<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
4 มีนาคม 2552

นักการเมือง หยุดทำร้ายรัฐวิสาหกิจ !

โดย : รองศาสตราจารย์ ดร. ต่อตระกูล ยมนาค

ศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ระหว่างปี พ.ศ.2550 ช่วงรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มีพนักงานรัฐวิสาหกิจหลายแห่งลุกขึ้นมาขอเพียงให้องค์กรของตนมีการบริหารที่ดีมีธรรมาภิบาล

ในยุครัฐบาล อภิสิทธิ์ ปี พ.ศ. 2552 จะมีไหม แห่งไหนที่อาจจะเรียกร้องมากขึ้นว่า

นักการเมือง หยุดทำร้ายรัฐวิสาหกิจของเราเสียที !

เลิกส่งพรรค และพวก มาเป็นกรรมการ

รัฐวิสาหกิจของประเทศไทยมีจำนวนถึง 58 แห่ง โดยรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดูแล โดยถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่าเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลหรือเปลี่ยนรัฐมนตรีๆ ก็จะมีสิทธิเสนอบุคคลของตนเข้าเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นๆ โดยรัฐมนตรีมักจะส่งญาติ เพื่อน คนในพรรคการเมือง (ต้องยังไม่มีตำแหน่งทางการเมือง) ที่รวมเรียกว่าส่งพรรคและพวกเข้าไปเป็นกรรมการ รัฐมนตรีมักจะเป็นคนกำหนดว่าประธานกรรมการซึ่งจะมีอำนาจมหาศาลว่าจะเป็นใคร

ทั้งนี้ นักการเมืองและรัฐมนตรีมักจะให้เหตุผลว่า เมื่อประชาชนเลือกเขาเข้ามาบริหารกิจการบ้านเมือง ก็คงหมายความว่าให้เขาดูแลกิจการรัฐวิสาหกิจ อันเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความผาสุกแก่ประชาชนโดยตรงด้วย แท้ที่จริงแล้วหากดูรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้ดีจ่ายเงินเดือนและโบนัสให้กับกรรมการบริษัทได้มากกว่าล้านบาทต่อปี เช่น รัฐวิสาหกิจที่ดูแล

โดยกระทรวงคมนาคม พลังงาน สาธารณูปการ และสาขาสื่อสารนั้น จะมีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ ที่มีอาชีพแปลกๆ แต่ไม่ได้มีความรู้ ความชำนาญทางธุรกิจ หรือเทคนิคที่จะให้ประโยชน์แก่กิจการรัฐวิสาหกิจนั้นๆ เลย ถูกรัฐมนตรีแต่งตั้งเข้าไปเพื่อเป็นการตอบแทนบุคคลที่เคยมีพระคุณเสียเป็นส่วนใหญ่

ลองดูรายชื่อในรัฐวิสาหกิจที่เคยมีรายได้ดี แต่ผลประกอบการจะเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ จะเห็นว่ามีกรรมการฯ ที่ถูกแต่งตั้งโดยคุณสมบัติที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับหน้าที่กรรมการ ดังเช่น เพราะเคยเป็นอาจารย์ที่เคยช่วยเหลือให้ปริญญาพิเศษแก่ตนบ้าง เพราะเคยเป็นนักธุรกิจที่เคยอุดหนุนค้ำจุนกันมาบ้าง เพราะเป็นญาติของเลขาฯ หรือผู้ใกล้ชิดบ้าง หรือเพราะเป็นคนสนิทที่มีหน้าที่ประจำในการหาเงินส่งเข้าพรรคบ้าง หน้าที่เป็นกรรมการฯ เพื่อหาเงินส่งให้พรรคนี้ มักเป็นข้อขัดแย้งสำคัญ แม้ในยุคที่หัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้นำทำ

การทุจริตเสียเองก็ตาม เพราะรัฐมนตรีที่มาจากพรรคร่วม ก็จะไม่นำส่งรายได้เข้ากองกลาง แต่จะไปเก็บไว้เป็นทุนของพรรคร่วม หรือไปเก็บไว้ในกลุ่มของตน มุ้งในพรรครัฐบาล เพื่อใช้เป็นทุนหาเสียงครั้งต่อไป หากครั้งใดทำพลาด ถูกสื่อหรือภาคประชาชนเปิดโปงขึ้นมา ก็จะเห็นว่ามีบ่อยๆ ที่รัฐมนตรีผู้เคราะห์ร้ายเหล่านั้นจะได้รับโทษโดยการให้หลุดจากรัฐมนตรีกระทรวงที่มีรัฐวิสาหกิจดีๆ ไปเป็นรัฐมนตรีลอย ไม่มีอำนาจหากินได้ต่อไป โดยให้ไปเป็นตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี !

กรรมการรัฐวิสาหกิจน่าจะมีความสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจของรัฐวิสาหกิจให้ก้าวหน้าและมีผลประกอบการดีเช่นเดียวกันกับกรรมการของบริษัทมหาชนต่างๆ ทั่วโลก ที่มีผู้ถือหุ้นหรือผู้ที่จะตัดสินใจเข้าลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทใดๆ ก็จะต้องแข่งขันกันว่าบริษัทใดมีประธานกรรมการและคณะกรรมการที่เก่งกาจกว่ากัน

ในบรรดารัฐวิสาหกิจที่มีการจัดการบริหารที่ดี จะสามารถนำเงินผลกำไรส่งเข้าเป็นรายได้ของรัฐแต่ละปีเกือบ 100,000 ล้านบาทต่อปี นับเป็นรายได้ที่สำคัญของรายได้ในงบประมาณของราชการ แต่รัฐวิสาหกิจที่บริหารดีโปร่งใสมีน้อยราย ในรัฐวิสาหกิจที่มีพรรคพวกนักการเมืองเข้าไปนั่งบริหารในคณะกรรมการบริษัทมาก รายได้ที่เคยมีผลกำไรส่งรัฐบาลกลับมีผลประกอบการตกต่ำ

บางแห่งมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นขาดทุนได้ รัฐวิสาหกิจที่มีกรรมการบริษัทได้จากข้าราชการ นักบริหารธุรกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิในด้านวิชาการต่างๆ และมีการดูแลให้เป็นไปตามข้อกำหนดบรรษัทภิบาลที่ดี อย่างเช่น ปตท. สามารถส่งเงินเข้ารัฐบาลได้ถึง 73,346 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2550 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตส่งเงินเข้ารัฐได้ 29,947 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2550 (ปตท. และ กฟผ.กำกับดูแลโดยกระทรวงพลังงาน) 2 รายนี้เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีผลประกอบการดี 2 อันดับต้นๆ ของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ส่วนรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนเป็นอันดับต้นๆ 2 อันดับแรก ได้แก่ ร.ฟ.ท. (การรถไฟแห่งประเทศไทย) และ ขสมก. (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) ขาดทุนในปี พ.ศ.2550 พอๆ กันทั้งคู่ รวมแล้วเป็นเงินถึง 12,158 หมื่นล้านบาท (ร.ฟ.ท. และ ขสมก. อยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม)

ถ้านำรายชื่อและคุณวุฒิของประธานกรรมการและกรรมการบริษัท ของรัฐวิสาหกิจที่บริหารจัดการดีมีกำไร 2 อันดับแรก คือ ปตท. และ กฟผ. มาเปรียบเทียบ กับรายชื่อและคุณวุฒิของประธานและกรรมการบริษัทที่ขาดทุนต่อเนื่อง 2 อันดับแรก คือ ร.ฟ.ท.และ ขสมก. มาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นเหตุส่วนหนึ่งส่งผลให้ผลประกอบการถึงได้แตกต่างกันอย่างมากมาย
ดังนั้น กรรมการรัฐวิสาหกิจ จึงไม่ใช่ที่ที่รัฐมนตรีจะใช้เป็นตำแหน่งตอบแทนผู้มีพระคุณอีกต่อไป หรือเป็นเก้าอี้ที่จะยกย่องบุคคลใกล้ชิดที่ตนเองสนิทสนม หากรัฐมนตรีหรือนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใดที่มีอำนาจประสงค์ในเหตุผลโดยบริสุทธิ์ใจ 2 ประการข้างต้นนี้ ขอเสนอว่าให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลที่ใกล้ชิดไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประธานกรรมการบริษัท ให้ได้เงินเดือนและสิทธิประโยชน์เกือบเท่าหรือเท่ากับกรรมการบริษัทก็ได้ แต่ไม่ต้องไปนั่งบริหารใช้ความคิดให้หนักสมอง แล้วให้คนดีมีฝีมือได้เข้าไปทำหน้าที่ใช้ความคิด นำรัฐวิสาหกิจให้ก้าวหน้ามีผลประกอบการดีขึ้น

การนั่งเป็นกรรมการบริษัทของรัฐวิสาหกิจยังเสี่ยงต่อการได้รับโทษจำคุกและโทษปรับได้เป็นร้อยเป็นพันล้านบาท การนั่งประชุมร่วมลงมติใดๆ ไปที่ภายหลังพบว่ามีผลเสียหายต่อรัฐวิสาหกิจนั้น แม้จะไม่ได้เจตนาทุจริตก็ถือว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ (มาตรา 157) มีโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี และหากกรรมการทุจริตอีกด้วยโดยร่วมมือกับนักการเมืองก็จะต้องขึ้นศาลฎีกาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ตัดสินรวดเร็วศาลเดียวไม่มีอุทธรณ์ ฎีกา

มีรัฐมนตรีท่านหนึ่งในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวว่า ในช่วงที่ท่านเป็นรัฐมนตรี ว่าท่านได้ทำคุณประโยชน์ให้กิจการของรัฐแห่งหนึ่ง มีผลกำไรขึ้นมาเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ตั้งหน่วยงานขึ้นมาหลายสิบปี ข้าราชการมารายงานว่าเป็นเพราะนี่เป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีไม่ได้ส่งคนของการเมืองเข้ามาแทรกแซง เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากองค์กรของเขา

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 16-01-52


Create Date : 04 มีนาคม 2552
Last Update : 4 มีนาคม 2552 10:30:03 น. 0 comments
Counter : 326 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

good governance
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add good governance's blog to your web]