know he know in



โดย: พุทธะจิต วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:13:37:17 น.  

 
ขออนุญาต ขอโอกาสแชร์ความเห็นด้วยนะคะ

ตรงที่เกิดอาการทุกข์แล้วจิตไปเห็นอาการทุกข์เกิดขึ้น ถ้าจิตตั้งมั่น มีสมาธิที่ดี บางครั้ง..เก้าย้ำว่า "บางครั้ง" เพราะตัวเองจะรู้ว่า บางครั้งจิตไม่มีสมาธิตั้งมั่น ถ้าตั้งมั่นดี มันจะแยกตัวอารมณ์ออก เห็นตัวอาการทุกข์อยู่ต่างหาก จิตที่ไปรู้ก็อยู่ต่างหาก ไม่รู้ตรงนี้ถูกหรือไม่ถูกเหมือนกันค่ะ

แต่ถ้าอาการทุกข์แล้ว เห็นแล้ว มันมีอาการแน่นๆ ขึ้นมาที่น่าอก แสดงว่า มันต้องมีอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่แล้วล่ะ เพราะการรู้สึกด้วยสติ ต้องเป็นอะไรที่เบาๆ ไม่แน่น ถ้าแน่น น่าจะเกิดจากการไปเพ่งดูอาการทุกข์ ส่วนตัวแล้วจะปล่อยเลยค่ะ กล้าๆ ใจถึงๆ เห็นก็เห็น ไม่เห็นก็ไม่เห็น เมื่อรู้ทันว่าตัวเองไปเพ่ง ก็รู้ไปซื่อๆ งั้นแหละ

ขอโอกาสช่วยแนะนำด้วยนะคะ


โดย: kaoim IP: 58.10.90.71 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:15:16:21 น.  

 
พอมันไปเห็นอาการไม่ชอบทุกข์ กับ การเข้าไปกระทำกับความทุกข์นั้น บ่อยๆ
เหมือนใจมันเป็นอีกแบบนึงพี่ ไม่รู้จะเรียกว่าไรดี เหมือนมันก็ยังทุกข์อยู่นะ(จากการรู้ไม่ทันจนปรุงจนทุกข์) แต่เหมือนมันจะต่างคนต่างอยู่ สรุปว่า อาการไม่ชอบทุกข์กับการเข้าไปกระทำมันลดน้อยลง หรือแทบไม่มีเลยน่ะคับ

ตอนนี้ผมลงไปที่กายานุปัสสนาฯ บ่อยๆ คับ (รู้อิริยาบถต่างๆ กับลมหายใจ) แต่คงเพราะผมเป็นคนชอบคิด ชอบวิเคราห์ มันก็มันจะตามไปเห้นการหลงคิดได้บ่อยๆ ไปด้วย (แต่ก็ยังไม่ไวเท่าไหร่ คือหลงไปคิดแวปนึงก่อนถึงได้รู้)


ส่วนรูปแบบก็เน้นเดินจงกรมเป็นหลัก เพราะที่ผมลองหลายๆ แบบ ผมเดินแล้วรู้สึกตัวดีสุดเลย จึงทำได้นานสุดด้วย (แต่ระหว่างเดินเหมือนมันไปรู้หลงคิดได้มากกว่าอีก ซึ่งมันก็กลับมารู้ลมหายสลับกับที่กายเดินอยู่บ้าง แต่แปบเดียวก็ไปรู้หลงคิดอีก)

ขอบคุณอีกครั้งคับพี่


โดย: บั๊กคุง IP: 202.41.167.241 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:15:27:38 น.  

 
ขณะความคิดแว็บแรกเกิด..จิตจะรู้เรื่องความคิดนั้น.และหลงไป...พร้อมทั้งผลักออก(ตัณหา)..เกิดทุกข์ขึ้นมาทันที..ขบวนการนี้เร็วมาก

ผู้ที่มีสติ..อาจระลึกได้ตอนเกิดทุกข์แล้ว..(ไม่ทันในช่วงที่จิตหลงในคิดแล้วผลักออก)..จึงเห็นเหมือนว่าความคิดทำให้ทุกข์แต่ความจริงไม่ใช่..ทุกข์เกิดจากตัณหาต่างหาก

ทุกข์คร้งแรกดับไป..แต่ยังเหมือนความทุกข์ยังอยู่นั้นเกิดจากจิตไม่ชอบความทุกข์ที่เกิด..จึงเกิดอาการผลัก..ทำให้เกิดทุกข์ต่ออีก...ซ้ำๆไปเรื่อย

ความทุกข์ที่เกิดเป็นวิบาก...ของตัณหา

รู้แล้วไม่ต้องทำอะไร..การปฏิบัติช่วงนี้เป็นช่วงที่ทรมานและต้องการความอดทนมาก..จิตจะค่อยๆรู้และปล่อยวางไปเอง


โดย: palmgang IP: 119.42.73.152 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:15:28:23 น.  

 
ตอบคุณ kaoim

ถ้าตั้งมั่นดี มันจะแยกตัวอารมณ์ออก เห็นตัวอาการทุกข์อยู่ต่างหาก จิตที่ไปรู้ก็อยู่ต่างหาก ไม่รู้ตรงนี้ถูกหรือไม่ถูกเหมือนกันค่ะ

>>>ตอบ อาการแบบนี้ แสดงว่า การปฏิบัติเริ่มส่งผลให้เห็นแล้วครับ ขออนุโมทนา ที่แสงเริ่มให้เห็นได้บ้างแล้ว
แรก ๆ ของการปฏิบัติ จะเป็นอย่างนี้ถูกต้องแล้วครับ แต่ถ้าต่อไป อาการจิตที่ไปรู้นี้จะจางลงไปเอง รู้ว่ามีอยู่ แต่ไม่เห็นมันเด่นอย่างตอนแรก ๆ ของการปฏิบัติ
ลองอ่านเรื่อง จิตรู้ 2 แบบ ดูครับ

แต่ถ้าอาการทุกข์แล้ว เห็นแล้ว มันมีอาการแน่นๆ ขึ้นมาที่น่าอก

>> ตอบ ถ้าเกิดอย่างนี้ แสดงว่า จิตโดนครอบงำแล้วครับ
คือ สัมมาสติไม่ตั้งมั่นพอ คุณเก้า อย่าทิ้งการฝึกแบบกายานุปัสสนา ขอให้ฝึกต่อไปแบบที่ผมเคยคุยกับคุณไว้เมื่อก่อนนี
ผมแนะว่า ให้ใช้สมถะ ตัดมันทันที อย่าทิ้งไว้นานครับ
หมายเหตุ คำแนะนำนี้ของผมแบบนี้ จะต่างจากพระอาจารย์ท่านอื่นที่สอน ๆ กันอยู่ ดังนั้น ขอให้พิจารณาด้วยปัญญาเอาเองว่า ควรเดินอยางไรต่อไป
ผมมีเหตุผลทีแนะนำอยางนี้ ขอให้อ่านเรื่อง กินให้อ้วน นี่คือเหตุผลของผมอยู่ในนั้น





โดย: นมสิการ วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:16:40:08 น.  

 
ตอบคุณ บั๊กคุง

เมื่อทุกข์เกิด แล้วมีอาการไม่ขอบทุกข์ นี่เป็นกันปรกติ สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ครับ เพราะใจยังไม่เป็นกลาง คือ ไม่เป็นอุเบกขาพอนั้นเอง
แต่เมื่อฝึกมาก ๆ จนจิตตั้งมั่นและเห็นไตรลักษณ์ชองจิตตสังขารบ่อย ๆ ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเข้าใจและเป็นอุเบกขามากขึ้น แล้วอาการชอบใจในสุข หรือ ไม่ชิบใจ ในทุกข์ก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จนหายไปเอง เมื่อจิตเป็นอุเบกขา
แต่ต้องใช้เวลาพอสมควร อาจเป็นปี ถึงเป็นอุเบกขาได้

การเดินจงกรมเป็นสิ่งที่ดี แต่ขอให้แน่ใจว่า เดินด้วยสติ ที่ไมใช่การจ้อง หรือ กดข่ม ใด ๆ แกจิต


โดย: นมสิการ วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:16:44:29 น.  

 
ขอบคุณค่ะ

ถ้าหากว่ารู้ว่าตอนนี้จิตไม่ตั้งมั่น หรือว่า มีอาการแน่นๆ รู้ตัวว่าไปเพ่ง โดยอัตโนมัติเก้าจะสลัดมันทิ้งไปเลยน่ะค่ะ แล้วหันไปทำอย่างอื่นทันที เคาะนิ้ว สลัดแขนสลัดมือ บีบนวด หรือว่าทำอย่างอื่นไปเลย ตอนที่ได้อ่านเรื่องกินแล้วอ้วนน่ะค่ะ นึกขำๆ อยู่ว่า บางวันเราก็อ้วนซะ บางวันก็หุ่นดี 555

ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาเนอะ

ปล.ยังไม่คิดทิ้งกายานุปัสสนาค่ะ เพราะคิดว่าเหมาะกับการรู้การเคลื่อนไหวกายมากกว่าทำสมาธิด้วยวิธีอื่น


โดย: kaoim IP: 58.10.90.142 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:22:04:18 น.  

 
ขอบคุณคับพี่

ตอนที่เริ่มรู้สึกว่ามันอัดๆ แน่นๆ ขึ้นมาเอง (เหมือนมันไปกดๆ เพ่งๆ เอง) ผมก็จะปล่อยๆ ไปพักนึงคับ คือทำนู่นทำนี่ไป และตอนนี้เท่าที่สังเกตดู ที่มันมารู้ลมหายใจให้เองนั้น บางทีมันก็รู้แล้วอึดอัด และเหนื่อย (เหมือนหายใจจนเหนื่อย ตอนนั้นทำอะไรไม่ได้เลย ก็ปล่อยมันรู้หายใจไปก่อน) ผมก็จะปล่อยเช่นกัน แบบเหมือนไม่สนใจมันแล้วหาเรื่องให้จิตไปเกาะอย่างอื่นก่อนสักพัก
มันก็ยังกลับมารู้ลมให้เองเหมือนเคย แต่รู้แบบเบาขึ้นคับ ความอึดอัดก็ลดลง

ข้อสามที่พี่ตอบ ผมก็เห็นตามนั้นเช่นกันคับ มันรู้ต่างกับสภาวะที่รู้แบบมีจิตรู้ที่พี่บอก มาก ซึ่งผมก็อาศัยเวลาว่างฝึกรูปแบบโดยเดินจงกรมที่ถนัดสุด เยอะๆ น่ะคับ แล้วก็จังหวะมือ ส่วนนั่งสมาธิรู้ลมหายใจนี่ ถ้าเป็นไปได้จะพยายามลดไปก่อน เผื่อมันจะไปติดลมแล้วอึดอัดอีกบ่อยๆ น่ะคับ


โดย: บั๊กคุง วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:1:04:46 น.  

 
ตอบคุณ บั๊กคุง

.....แล้วหาเรื่องให้จิตไปเกาะอย่างอื่นก่อนสักพัก...

ถ้าผมตีความหมายผิดไปก็ขออภัย

การปฏิบัตินั้น อย่าให้จิตไปเกาะอะไรครับ เพียงรู้แล้วปล่อย รู้แล้วปล่อย อย่ายึดไว้ อย่าให้มันเกาะสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ ยกเว้นแต่ว่า ตอนนั้น ต้องการกดข่มจิตเพื่อให้จิตมันสลัดทุกข์ทางใจ ทิ้งไป เช่น สมมุติว่า คุณโกรธหัวหน้างานมาก ใจเต็นแรง ก็มันโกรธนี่ คุณต้องสลัดโกรธนี้ทิ้งไปโดยเร็ว คุณอาจไปยึดลมหายใจอย่างเดียวก็ได้ นีเป็นสมถะเพื่อกดข่มจิตให้เย็นลงเพื่อให้มันตลายจากการยึดทุกข์ไว้นั้นเอง

แต่ถ้าในการฝึกในรุปแบบ จิตใจ ตอนนั้นมันไม่มีอะไรที่กลุ้มใจ ก็อย่าไปกดจิตให้มันยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ เพียงฝึกด้วยความรู้สึกตัว สบาย ๆ ไม่ต้องอยากรู้อะไรเลย แต่ให้จิตมันรู้เอง ตามองเห้น หูได้ยิน เวลาเดินจงกรม ก็รู้สึกได้ถึงการไหว ๆ ที่เกิดจากการเดิน ให้ฝึกแบบนี้ แล้วจิตมันจะพัฒนากำลังขึ้นมาเองอย่างช้า ๆ

ที่อธิบายในวิธีฝึก กับการใช้จิดจับยึด มันต่างสถานการณ์ ต่างเวลากัน คิดว่า คงเข้าใจนะครับ




โดย: นมสิการ วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:7:29:56 น.  

 
ตรง "หาเรื่องให้จิตไปเกาะอย่างอื่นก่อนสักพัก"

ผมหมายถึง ตอนที่ผมติดลมหายใจน่ะคับ คือที่เล่าว่า ทุกวันนี้ไม่่ว่าทำอะไรส่วนใหญ่มันจะมารู้ลมหายใจให้เองตลอด ทั้งชีวิตประจำวัน และก็รูปแบบ คือเดินจงกรม มันก็มารู้ลมด้วย ทำจังหวะมือก็มารู้ลม

ตอนแรกมันเหมือนจะดีคับที่ว่า มันเผลอนานๆ ได้น้อยลง เพราะเหมือนมีเครื่องอยู่ แต่บ่อยๆ เข้า มันรู้สึก "เหนื่อย" แปลกๆ น่ะคับพี่ แล้วก็อึดอัดด้วย แบบมันรู้สึกเหนื่อยกับการหายใจเหลือเกิน อะไรยังงี้เลย ผมก็เลยลองหาวิธีแก้โดย หาเรื่องให้จิตไปเกาะอย่างอื่นแทนลมหายใจก่อนสักพักนึง (เฉพาะสถานการณ์แบบนี้เท่านั้นน่ะคับ)

หลังจากอ่าน คำแนะนำของคุณ kaoim กับของพี่แล้ว ก็เลยมาลองสังเกตตัวเองดู ตัวเองอาจจะไปเพ่งลมหายใจโดยไม่รู้ตัว แล้วทำจนชินก็ได้คับ มันเลยรู้สึกอึดอัดและเหนื่อยกับการหายใจขึ้นมา ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ (ไม่ได้มีโรคประจำตัวอะไรนะ)

แต่หลังจากลองเมื่อวานมันก็ดีขึ้นบ้างหน่อยๆ แล้วคับ คือมันยังกลับมาเคยชินกับการรู้ลม เช่นเคย แต่มันเบา นุ่มนวลขึ้น ก็เลยรู้สึกสบายขึ้นไปด้วยน่ะคับ

แต่ไม่แน่ใจว่าแก้แบบนี้ถูกไหม รบกวนพี่ช่วยชี้แนะอีกหนด้วยคับ

ขอบคุณคับ


โดย: บั๊กคุง วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:12:50:23 น.  

 
ถ้ารู้สึกอึดอัด และ เหนื่อย เวลาดูลมหายใจ คงจะเพ่งแล้วครับ คุณบั๊กคุงต้องสังเกตตัวเองว่า เวลาเดินจงกรม หรือ เคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียนนั้น ตาที่มองเห็นภาพนั้น ภาพชัดหรือว่า ภาพมัว ๆ ไม่ชัดครับ ถ้าภาพมัว ๆ ไม่ชัด ก็อาจเพ่งลมแล้วครับ
วิธีแก้การเพ่งเวลาเดินจงกรม หรือ เคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียน ก็ให้ใช้วิธีมองภาพไปที่ไกล ๆ ครับ ภาพจะเห็นได้ชัดอยู่ แตไม่ต้องจ้องอะไรเป็นพิเศษ ส่วนการรับความรู้สึกอื่นๆ จะรู้สึกได้ว่า มันจะเบา ๆ ลงไป หรือ บางทีมันจะเบามาก ๆ บางทีก็รู้สึกไม่ได้เลยก็มีครับ แต่ที้งนี้ ขอให้รู้สึกตัวได้ดีอยู่ ตายังมองเห็น แต่ไม่จ้องอะไร และให้มองไปไกล ๆ อาจมองไปที่ท้องฟ้าก็ได้ หูยังได้บินอยู่
แล้วก็เดินจงกรมไป หรือ เคลื่อนมือไป และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ให้ฝึกด้วยความเฉย ๆ อย่าไปอยากรู้เรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ฝึกสบาย ๆ ครับ ให้เวลากับการฝึกพอสมควร แล้วจิตเขาจะพัฒนาเองอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป

บางทีคนที่ใจร้อน เขาจะรุ้สึกว่า ไม่เห็นได้อะไร นี่เพราะเขาใจร้อน แต่ถ้าใจเย็น เขาได้แน่ แต่เขายังไม่รู้ตัวเอง จนกระทั้ง กำลังที่มันบ่มเพาะไว้นั้นมีมากพอ และแสดงผลออกมาได้เอง นั่นแหละครับ เขาจึงจะรู้ว่า ได้ผลแล้ว


โดย: นมสิการ วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:15:17:34 น.  

 
เท่าที่ลองสังเกต ก็ไม่มัวนะพี่ คือตาก็มองเห็นปกติ (เพราะผมก็มองทางเดินจงกรมอยู่เรื่อยๆ) หูก็ได้ยินแบบรู้เรื่องบ้างไม่ม่รู้บ้าง(ผมชอบเปิดซีดีหลวงอาฯฟังไปด้วย) แล้วก็รู้สึกถึงอะไรที่เคลื่อนอยู่ได้ตอนนั้น หลงไปคิดก็รู้ (ทั้งหมดมันจะสลับไปมาน่ะพี่ แต่ส่วนใหญ่มันจะเห็นการหลงไปคิดมากกว่า)

แล้วก็มันเป็นแทบตลอดทั้งวันเลยน่ะคับ ในชีวิตประจำวันก็เป็น ไม่ใช่เฉพาะตอนฝึกรูปแบบด้วย เพราะเป็นงี้ มันเลยทำให้รู้สึกเหนื่อยกับการหายใจไปเลย ก็เลยหาทางปรับเปลี่ยนดูน่ะคับ

ขอบคุณมากคับ


โดย: บั๊กคุง วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:19:51:10 น.  

 
ตกไปหน่อยนึงคับ
จริงๆ แล้วส่วนใหญ่มันจะไปเห็นการหลงไปคิด กับลมหายใจคับพี่ (แบบมันเกิดแทบจะต่อเนื่องกันเลยเช่น รู้หลงไปคิดแล้วมันสลับไปรู้หายใจเข้า ทันที อะไรทำนองนี้)


โดย: บั๊กคุง วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:19:53:43 น.  

 
อ่านดูแล้ว รู้สึกแปลก ๆ เพราะเหมือนไม่ได้เพ่ง แต่ทำไมรู้สึกอีดอัดและเหนือย ??? หรือ อาจเป็นว่าเกร็งมากไป ??? ผมตอบไม่ได้เหมือนกัน คุณต้องสังเกตตัวเองต่อไปแล้วกัน

....รู้หลงไปคิดแล้วมันสลับไปรู้หายใจเข้า ทันที อะไรทำนองนี้...
แบบนี้ รู้ว่าหลงไปได้เร็ว นี่ดีมากครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:0:59:40 น.  

 
ขออนุญาต ขอโอกาสนะคะ

คุณบั๊กคุงลองเเปลี่ยนไปเดินเล่นๆ ชมธรรมชาตินอกบ้านแทนดีไหมคะ (ชมสวน หรือเปลี่ยนไปเดินในสนามหญ้าก็ได้ถ้ามี) เก้าว่า คุณบั๊ค มีความอยากของการปฏิบัติอยู่ด้วย เวลาเราคิดว่า ต่อไปนี้เราจะเดินจงกรมแล้วนะ เนี่ยมันมีความอยากนำมาก่อน

หรือไม่ลองไปเดินเล่นๆ ในห้างดูบ้างสิคะ ตอนนั้นเก้าไปเรียนกับคุณนมสิการ เดินทำความรู้สึกตัวในห้างเนี่ยแหละ จะได้ไม่รู้สึกเหมือนว่าเราถูกบังคับเดินอยู่ในทางจงกรม ปล่อยให้ได้สัมผัสทั้งหู ตา จมูก กาย ใจ


โดย: kaoim IP: 58.10.90.184 วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:7:52:00 น.  

 

อนุโมทนาในความเห็นของคุณเก้าอิมครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:8:47:47 น.  

 
ขอบคุณพี่นมสิการและคุณเก้ามากๆ คับ

ผมคงต้องสังเกตตัวเองให้มากขึ้น และอาจจะลองผิดลองถูกไปก่อนน่ะคับ บางทีอาจจะเป็นสิ่งที่ผมสร้างขึ้นมาเอง แล้วมันก็เป็นปัญหาเอง

สวัสดีคับคุณเก้า
จะบอกว่ามีความอยากมั้ย มันก็มีบ้างนะคับ ความรู้สึกมันก้ำกึ่งน่ะคับ (แบบบางที ก็รู้ทันว่าอยากปฎิบัติ)
อย่างเดินธรรมดา เดินขึ้นลงบันได หรือตอนที่ผมเดินออกไปข้างนอก เดินไปเรียน ไรยังงี้ ผมก็รู้สึกตัวนะคับ (แต่อาจจะรู้ได้ไม่ดี เท่าตอนเดินจงกรม) บางที ผมก็ประหยัดค่ารถโดยการเดินเข้าซอยบ้าน เดินไปรู้สีกตัวไป หรือเวลาเดินไปส่งเพื่อนที่หอไกลๆ ผมก็เดินไปรู้สึกตัวไป เพื่อนผมก็แปลกใจว่า ผมไม่เหนื่อย หรือเบื่อ หรือกลัวบ้างเหรอ ผมก็บอกว่า ก็มีบ้าง แต่ถ้าเดินไปรู้สีกตัวไป มันก็ไม่ได้ทำให้สิ่งเหล่านั้นมันทำอะไรใจได้เท่าไหร่


แต่ตอนนี้ อาการชอบมาติดลมหายใจ แล้วเหนื่อยๆ หรืออึดอัด มันเริ่มลดลงแล้วล่ะคับ คือผมได้ลองแก้โดยการ ถ้ามันเกิดอาการแบบนั้นอีก ผมจะไปทำอะไร ให้จิตมันไปสนใจกับเรื่องนั้นๆ สักพักนึง พอกลับมาปกติ มันเบาขึ้นคับ แต่ก็ต้องดูต่อไปเรื่อยๆ ก่อน


โดย: บั๊กคุง วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:10:26:58 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:19:28:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.