<<
มกราคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
4 มกราคม 2553

ความล้มเหลวในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวของรัฐไทย

โดย รัตพงษ์ สอนสุภาพ
ศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


ประเทศไทย เริ่มมีการจัดระบบแรงงานต่างด้าวและเปิดให้ขึ้นทะเบียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 จนถึงปัจจุบัน การดำเนินการของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาจะใช้มติคณะรัฐมนตรีเป็นเครื่องมือ ดำเนินการเชิงนโยบาย เพื่อให้การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความมั่นคงต่อรัฐและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ

แม้ว่าจำนวนแรงงานต่างด้าวจะเพิ่มขึ้นตามอุป สงค์ของผู้ประกอบการและศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งประเทศไทยเองก็มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะช่วง หลังปี พ.ศ.2530 เป็นต้นมา ผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้คนไทยมีโอกาสในการเลือกทำงานมากขึ้น มีทางเลือกในการบริโภคสินค้า รวมทั้งการเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง ด้วยเงื่อนไขดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการไทยจึงต้องเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะในสาขา ธุรกิจก่อสร้าง และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ที่มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อผู้ประกอบการไทยในธุรกิจสาขาดังกล่าว มีอุปสงค์ต่อแรงงานสูง แต่ขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะคนงานไทย ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ลาว และกัมพูชา มีแรงงานจำนวนมากที่ยากจน และต้องการหางานทำ

ผู้ประกอบการไทยได้ร้องขอต่อรัฐบาลเพื่อขอ อนุญาตนำแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในสาขาดังกล่าวแทนคน งานไทย โดยในระยะแรกของการดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนยังขาดทิศทางไร้ระบบควบคุมดูแลและยังขาดการบูรณาการในการ ทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวจึงมีผลกระทบตามมาหลายด้าน อาทิ การนำพาเชื้อโรค การเกิดโรคใหม่ๆ ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม การก่อการร้าย การคอร์รัปชัน และความขัดแย้งในสังคม ฯลฯ
จากข้อมูลของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน พบว่าแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานทั่วประเทศตามพระราชบัญญัติคน เข้าเมือง พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติคนต่างด้าว พ.ศ.2551 จนถึงสิ้นปี พ.ศ.2551 มีจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งสิ้น 790,664 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกกฎหมาย (ตามมาตรา 9 และ มาตรา 12) มี 228,353 คน คิดเป็นร้อยละ 28.9 และแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย (ตามมาตรา 13) มี 562,311 คน คิดเป็นร้อยละ 71.1 ของแรงงานต่างด้าวทั้งหมดทั่วประเทศ จากสัดส่วนดังกล่าวจะเห็นว่าแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายมีจำนวนที่ มากว่าถูกกฎหมายอยู่ 333,958 คน

ในส่วนของแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ตามมาตรา 13 แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ประเภทชนกลุ่มน้อย กับประเภทตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตทำงานได้จนถึงปีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 562,311 คน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 34,302 คน จำแนกเป็นชนกลุ่มน้อย 60,741 คน และตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา 501,570 คน คิดเป็นร้อยละ 89.2 ของคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย

สำหรับแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ประเภทตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สัญชาติ ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามสถานประกอบกิจการต่างๆ 154,304 แห่ง โดยประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานมาก 5 ลำดับแรก ได้แก่ เกษตรและปศุสัตว์ 92,200 คน ก่อสร้าง 76,206 คน ประมงทะเลต่อเนื่อง 58,890 คน ผู้รับใช้ในบ้าน 53,933 คน และประมง 9,836 คน เมื่อแยกตามสัญชาติเป็น สัญชาติพม่า 476,676 คน หรือร้อยละ 95.0 สัญชาติลาว 12,800 คน หรือร้อยละ 2.6 และสัญชาติกัมพูชา 12,094 คนหรือร้อยละ 2.4 โดยจังหวัดที่มีแรงงานกลุ่มนี้ทำงานมาก 5 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร 83,337 คน สมุทรสาคร 76,059 คน เชียงใหม่ 39,213 คน สุราษฎร์ธานี 30,123 คน และภูเก็ต 29,431 คนตามลำดับ

จะเห็นว่าแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านได้ อพยพเข้ามาและทำงานในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากประเมินของนักวิชาการและหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐบาลได้ชี้ ว่า มีจำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน โดยมีสาเหตุหลักมาจากช่องว่างของรายได้ที่เพิ่มขึ้นระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ความต้องการแรงงานที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทย และการพัฒนาของระบบการขนส่งที่เชื่อมระหว่างประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ทำให้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านได้ลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะในภาคการจ้างงานนอกระบบ ขณะที่นโยบายในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวของประเทศไทยยังคลุมเครือ และไม่มีทิศทางที่ชัดเจน จึงทำให้แรงงานต่างด้าวเหล่านี้อยู่ในสถานะของแรงงานที่ผิดกฎหมาย และแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อสังคมไทย หากภาครัฐยังขาดการบริหารจัดการที่ดีต่อปัญหาเรื่องนี้

ทั้งนี้ ปัญหาแรงงานต่างด้าวไม่ได้เป็นปัญหาแต่ด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการเมืองเท่านั้น ปัญหาด้านสาธารณสุขก็เป็นปัญหาสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัญหาด้านอื่น ดังนั้น เมื่อลองหลับตานึกไปถึงปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้ถูกรวมเข้าเป็นประชาคมอาเซียนประเทศอื่นแล้ว ปัญหาแรงงานต่างด้าวจะมีความยุ่งยากซับซ้อนขนาดไหน รัฐไทยควรต้องรีบเร่งหามาตรการดำเนินการ และแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่ดีมีประสิทธิภาพไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อรองรับกับสภาพเขตแดนถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายหลายประเทศ แรงงานต่างด้าวเหล่านั้นสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยเสรี ปัญหาดังกล่าวก็จะยิ่งมีความรุนแรงและยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น นอกจากนั้นประเทศไทยอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาการค้ามนุษย์ หรือปัญหาด้านสาธารณสุขที่มากับแรงงานอพยพตามมาอีกด้วย



ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ




 

Create Date : 04 มกราคม 2553
0 comments
Last Update : 4 มกราคม 2553 12:02:13 น.
Counter : 374 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


good governance
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add good governance's blog to your web]