รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
21 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
อาการหลงคิด แล้วรู้เรื่องที่คิด นี่ถูกหรือเปล่า

มีคำถามจากนักปฏิบัติมาดังนี้

ข้อที่ 1 ถามว่า

ผมสงสัยว่า หลายครั้งที่ผมรู้ถึงอาการหลงไปคิด แต่มันรู้ถึงเนื้อหาข้างในด้วย (แต่แค่ช่วงเดียวเพราะมันขาด) ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะรู้ถูก เพราะมันแตกต่างชัดเจนระหว่าง ตอนคิด (อยู่ในโลกความคิด) กับตอนรู้ว่าคิด คือตอนคิด นั้นจะไม่รู้อะไรเลยนอกจากสิ่งที่มีอยู่ในโลกความคิด

การที่ผมรู้ว่าคิด แต่รู้ถึงเนื้อหาของมันช่วงนึง (แบบประโยคนึง) คือเพราะจิตรู้ยังไม่เกิด หรือผมหลงไปคิดครั้งใหม่แล้วครับ ?

...............................................

ความเห็นของผม.....

การหลงคิดนั้น ก็คือ การคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิด แต่เกิดจากจิตมันคิดขึ้นมา แล้ว คนๆ นั้นก็เข้าไปในความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดนั้นทันที

เมื่อนักปฏิบัติเกิดหลงคิดไปนั้น หรือ บางพระอาจารย์เรียกว่า การเข้าไปในความคิด หรือ บ้างก็เรียกว่า จิตส่งใน หรือ บ้างก็เรียกว่า การลักคิด หรือ ใจลอย หรือ อะไรก็แล้วแต่ การหลงคิดนั้น จะมีอาการอย่างเดียวกันก็คือ ขาดการรู้สึกตัว ครับ ให้สังเกตตัวเองดูง่าย ๆ ก็ได้ เมื่อใจลอย จิตใจจะไหลจมไปกับเรื่องที่คิด บางที่ เมื่อหลงคิดอยู่ มีคนมาเรียกอยู่ข้าง ๆ ตัวเลย ก็ยังไม่ได้ยินเลย

สำหรับ นักปฏิบัติ ที่พอหลงคิดเข้าไปสักครู่ ก็หลุดออกมาจากความคิดได้
นี่เป็นสิ่งที่ดีครับที่หลุดออกมาจากการหลงคิดได้เร็ว ไม่ค้างอยู่ในความคิดนาน ๆ ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อหลงคิด ก็ต้องรู้เรื่องที่คิดครับ แต่เมื่อหลงคิด นักปฏิบัติจะรู้ทีหลังตามมาว่า เมื่อกี้หลงคิดไป แต่เขา .ไม่เห็นความคิดตอนขณะเกิดขึ้นครับ

ยังมีอีกประการหนึ่ง สำหรับนักปฏิบัติที่.จิตรู้.เกิดแล้ว เมื่อความคิดที่ไม่ตั้งใจคิดโผล่มาทันที .จิตรู้.จะเห็นความคิดโผล่มา ก็คือ เห็นความคิดได้เกิดขึ้นแล้ว ทีนี้ก็มีเหตุการณ์เกิด 2 แบบครับ

แบบที่ 1 จะเกิดกับนักปฏิบัติที่มีกำลังความตั่งมั่นแห่งสัมมาสมาธิในระดับที่ดีมาก ๆ และกำลีงแห่งสัมมาสติ นั้นเร็วมาก ๆ พอความคิดที่ไม่ตั้งใจคิดเกิดขึ้น จิตรู้ของเขาจะเห็นความคิดเกิดขึ้นทันที และเมื่อเห็นแล้ว ความคิดที่เกิดนั้น ก็จะดับลงไปทันทีอย่างรวดเร็ว มันเร็วมาก ๆ เพราะความคิดที่เกิดนั้นจะยังเป็นเพียงการเริ่มไหวตัวของจิตเท่านั้นเอง มันก็ดับไปแล้ว เพราะจิตรู้เขามีกำลังสูงและรวดเร็วมาก ถ้าเป็นแบบนี้ นักปฏิบัติท่านนี้ จะไม่รู้ครับว่า เมื่อกี้จิตที่ไหวนั้น มันไปคิดเรื่องอะไร เขาเพียงแต่รุ้ว่า มีการไหวของจิต แต่ไม่รุ้เรื่องว่าไหวเรื่องอะไร คือไม่รู้ว่าที่เกิดความคิดนั้นเป็นความคิดเรื่องอะไร

แบบที่ 2 สำหรับนักปฏิบัติที่มีจิตรู้เกิด แต่กำลังสัมมาสมาธิยังไม่แข็งแกร่งและรวดเร็วมาก ๆ ดังแบบที่ 1 เมื่อความคิดที่ไม่ตั้งใจคิดเกิดขึ้น จิตรู้จะเห็นว่ามีความคิดเกิดขึ้นแล้ว และความคิดที่เกิดนั้นยังเกิดอยู่ต่อเนื่องได้อยู่ อาจเป็นเวลาสั้น ๆ สัก 0.5 วินาที หรือ อาจนานกว่านานกว่านั้น แล้วความคิดจึงหยุดลงไป จิตรู้ จะเห็น ความคิดเกิดขึ้น เห็นความคิดนั้นตั้งอยู่ เห็นความคิดนั้นหยุดลงไปเอง เนื่องจาก ความคิดที่เกิดนั้นแล้วและเกิดตั้งอยู่นานมากพอที่นักปฏิบัติ จะรู้ได้ว่า ความคิดที่เกิดขึ้นนั้น มันเป็นความคิดที่เกียวกับเรื่องอะไร ซึ่งนักปฏิบัติที่ผ่านการฝึกฝนมา ต้องผ่านแบบที่ 2 นี้ก่อนเสมอ และเมื่อมีการพัฒนากำลังแห่ง สติสัมปชัญญะมากขึ้น ก็จะยกระดับไปสู่แบบที่ 1 ได้เอง แต่ก็ต้องฝึกฝนอย่างมากเช่นกัน จึงจะยกระดับไปได้

..........
สรุป ก็คือ การหลงคิดและรู้เรื่องที่คิดนั้น จะเกิดกับนักปฏิบัติที่ .จิตรู้. ยังไม่แข็งแกร่งพอ หรือว่า เกิดจาก นักปฏิบัติที่จิตรู้ ยังไม่เกิด ครับ แต่ผมแนะนำว่า นักปฏิบัติทุก ๆ คนต้องผ่านด่านการหลงคิดนี้เสมอ มันจะเป็นประสบการณ์เองของนักปฏิบัติ อย่าได้กังวลกับมันมากครับ เด็ก ๆ เล็ก ๆ ที่หัดขี่จักรยานใหม่ ๆ ก็ต้องมีล้มกันทุกคน แต่ถ้าเด็กนั้นขยันหัดขี่จักรยาน เมื่อชำนาญ เขาก็จะล้มน้อยลง หรือ ไม่ล้มอีกเลย การปฏิบัติก็เช่นกัน ทำใจให้สบาย เมื่อหลงคิดไป บ่อย ๆ ก็เริ่มใหม่ครับ ฝึกไปเรื่อย ๆ สักวัน ก็จะหลงคิดน้อยลงไปเอง
/////////////////////////////////////////////////

ข้อที่ 2 ถามว่า

ทำไมนักปฏิบัติบางคน ที่ดูเหมือน ปฏิบัติได้ดีแล้ว เข้าใจวิปัสสนาแล้ว แต่เห็นมีคำพูดจาแปลกๆ เช่น ไม่แคร์พุทธพจน์บ้าง รู้วิธีควบคุมความคิดบ้าง ฯลฯ
อยากถามพี่ว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ซึ่งเมื่อก่อนผมก็คิดไปถึงว่า นักปฏิบัติที่แสดงวิปัสสนาได้แล้วจะมีสังโยชน์ขาดแล้วด้วยหรือปล่าว

ความเห็นของผม....
การปฏิบัตินั้น เป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตนครับ คนบางคนก็แสดงว่า รู้อะไรมากในการปฏิบัติที่เป็นการรู้จริง ๆ ก็มีมาก ที่รู้ไม่จริงแต่เอามาจากตำรา หรือ จำเขามาก็มีมากครับ

นิสัยคนไม่เหมือนกัน นักปฏิบัติบางคน ก็ไม่สนใจด้านทฤษฏีในตำราเลย มุ่งหน้าแต่ปฏิบัติอย่างเดียว หรือ ที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เลย เขาอาจเรียนรู้เทคนิคการปฏิบัติจากครูบาอาจารย์มา เมื่อเข้าใจ ก็ลงมือลุยทันที ผิดถูกก็ไปแก้เอาเอง คนพวกนี้ก็มีมากครับ

บางพวก ก็ต้องเรียนรู้ควบคุ่ไปจากตำรา จากการปฏิบัติเอง แล้วเทียบกับตำรา

บางพวก ก็เรียนตำราอย่างเดียว ไม่สนใจการปฏิบัติเลย

ผมแนะนำว่า อย่าไปสนใจใครว่า นักปฏิบัติท่านใหน ถึงระดับไหนแล้ว
ถึงแม้ว่า เขาจะไม่เคยปฏิบัติมาเลย แต่ถ้าเขาจำตำราได้แม่นยำ เขาก็อาจช่วยแนะนำนักปฏิบัตอย่างเรา ๆ ได้ ดูตัวอย่างในพระไตรปิฏก เรื่อง พระตุจโฉโปฏฐิ หรือ พระใบลานเปล่า ที่เก่งมากในตำราความรู้ ทีสอนลูกศิษย์เป็นพระอรหันต์มากมาย จนสุดท้าย ต้องให้ลูกศิษย์ที่เป็นเณรมาสอนการปฏิบัติให้ จึงสำเร็จเป็นอรหันต์ได้

ในส่วนตัวผมเองนั้น ผมศีกษาการปฏิบัติมาจากหลายสำนัก ผมก็นำความรุ้ที่ได้มาจากสำนักนี้บ้าง สำนักโน้นบ้าง มาทดลองเอง ดัดแปลงเอง สอบทานกับคนอื่นบ้าง จากตำราบ้าง ก็ทำให้ได้ความรู้จากการปฏิบัติขึ้นมา

เรื่องสังโยชน์ก็เช่นกัน เป็นความรู้เฉพาะตน ไม่อาจเดาใครได้เลยว่าใครเป็นอย่างไร ถึงแค่ไหน

คุณอาจจะอยากรู้ว่า ทำไมคนบางคนบรรลุเร็ว บางคนบรรลุช้า เรื่องเร็วช้า นี่ก็บอกกันอยากครับ มันมีเหตุเกี่ยวเนืองกันมาก แต่ในพระไตรปิฏก ก็มีการเขียนไว้แล้วว่า ถ้าปฏิบัต สติปัฏฐาน 4 อย่างต่อเนื่อง อย่างเร็ว 7 วัน อย่างกลาง 7 เดือน อย่างช้า 7 ปี ต้องสำเร็จอาจเป็นอนาคามี หรือ เป็นพระอรหันต์เลยก็ได้

การปฏิบัตินั้น ขอเพียงแต่ว่า ให้มีการพัฒนาเรื่อง ความรู้สึกตัวและเห็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะหนึ่ง ๆ อย่างสด ๆ ที่เห็นที่รู่ได้ด้วยตนเอง ถึงแม้จะช้า แต่เราก็รู้ได้เอง ก็แสดงได้ว่า เรามีความก้าวหน้าในการปฏิบัติแล้ว ยิ่งถ้ารู้สึกตัวได้มั่นคงมากเท่าใด ทุกข์ก็ยิ่งจะห่างไกลมากเท่านั้น นี่คือผลจากการพากเพียร ฝึกฝน ครับ ขอให้ยึดหลักนี้ไว้ อย่าได้ไปเปรียบเทียบกับคนโน่นคนนี่ มันเทียบกันไม่ได้ครับ ขอเพียงเราไม่ทุกข์ใจ ก็ประเสริฐแล้วครับ


Create Date : 21 สิงหาคม 2552
Last Update : 29 มกราคม 2555 19:31:12 น. 2 comments
Counter : 1004 Pageviews.

 
อ่านแล้ว รู้สึกแม้จะต้องเดินอีกนานแสนนาน แต่ก็อบอุ่น แชมชื่นเสมอเลยคับ

ขอบคุณพี่มาก


โดย: บั๊กคุง IP: 58.8.87.118 วันที่: 21 สิงหาคม 2552 เวลา:20:02:48 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:19:31:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.