<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
27 พฤษภาคม 2552

ธรรมาภิบาลกับ "รองเท้าบิน"

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาข่าวชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในการรายงานข่าวของสื่อมวลชนทั่วโลก เป็นข่าวเล็กๆเกี่ยวกับการไล่และขว้างปารองเท้าใส่คณะผู้บริหารของธนาคารฟอร์ทิส ที่ประเทศเบลเยียม พร้อมกับเรียกร้องให้กรรมการลาออก เพราะผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งไม่พอใจกับการตัดสินใจของกรรมการที่ให้ขายธนาคารนี้ไปให้แก่กิจการธนาคารบีเอ็นพี เพริบาส ของฝรั่งเศส

แม้ว่าในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากจะลงมติด้วยคะแนนเสียงมากกว่า 75 % ให้มีการขายกิจการดังกล่าวตามข้อเสนอของคณะผู้บริหารก็ตาม แต่ผู้บริหารกลับต้องเจอกับ "รองเท้าบิน" จากผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อย

คำถามก็คือขบวนการรองเท้าบินมาจากไหน? ผู้เขียนตั้งข้อสงสัยว่า กรณีนี้อาจเกี่ยวโยงกับอิทธิพลและผลสะเทือนระหว่างประเทศจากการขว้างรองเท้าของนักข่าวชาวอิรักต่อ นายจอร์จ บุช ในการแถลงข่าวอำลาตำแหน่งประธานาธิบดีที่ประเทศอิรักเมื่อปลายปีที่แล้ว

ผลสะเทือนทั่วโลกจากรองเท้าบินเพียงหนึ่งคู่ ได้เกิดการเลียนแบบต่อมาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดยมีการขว้างรองเท้าใส่ประธานาธิบดี หู จิน เทา ของจีนในการแถลงข่าวเยือนประเทศอังกฤษ

พัฒนาการรูปแบบการปาสิ่งของเข้าใส่บุคคลสาธารณะที่แสดงออกถึงการต่อต้านและขับไล่นี้ แต่ก่อนเราอาจจะคุ้นเคยกับการปามะเขือเทศ หรือไข่ในต่างประเทศ หรือในกรณีของประเทศไทยก็เคยมีการปาอุจจาระใส่ คุณอุทัย พิมพ์ใจชน รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ในขณะนั้น และการปาไข่ใส่ คุณชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีในการไปลงสนามช่วยหาเสียงให้กับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่จังหวัดลำพูนและลำปางในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อคราวที่แล้ว โดยที่เรื่องเหล่านี้เป็นการแสดงออกถึงความไม่พอใจหรือแสดงความเป็นปรปักษ์ทางการเมือง แต่ภาคปฏิบัติการของการปารองเท้าในครั้งนี้ (แม้ว่าจะเกิดขึ้นที่เบลเยียมก็ตาม) เป็นการแสดงออกด้วยปฏิกิริยาที่ค่อนข้างก้าวร้าว และไม่ใคร่เป็นที่นิยมปฏิบัติกันก่อนหน้านี้ เกิดในภาคส่วนกิจการเอกชน

ผมอยากตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้ไหมที่การแสดงออกในการต่อต้านแบบนี้ได้รุกล้ำจากพื้นที่ทางการเมืองไปยังพื้นที่ที่เป็นการบริหารในภาคธุรกิจเอกชน โดยทั้งสองพื้นที่ข้างต้นนั้นเป็นการกระทำที่มาจากภาคประชาสังคม หรืออาจจะพูดอีกแบบหนึ่งว่า ภาคประชาสังคมได้ใช้เครื่องมือในทางการเมือง ที่เป็นเครื่องมือในทางตรง ไปใช้ปฏิบัติการในภาคส่วนอื่นที่เป็นชีวิตประจำวัน

ประเด็นต่อมาก็คือภาคธุรกิจในบ้านเรา เท่าที่เคยมีการแสดงออกถึงความไม่พอใจของผู้ถือหุ้นรายย่อย ต่อการประชุมใหญ่ของ อสมท.ที่ไม่เห็นด้วยต่อการแต่งตั้งบอร์ดเพิ่มเติมเมื่อปลายปี 2551 ที่ผ่านมา ก็เป็นเพียงแค่การ ?วอล์คเอาท์? ออกจากที่ประชุมและเปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเป็นการตอบโต้ ซึ่งก็เกิดผลในทางปฏิบัติที่จะหยุดยั้ง หรือชะลอการตัดสินใจของที่ประชุมไว้ได้

แต่หากพิจารณากันต่อไปก็จะพบว่า ท่ามกลางการก่อการที่เป็นปฏิบัติการทางการเมืองของทั้งฝ่ายเสื้อเหลือง-พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมกับเครือข่ายฝ่ายเสื้อแดง-แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อขับไล่เผด็จการแห่งชาติ ที่ต่างฝ่ายต่างก็จัดสร้างเครือข่ายกลุ่มพลังทางการเมืองทั้งในระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กับระบบประชาธิปไตยทางตรง โดยการเคลื่อนไหวแบบการชุมนุมมวลชนขนาดใหญ่ ตั้งแต่ปี 2548 เรื่อยมาจนปัจจุบัน ก็อาจจะเป็นการสะสมที่ยาวนานเพียงพอต่อการสร้างผลสะเทือนและขยายผลข้ามเขตแดนของพื้นที่ทางการเมือง ไปยังพื้นที่ของการดำเนินธุรกิจ เพราะฉะนั้นภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนไทยควรต้องระมัดระวังตั้งแต่นี้เป็นต้นไปในการจัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชน เพราะพัฒนาการการเลียนแบบรองเท้าบินแบบที่เกิดขึ้นกับธนาคารฟอร์ทิสของเบลเยียมที่กล่าวถึงข้างต้นอาจจะมาถึงประเทศไทยได้เหมือนกัน เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวมีต้นทุนในการดำเนินการค่อนข้างต่ำ แต่กลับมีผลสะเทือนทางสังคมค่อนข้างสูง เพราะทำให้กรรมการบริษัทได้รับความอับอายขายหน้าโดยที่ไม่สามารถอธิบายกับสังคมได้

แท้ที่จริงแล้วการเคลื่อนตัวของภาคประชาสังคมที่ปะทะกับกิจการเอกชน ในบ้านเรานั้น เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้โดยต่อเนื่องมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการเอกชนขนาดใหญ่หรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยที่มีพัฒนาการที่ต่อเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวในการชุมนุมในทางการเมือง ซึ่งเป็นภาคปฏิบัติการที่ก่อการขึ้นมาจากภาคประชาสังคม เช่นกัน

อนึ่ง ปฏิบัติการที่ต่อต้านต่อการดำเนินการของเอกชนนั้น หรือสินค้า หรือยี่ห้อสินค้าต่างๆในโลกทุนนิยมนั้น ก็เกิดขึ้นและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้วเช่นกัน แต่การแสดงออกหรือภาคปฏิบัติการไม่ได้แสดงออกมาในลักษณะของการชุมนุมมวลชนขนาดใหญ่ แต่จะเป็นการแสดงออกในเชิงการสร้างสัญลักษณ์ ในการบอยคอต หรืออย่างมากก็เป็นการแสดงออกล้อเลียนที่เรียกในภาษาโฆษณาว่า cultural jamming ที่เรามักจะเห็นเป็นการล้อเลียนโฆษณาของยี่ห้อดังๆ โดยเฉพาะของต่างประเทศ

ผมยังไม่แน่ใจว่าโลกได้ก้าวมาถึง ณ จุดที่เครื่องมือที่แสดงออกถึงความเป็นปรปักษ์หรือความไม่พอใจทางการเมืองจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จะระบายความโกธรแค้นในโลกของธุรกิจแล้วหรือไม่ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมรองเท้าบินต่อที่ประชุมบริษัทมหาชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ การทำแผนธรรมาภิบาลและทำแผนการควบคุมคอร์รัปชันด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง รวมทั้งการรายงานผลการดำเนินงานอย่างตรงไปตรงมา และที่สามารถตรวจสอบได้จริง อาจช่วยควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกถึงความไม่พอใจอย่างรุนแรงของผู้ถือหุ้นบางส่วนได้

โดย รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาล


Create Date : 27 พฤษภาคม 2552
Last Update : 27 พฤษภาคม 2552 11:16:48 น. 0 comments
Counter : 334 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

good governance
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add good governance's blog to your web]