<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
28 ตุลาคม 2552

การทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็งกับความน่าเชื่อถือของรัฐบาล

รัตพงษ์ สอนสุภาพ ศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม //www.thaigoodgovernance.org

คณะรัฐมนตรีอนุมัติเงินลงทุนโครงการไทยเข้มแข็ง รอบแรกวงเงิน 199,960 ล้านบาท ให้กับ 4 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข

การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลให้กระทรวงและหน่วย งานต่างๆ มีดังนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 48,078 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการ 45,389 ล้านบาท กระทรวงคมนาคม 39,900 ล้านบาท กระทรวงการคลัง 14,500 ล้านบาท กระทรวงสาธารณสุข 11,515 ล้านบาท และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 11,389 ล้านบาท รวม 6 กระทรวง เป็นเงิน 170,771 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85 ของเงินทั้งหมด ส่วนกระทรวงอื่นๆ ที่เหลือได้รับการจัดสรรเงินรวมกันเป็นเงิน 25,785 ล้านบาท และมีรัฐวิสาหกิจอีก 6 แห่ง ที่ได้รับการจัดสรร รวมเป็นเงิน 3,405 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.9 และ 1.7 ของเงินทั้งหมดตามลำดับ

แหล่งเงินทุนที่ใช้ดำเนินโครงการมาจาก พ.ร.บ.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท รวมถึงการกู้เงินภายในประเทศตามแผนบริหารหนี้สาธารณะ

หากมองความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจในการจัดสรรเงิน งบประมาณของพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า พรรคชาติไทยพัฒนามีอำนาจต่อสูง ทั้งๆ ที่มีจำนวน ส.ส.ในพรรคน้อยกว่าสองพรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคภูมิใจไทย และพรรคเพื่อแผ่นดิน เพราะกระทรวงที่พรรคชาติไทยพัฒนากำกับดูแล อย่างเช่น กระทรวงเกษตรฯ ได้รับสรรการจัดเงินงบประมาณมากที่สุด ส่วนพรรคภูมิใจไทย มีจำนวน ส.ส. มากเป็นอันดับสองในรัฐบาล กำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณเป็นอันดับสาม ขณะที่พรรคแกนนำอย่างพรรคประชาธิปัตย์กำกับดูแลกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับสรรจัดงบประมาณมากเป็นอันดับสอง กระทรวงการคลัง และกระทรวงสาธารณสุข ได้รับสรรจัดเงินงบประมาณเป็นอันดับสี่ และห้าตามลำดับ
สำหรับกระทรวงสาธารณสุขได้รับการจัดสรรเงิน 11,515 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโรงพยาบาลระดับจังหวัดจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ และปรับปรุงโรงพยาบาลระดับตำบล ต่อมาได้ถูกชมรมแพทย์ชนบทร้องเรียนว่ามีการทุจริตในการจัดซื้อครุภัณฑ์ทาง การแพทย์ ทำให้รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้นมาเพื่อ ตรวจสอบ ซึ่งบุคคลที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งนั้น ล้วนแต่เป็นบุคคลที่สังคมให้การยอมรับและน่าเชื่อถือทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นนายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช หรือพลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ ซึ่งก็น่าชื่นชมรัฐบาลที่รีบดำเนินการแก้ไขปัญหานี้

แต่การแก้ปัญหาอย่างนี้ของรัฐบาล น่าจะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณน้อยกว่าอีกห้ากระทรวงหลัก และเงินก็ถูกใช้ไปเพียงบางส่วนเท่านั้น ขณะที่เงินอีกจำนวนมากกว่า 1.43 ล้านล้านบาท จะถูกใช้จ่ายต่อเนื่องกันไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า และงบประมาณส่วนใหญ่ยังอยู่ในกระบวนการตระเตรียมจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ฉะนั้นรัฐบาลควรเน้นป้องกัน ควบคุมปัญหาการทุจริตเชิงระบบโครงการอื่นๆ ไปด้วย เพราะเชื่อเหลือเกินว่าหากรัฐบาลยังไม่มีกลไกกำกับดูแลที่ดี ปัญหาการทุจริตในโครงการนี้ก็จะทยอยโผล่ออกมาให้ประชาชนได้เห็นเป็นระยะๆ นั้นก็อาจหมายความว่า ความน่าเชื่อของรัฐบาลก็หมดลงตามไปด้วยเช่นกัน

ปัญหาการทุจริตในกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง ส่วนสาเหตุที่เรื่องมาแดงในกระทรวงนี้ก่อน เพราะว่ากลไกการตรวจสอบถ่วงดุลกันภายในกระทรวงมีมากกว่าข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เนื่องจากว่าบุคลากรทางการแพทย์ มีความเป็นวิชาชีพ และมีอิสระมากกว่าสาขาอาชีพอื่นๆ

นักทฤษฎีคอร์รัปชัน อาทิเช่น Werner กล่าวว่า การทุจริตมีโอกาสเกิดขึ้นอยู่เสมอ เมื่อมีช่องทาง และถ้าผู้นำประเทศไม่ให้ความสนใจปัญหาการทุจริตก็จะสูงไปด้วย ยิ่งถ้านักการเมืองขาดความซื่อสัตย์สุจริต ขณะที่ประชาชนก็ไม่เข้าใจผลกระทบจากการทุจริต รวมทั้งภาครัฐขาดระบบควบคุมการทุจริตที่ดีมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ Warioba ที่กล่าวว่า การทุจริตเกิดจากความสัมพันธ์ของเครือข่ายทางธุรกิจ ประกอบด้วย ผู้นำทางการเมืองที่เป็นรัฐบาลและนักธุรกิจ ที่มีความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเชิงอุปถัมภ์ระหว่างกัน โดยนักธุรกิจให้สินบนผู้นำทางการเมืองขณะที่นักการเมืองให้สิทธิสัมปทานหรือ เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจอื่นๆ ให้แก่นักธุรกิจที่เป็นพวกพ้อง

ดังนั้น ปัญหาการทุจริตในกระทรวงสาธารณสุข ไม่เพียงแต่จะเป็นปัญหาทางการเมืองเท่านั้น แต่จะเป็นปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือของรัฐบาลด้วย หากรัฐบาลละเลยปัญหา ไม่จริงจังดำเนินการ เพื่อป้องกันแก้ไขในเชิงระบบ รัฐบาลไม่ควรมองว่า การทุจริตในกระทรวงสาธารณสุขเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งที่ได้เกิดขึ้นเท่า นั้น แต่รัฐบาลควรมองกระบวนการทุจริตทั้งหมดอย่างเป็นระบบและหาทางแก้ไขมากกว่า อาทิเช่น การตั้งคณะกรรมการจากบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือ เป็นกลางมาตรวจสอบโครงการไทยเข้มแข็งคู่ขนานไปกับฝ่ายการเมืองที่รัฐบาลตั้ง ขึ้นก่อนหน้านั้น อาจจะทำหน้าที่คล้ายกับ คตส. ก็ได้ แต่ขอให้มีอิสระในการตรวจสอบ เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบสิ้นสุดแล้ว ให้เสนอรายงานต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพื่อการตัดสินใจเชิงบริหารในฐานะผู้นำประเทศต่อไป

เผยแพร่ครั้งแรก: กรุงเทพธุรกิจ 26-10-52


Create Date : 28 ตุลาคม 2552
Last Update : 28 ตุลาคม 2552 9:05:55 น. 1 comments
Counter : 379 Pageviews.  

 
เ็ห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบ
ผมว่ามีทุกกระทรวง ไม่เฉพาะกระทรวงสาธารณสุขที่มีชมรมแพทย์ชนบทมาปูดเรื่องนี้ เพราะน่าจะเป็นการแบ่งcakeเพื่อเตรียมทุนในการเลือกตั้งครั้งต่อไปเพื่อสู้กับพรรคเพื่อไทยที่มี
ทุนเยอะอยู่แล้ว


โดย: สาธารณสุขแก่ IP: 114.128.123.189 วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:18:06:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

good governance
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add good governance's blog to your web]