<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
25 สิงหาคม 2552

เกิดอะไรขึ้นที่มาบตาพุด

โดย สังศิต พิริยะรังสรรค์ โครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

เกิดอะไรขึ้นที่มาบตาพุด?

เป็นคำถามที่หลายฝ่ายได้ถามกับภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดขึ้นเพื่อรองรับการใช้ประโยชน์จากแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยในปี 2523

คำถามข้างต้นถี่ขึ้นและมีเสียงดังมากขึ้นตามลำดับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ภาครัฐตกอยู่ในภาวะที่ตั้งรับแบบกระท่อนกระแท่น ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ

ที่พูดเช่นนี้ได้ก็เพราะมีกรณีที่เทศบาลเมืองมาบตาพุดฟ้องการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นคดีต่อศาลปกครองในกรณีอนุญาตให้มีการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยการอนุมัติของ กนอ. โดยศาลปกครองมีคำสั่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 ให้ กนอ.ชำระค่าตอบแทนต่อเทศบาลเมืองมาบตาพุดเป็นเงินจำนวนมากถึง 400 ล้านบาท เป็นความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันที่ไม่ไปด้วยกัน หรือไปไม่พร้อมกันขององคาพยพของรัฐระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น

ปี 2549 (25 ปีหลังจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก) ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เรียกร้องให้ยกเลิกการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระยะที่ 3 ของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก

และต่อมาก็ได้มีการยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ให้ภาครัฐประกาศให้พื้นที่ของมาบตาพุดและเมืองระยองบางส่วน เป็นเขตควบคุมมลพิษตามแนวทางของกฎหมายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 ในเรื่องนี้ศาลปกครองก็ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 ให้ท้องที่ของเทศบาลเมืองมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง เป็นเขตควบคุมมลพิษ ตามมาตรา 59 ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม 2535

กรณีนี้ก็เป็นการสะท้อนการไม่ไปด้วยกันของภาครัฐ/ภาคนอกรัฐ ที่ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า มีการดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนในการดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชนแล้ว (ผ่านอีไอเอแล้ว/มีการดำเนินการตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนของอีไอเอแล้ว)

อีกฝ่ายหนึ่งมีคำถามว่า ทำไมจึงมีการเจ็บป่วยและความเดือดร้อนของชุมชนโดยรอบอยู่เนืองๆ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นการสะท้อนการไม่เชื่อมั่นในมาตรการหรือกลไกที่รัฐกำกับดูแล

เป็นการแสดงออกถึงความต้องการที่จะขอเข้ามามีส่วนร่วม (Part-Taking) ในการจัดการในเรื่องนี้ เป็นการแสดงออกโดยทางตรง โดยผู้แทนของชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนนั้นๆ โดยไม่อาศัยบทบาทหรือสถานะของผู้แทนในระบบการเมืองที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. ส.ว. ส.ท. ส.อบต. หรือตัวแทนประเภทใดก็แล้วแต่ที่มีอยู่แต่เดิม

เป็นลักษณะการแสดงออกทางการเมืองแบบทางตรง (Direct Democracy) โดยใช้ช่องทางหรือกลไกอื่นของรัฐที่มีอยู่ในที่นี้คือศาลปกครอง ที่ตนเองสามารถใช้การได้โดยตนเอง

ในขณะที่ก่อนหน้านี้มีการดำเนินการตามวิถีการเรียกร้องให้นับรวมเอาปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหารจัดการประเทศ ตามครรลองของการเมืองภาคพลเมืองโดยการชุมนุม โดยการขัดขวาง โดยการล้อเลียน ฯลฯ

ล่าสุด 19 มิถุนายน 2552 สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนได้ฟ้องคดีต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรี 5 กระทรวง ประกอบด้วยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้ง กนอ. เพื่อเรียกร้องให้การพิจารณาอนุมัติอีไอเอเป็นไปตามความในมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ที่กำหนดให้องค์กรอิสระที่มีผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มาให้ความเห็นรองรับก่อนจะมีการดำเนินการความก้าวหน้า

ในเรื่องนี้ศาลปกครองมีคำสั่งให้คู่กรณีไปจัดทำแผนที่ตั้งโรงงานทั้ง 76 โรงงาน ว่ามีที่ตั้งอยู่ที่ใดและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างไร ก่อนที่ศาลจะมีดุลพินิจสั่งการ

ประเด็นปัญหาทั้ง 3 กรณีข้างต้นนั้นห้อมล้อมอยู่กับการบริหารจัดการของภาครัฐเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาอนุมัติการจัดทำมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกกันโดยย่อว่าอีไอเอ ซึ่งเป็นมาตรการที่ก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับในปี 2535 (ปีที่ประกาศใช้บังคับกฎหมายสิ่งแวดล้อม 2535) แต่กำลังถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผล

และกำลังถูกแทนที่ด้วยมาตรการที่ใหม่กว่าตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็คือ บทบาทขององค์การอิสระและสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือสุขภาพ ที่จะเข้ามาทำหน้าที่เพิ่มเติม/ตรวจสอบ/สอบทาน/คานความเห็นกับความคิดเห็นของผู้ชำนาญการ และกระบวนการพิจารณาอนุมัติของอีไอเอ

เท่ากับว่าสังคมไทยได้พากันเคลื่อนออกไปจากตำแหน่งที่เคยยืนอยู่ตามกติกาที่เคยยึดอยู่แต่เดิม เป็นการขยับตัวทางสังคมตามกรอบความคิดของ Gilles Deleuze และ Felix Guattari ที่พูดถึงเรื่องเส้นแบ่ง/เขตแดนกำลังเปลี่ยนแปลงของสังคมที่แต่เดิมเคยยอมรับ

ซึ่งในที่นี้ก็คือเรื่องของการพิจารณาอนุมัติอีไอเอ ในประเด็นความคิดเห็นของผู้ชำนาญการ ที่กำลังถูกตั้งคำถามและนำไปสู่การกำหนดกติกากันขึ้นใหม่ โดยเป็นความคิดเห็นขององค์การอิสระและสถาบันอุดมศึกษา

หรือพูดได้ว่า สังคมกำลังลบเส้นแบ่ง/เขตแดนเดิมทิ้งไป (Deterritorialization) และกำลังลากเส้นแบ่งและเขตแดนกันขึ้นใหม่ (Reterritoralization) ขึ้นมาแทน

สภาวะทางสังคมเช่นนี้ จะทำให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมาว่า จะนับว่าตรงไหนเป็นจุดสิ้นสุดของกฎเกณฑ์เดิม และตรงไหนเป็นจุดเริ่มต้นของกติกาที่สร้างขึ้นใหม่ และกระบวนการแทนที่ของกติกาใหม่ย่อมไม่เป็นไปแบบราบเรียบอย่างแน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับฝ่ายใดเป็นผู้ได้รับหรือเสียประโยชน์จากกติกาเดิม/ใหม่

อย่างไรก็ตาม กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นที่มาบตาพุดจะต้องพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

(1) ภาครัฐที่เป็นหน่วยงานด้านกำกับดูแลที่จะต้องเร่งรัดการสร้างกติกาใหม่แทนกติกาเก่า

(2) ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุมัติอีไอเอไปตามหลักเกณฑ์เดิมที่ควรได้รับการคุ้มครองตามสิทธิ/เงื่อนไขเดิม

ความเห็นในลักษณะนี้จะสอดคล้องกับแนวการวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ที่มีความเห็นว่า การดำเนินตามมาตรา 67 นั้น รัฐจะต้องกำหนดให้มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในภาคปฏิบัติเสียก่อนโดยอิงความตามมาตรา 303 ประกอบกัน ดังนั้น ในขณะที่ยังไม่มีกฎหมายก็ย่อมต้องปฏิบัติไปตามกฎหมายเดิม (กฎหมายสิ่งแวดล้อม 2535) ไปก่อน

แต่ในขณะเดียวกัน การจะปฏิบัติตามแนวทางข้างต้น (ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลปกครอง) นั้น ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ไม่ควรจะละทิ้งประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนโดยรอบ ไม่ควรจะต้องรอจนกระทั่งมีการปรับปรุงข้อกฎหมายจนเป็นที่แล้วเสร็จแบบแป๊ะๆ และจะเป็นการแสดงความรับผิดชอบและนำพาต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง หากจะมีการริเริ่มดำเนินการโดยคำแนะนำ ตรวจทาน ตรวจสอบมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยสถาบันที่ทำหน้าที่ในทำนองเดียวกับมาตรา 67 ไปพลางก่อน

ย่อมจะเป็นการสร้างภาคปฏิบัติการร่วมกันภายใต้เงื่อนไขใหม่ เส้นแบ่งใหม่/เขตแดนใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างแท้จริง เป็นการสร้างสังคมที่ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมสร้างอย่างแท้จริง

เผยแพร่ครั้งแรกที่ มติชน 23-08-52


Create Date : 25 สิงหาคม 2552
Last Update : 25 สิงหาคม 2552 9:47:23 น. 1 comments
Counter : 389 Pageviews.  

 
บริษัทมิตรแท้ประกันภัย
สินค้าขายดี ประกันภัยชั้น 3+พรบ ของมิตรแท้ทวีคูณ ราคาประหยัด ซื้อ ป.3 เหมือนได้ พรบ. ฟรีๆ
1. เก๋ง ในราคา 2,690 บาท
2. กระบะ ในราคา 3,690 บาท
3. ตู้ ในราคา 3,890 บาท
ประกันแนะนำ ชั้น 3 พิเศษใหม่ มี 7 แบบ 4 ราคา (ไม่รวมค่า พรบ.) ดังนี้
1. ราคา 6,666 บาท ซ่อมรถให้ 100,000 บาท เสียค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท
2. ราคา 7,777 บาท ซ่อมรถให้ 100,000 บาท(***พิเศษ***)
3. ราคา 7,777 บาท ซ่อมรถให้ 180,000 บาท เสียค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท
4. ราคา 7,777 บาท ซ่อมรถให้ 100,000 บาท รถหาย/ไฟไหม้ 100,000 บาท เสียค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท
5. ราคา 8,888 บาท ซ่อมรถให้ 100,000 บาท รถหาย/ไฟไหม้ 100,000 บาท (***พิเศษ***)
6. ราคา 8,888 บาท ซ่อมรถให้ 180,000 บาท รถหาย/ไฟไหม้ 180,000 บาท เสียค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท
7. ราคา 9,999 บาท ซ่อมรถให้ 180,000 บาท รถหาย/ไฟไหม้ 180,000 บาท (***พิเศษ***)

***พิเศษ**** กรณีเชียวชนเป็นฝ่ายผิดไม่ต้องเสีย 2,000 บาท
ความคุ้มครองหลัก
1.ความรับผิดต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต บคุคคลภายนอก 500,000 บาทต่อคน
2.ส่วนเกิน พรบ. 10,000,000 บาทต่อครั้ง
3.ความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก 1,000,000 บาทต่อครั้ง
4.อุบัติเหตุส่วนบุคคล คุ้มครองสูงสุดถึง 5 ท่านๆล่ะ100,000 บาทต่อคน รวม 500,000 บาทต่อครั้ง
5.ค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองสุงสุดถึง 5 ท่านๆหล่ะ 50,000 บาทต่อคน รวม 250,000 บาทต่อครั้ง
6.การประกันตัวผู้ขับขี่คดีอาญา 300,000 บาทต่อครั้ง
ขอเสนอพิเศษ
1. ไม่ต้องถ่ายรูปรถ,ไม่ต้องตรวจสภาพรถ,ไม่จำกัดอายุรถ
2. คุ้มครองทันทีที่คุณโทรแจ้งประกัน
**รับสมัครตัวแทนขายด้วยนะค่ะค่าคอมมิชั่นสุงกว่าบริษัทๆอื่นๆๆ**
ถ้าสนใจข้อเสนอนี้ ติดต่อ สุนทรี (แพรว) ทะเบียนเลขที่ 5102006780
โทร 081-7786141 E-mail: taw-d@msn.com


โดย: แพรว IP: 125.25.11.4 วันที่: 8 ธันวาคม 2552 เวลา:12:02:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

good governance
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add good governance's blog to your web]