<<
มกราคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
4 มกราคม 2553

ธรรมเนียมนิยม ล็อบบี้ กับการซื้อ-ขายตำแหน่ง

โดย ศรัณย์ ธิติลักษณ์
ศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


บนเงื่อนไขของสังคมแบบอุปถัมภ์ (patronage) ธรรมเนียมนิยมแบบไทยๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทุกปี มักมีธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีของสังคมไทย คือ การเข้าไปกราบไหว้ขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ หรือ เข้าไปเยี่ยมหาถามไถ่ทุกข์-สุขของบุคคลที่มีความเคารพต่อกัน วัตรปฏิบัติเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม และสมควรที่จะสืบสานให้มีกันต่อไปในระบบสังคม อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกแง่มุมหนึ่งที่ธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นสิ่งที่ดีงามอยู่แล้วในระบบ ได้ถูกบิดเบือนจากคนบางกลุ่มพวก โดยการใช้วัตรปฏิบัตินี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแสวงหาผลประโยชน์แอบแฝง (ทั้งในเชิงพฤติกรรมและในเชิงวัตถุ) สร้างเงื่อนไข และใช้วาทกรรมนี้เป็นยุทธวิธี (tactics) ในการที่ทำให้ตนได้มาซึ่งผลประโยชน์ บนความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนทั้งในแนวดิ่งหรือแนวราบ


ซึ่งมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดเงื่อนไขของการ บิดเบือนมาจากปรากฏการณ์ของสังคมที่ว่า ในสังคมพหุนิยมที่มีบุคคล/กลุ่มบุคคลหลากหลายที่ต่างต้องทำการแข่งขันต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ตอบแทนตามที่ตนต้องการ (ทั้งที่อยู่ในรูปของการมีอำนาจหรือเงินตราก็ตาม) โดยทั่วไปแล้วมักจะมีการต่อสู้กันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ตอบแทนดัง กล่าว บุคคลอาจสามารถทำได้สำเร็จ ในขณะที่บางกลุ่มอาจพบแต่ความล้มเหลว ซึ่งความสำเร็จหรือล้มเหลวที่ได้มานี้ หากมองแบบกว้างๆ อาจมองได้ว่ามาจากกระบวนการทำงานของบุคคล ที่ลงทุนลงแรง ทุ่มเท และตั้งใจลงมือทำงานด้วยความสามารถ แต่ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่มองว่า การได้มาซึ่งความสำเร็จไม่ได้มาด้วยความอดทนทำงานอย่างเดียว แต่หากต้องใช้กระบวนการหรือยุทธวิธี ที่เรียกว่า "การล็อบบี้" (LOBBY) มาเป็นส่วนประกอบ จึงจะทำให้สามารถบรรลุผลประโยชน์ของตนได้อย่างรวดเร็วขึ้น


ในทางวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองเรียกวิธี การนี้ว่าเป็นรูปแบบของ "การแสวงหาค่าเช่า" (rent seeking) ซึ่ง Mushtaq H. Khan หมายถึง การกระทำที่จะพยายามจะสร้าง รักษา หรือแลกเปลี่ยนสิทธิและสถาบันอันเป็นรากฐานของค่าเช่าแต่ละประเภท โดยวิธีการทั้งที่ผิดกฎหมาย อาทิเช่น การให้สินบน และการบีบบังคับด้วยกำลัง และวิธีการที่ถูกกฎหมาย อาทิเช่น การวิ่งเต้น การให้ของกำนัลที่มีมูลค่า เป็นต้น ทั้งนี้ สอดคล้องกับวิธีการดำเนินการทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งมักมียุทธวิธี (tactics) ดังนี้ คือ


1. การล็อบบี้โดยตรง (Direct lobbying techniques) ซึ่งมักใช้วิธีการดังนี้ คือ การคอยทำการพบปะกันเป็นส่วนตัว (Making Personal Contacts) ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การทำตัวให้เป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวเดียวกัน การพยายามชักจูงหว่านล้อม เพื่อให้ทำตามที่ตนต้องการ การจ่ายผลประโยชน์ในรูปเงินหรือผลประโยชน์อื่นที่มีคุณค่าต่อผู้รับ


2. การล็อบบี้ทางอ้อม (Indirect lobbying techniques) ซึ่งมักใช้วิธีการดังนี้ คือ การระดมมวลชน การสร้างหรือก่อมติมหาชน หรือการสร้างพันธมิตรหรือแนวร่วม เป็นต้น


ดังนี้แล้ว การบิดเบือนปรากฏการณ์ของสังคมอันดีงาม ให้กลายเป็นประโยชน์ส่วนตัวด้วยการสร้างเงื่อนไขของผลประโยชน์ตอบแทนตามที่ ตนต้องการ จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นการต่อรองและแสวงหาผลประโยชน์เชิงแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ทั้งในรูปแบบของการตรวจสำรวจความภักดี/บารมีทางการเมืองว่ายังคงเป็นผู้ทรง อิทธิพลอยู่หรือไม่ หรือการส่งมอบ-รับของกำนัลจากส่วยประจำปีที่แนบเนียนของบางองค์กร รวมถึงการเช็คชื่อผู้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องให้การสนับสนุนหรือเสนอตัว เพื่อรับการสนับสนุนในอนาคต (รายงานตัวเพื่อวิ่งเต้นเอาตำแหน่ง) ซึ่งทั้งหมดนี้ หากมองแบบผู้มองโลกในแง่ร้าย ก็คือ การใช้ระบบอุปถัมภ์เพื่อประโยชน์ส่วนตนนั่นเอง ซึ่งเทคนิคนี้ทราบมาว่าใช้กันมากที่สุดในตอนปลายปีโดยเฉพาะวงการราชการ เพราะเป็นทั้งโอกาสของการแสดงความขอบคุณ (หลังเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในปีงบประมาณ) และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว (Personal Contacts) อันหมายถึงโอกาสในตำแหน่งหน้าที่ในปีต่อไป ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ปัจจุบันกลายเป็นต้นเหตุที่สำคัญของการคอร์รัปชันในระบบ ราชการไทยโดยเฉพาะประเด็นของการคอร์รัปชันในการซื้อขายตำแหน่งในระบบไปแล้ว


อย่างไรก็ตาม เราอาจสบายใจได้ในระดับหนึ่ง เพราะผู้เขียนได้ทราบมา ว่า ขณะนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการและพลเรือน และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีการพิจารณาในเรื่องของการคอร์รัปชันในการซื้อขายตำแหน่งในระบบราชการ ทั้งระบบโดยเน้นการพิจารณาเฉพาะในส่วนของข้าราชการระดับสูงเป็นอันดับแรก ก่อน ทั้งนี้ ได้มีการจัดงานการสัมมนาระดมความคิดเห็นจากบรรดาข้าราชการ หน่วยงานราชการ องค์กรอิสระ และได้รับแนวคิดจากอดีตข้าราชการระดับสูงผู้มีประสบการณ์ตรง จนได้มาตรการที่เป็นรูปธรรมในระดับหนึ่งแล้ว และผู้เขียนคาดว่าในปีหน้าเมื่อมาตรการถูกนำไปปฏิบัติจริงแล้ว ก็น่าจะมีผลกระทบในระดับหนึ่งสำหรับผู้ที่คิดจะคอร์รัปชันด้วยวิธีการนี้


สุดท้ายนี้ ในนามของตัวแทนผู้เขียนในคอลัมน์ "ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชัน" ทุกท่าน ขอขอบคุณท่านผู้อ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ผู้ติดตามอ่านคอลัมน์ "ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชัน" ทุกๆ ท่าน ที่กรุณาให้คำติชม ทั้งยังได้ให้ทัศนะวิจารณ์ในมุมมองที่หลากหลาย อันเกี่ยวกับการพัฒนาการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อให้มีขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น และในวารดิถีปีใหม่นี้ ผู้เขียนคอลัมน์นี้ทุกท่าน ขออัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย และพรอันประเสริฐ จงได้สถิตและอำนวยพรแด่ทุกท่าน ด้วยเทอญ



ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ




Create Date : 04 มกราคม 2553
Last Update : 4 มกราคม 2553 11:37:43 น. 1 comments
Counter : 367 Pageviews.  

 
ได้ความรู้เพียบเลยค่ะ

แต้งกิ้วหลาย


โดย: pumaka วันที่: 4 มกราคม 2553 เวลา:15:21:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

good governance
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add good governance's blog to your web]