เว็บเพื่อการเลี้ยงลูก,เว็บท่องเที่ยววังน้ำเขียว,สื่อสุขภาพ,ครอบครัวการเลี้ยงลูก,ทิปคอมพิวเตอร์
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
7 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 

การดูแลเด็กเมื่อไม่สบายโดยการเช็ดตัวลดไข้

เวลาเด็กไม่สบายมักมีจะอาการตัวร้อนนำมาก่อน สำหรับผู้ใหญ่อาการตัวร้อนดูเป็นเรื่องเล็ก แต่เด็กๆอาจไม่เป็นอย่างนั้น เนื่องจากมีพื้นที่ร่างกายน้อย การระบายความร้อนเป็นไปได้ช้า  แต่การสร้างความร้อนเกิดขึ้นเร็ว หากปล่อยให้ตัวร้อนจัดเด็กอาจชัก จากไข้สูงได้เพราะในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ระบบประสาทส่วนกลางยังเจริญไม่เต็มที่ หากมีการชักบ่อยๆจะทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งผลต่อระดับสติปัญญาของเด็กและการทำงานของสมองในอนาคต
การดูแลเด็กเวลามีไข้มีหลายวิธี วิธีเช็ดตัวลดไข้เป็นวิธีที่บิดามารดาสามารถดูแลเบื้องต้นได้ สิ่งที่สำคัญคือบิดามารดาต้องเห็นความสำคัญและใส่ใจ มีเวลาให้กับเด็ก เพื่อให้เกมีความสุขสบายและปลอดภัยจากภาวะไข้สูง


วิธีการลดไข้
                1. ให้ยาลดไข้ ยาลดไข้ที่ดีที่สุดสำหรับเด็กคือยาพาราเซตามอง เพราะมีฤทธิ์ข้างเคียงน้อย และไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ส่วนยาจูนิเฟนมีผลดีในการลดไข้และป้องกันการชักจากไข้สูงได้ดีกว่าพาราเซตามอล แต่มีฤทธิ์ข้างเคียง คือ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
                2. การเช็ดตัวลดไข้ต้องเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ห้ามใช้น้ำเย็น เพราะจะทำให้หลอดเลือดตีบและระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการหนาวสั่นได้ ควรป้อนยาลดไข้ทันทีเมื่อมีไข้ร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้จะออกฤทธิ์ลดไข้หลังรับประทานยา 30 นาทีและออกฤทธิ์สูงสุด 1 ชั่วโมง คงสภาพได้ 4 ชั่วโมง ดังนั้นหากไข้สูงระหว่างมื้อยา ให้เช็ดตัวลดไข้ หากมีอาการหนาวสั่นควรให้ความอบอุ่นก่อนแล้วจึงเช็ดตัว
                3. ดื่มน้ำให้มากๆ ควรเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำผลไม้  กระตุ้นให้ดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปจากพิษไข้
                4. ใส่เสื้อผ้าโปร่ง สวมใส่สบาย ประเภทผ้าฝ้าย ไม่ควรใส่เสื้อผ้ายืดเพราะไม่ระบายความร้อน ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนาหรือห่มผ้าหนาๆ
                5. อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

วิธีเช็ดตัวลดไข้
           การเช็ดตัวลดไข้ เป็นกระบวนการนำความร้อนออกจากร่างกายโดยมีน้ำเป็นตัวนำความร้อนสู้ผ้าเปียกที่ใช้เช็ดตัว โดยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นให้เปียกเช็ดถูตามส่วนต่างๆของร่างกายร่วมกับการประคบผิวหนังบริเวณที่เป็นจุดรวมของหลอดเลือดขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง เช่น หน้าผาก ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และข้อพับต่างเพื่อช่วยให้ถ่ายเทความร้อนจากหลอดเลือดสู่ผิวหนัง และสู่ผ้าเปียกตามลำดับ
            1. เตรียมเครื่องใช้ สำหรับเช็คตัวอันได้แก่ อ่างน้ำ 1 ใบใส่น้ำอุ่นประมาณ 2 ลิตร (ความร้อนของน้ำควรจะอุ่นกว่าอุณหภูมิห้อง แต่ต้องเย็นกว่าร่างกายเด็ก) ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก 3 ผืน ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ 1 ผืน เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดไข้
            2. ถอดเสื้อผ้าเด็กออกให้หมด
            3. ใช้ผ้าเช็ดตัวผืนเล็กชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดถที่ผิวหนัง การเช็ดถูจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่ผิวหนัง น้ำอุ่นจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งผลให้ความร้อนถูกระบายออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น  ใช้ผ้าชุบน้ำผืนที่ 1 เช็ดบริเวณหน้าและพักผ้าไว้บริเวณซอกคอและหลังหู ผ้าผืนที่ 2 เช็ดบริเวณแขนโดยเริ่มจากปลายแขน เช็ดแขนเข้าหาลำตัวและพักผ้าไว้บริเวณรักแร้ ผ้าผืนที่ 3 เช็ดแขนอีกข้างและพักผ้าไว้บริเวณรักแร้ เปลี่ยนผ้าบริเวณซอกคอ ชุบน้ำบิดหมาดๆเช็ดบริเวณหน้าผากและศีรษะ พักผ้าไว้บริเวณหน้าผาก เปลี่ยนผ้าบริเวณรักแร้ ชุบน้ำบิดหมาดๆเช็ดบริเวณลำตัว พักผ้าไว้บริเวณหัวใจและขาหนีบ เปลี่ยนผ้าบริเวณหน้าผากและขาหนีบ ชุบน้ำบิดหมาดๆเช็ดขาโดยเริ่มจากปลายเท้า เช็ดขาและพักไว้บริเวณข้อเข่าและขาหนีบทั้งสองข้าง หลังจากนั้นให้พลิกตะแคงตัวเด็ก ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆเช็ดด้านหลังตั้งแต่คอจนถึงก้นกบ เช็ดหลายๆครั้ง หากน้ำในอ่างน้ำเย็นลงก็ให้เปลี่ยนน้ำอุ่นใหม่ เช็ดเหมือนเดิมจนครบ 15-20 นาที จนรู้สึกว่าร่างกายเด็กเย็นลงกับมือ เช็ดตัวเด็กให้แห้งและสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ไข้ลดเร็ว หลังเช็ดตัวเสร็จ 30 นาที วัดอุณหภูมิซ้ำด้วยปรอทวัดไข้ เมื่อไข้กลับขึ้นสูงก็เช็ดซ้ำอีกครั้ง  


การดูแล เมื่อลูกมีไข้
           1. เมื่อเด็กเมื่อเริ่มมีไข้ ควรป้องกันการชักด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น
           2. ให้เด็กนอนพักในขณะเช็ดตัวและหลังเช็ดตัวเพื่อลดการเผาผลาญในร่างกายให้น้อยลง
           3. ใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย ถ้าสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส จับสัมผัสร่างกายแล้วยังร้อนจัด ควรเช็ดตัวซ้ำอีก
           4. ให้รับประทานยาลดไข้ถ้าอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 38.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
           5. พยายามให้เด็กดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มบ่อบๆ เพื่อชดเชยการเสียน้ำจากไข้สูง และดื่มน้ำระหว่างเช็ดตัวลดไข้
           6. ให้อาหารน้อยๆแต่บ่อยครั้ง เนื่องจากเด็กเบื่ออาหาร
           7. ทำความสะอาดปากและฟันหรือจิบน้ำบ่อยๆเพื่อให้เยื่อบุชุ่มชื้น ช่วยระงับกลิ่นปาก ป้องกันแผลและการติดเชื้อในปาก และส่งเสริมความอยากอาหารของเด็ก
           8. ถ้าเด็กมีอาการชัก ให้จับนอนตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อให้เสมหะ น้ำมูก น้ำลายไหลได้สะดวก ป้องกัน การสำลัก ห้ามป้อนยาเด็กในขณะที่ยังมีอาการชัก และแม้เด็กจะหยุดชักแล้ว ก็ควรนำไปตรวจที่โรงพยาบาลเพราะอาจมีความผิดปกติของสมองตามมาได้




 

Create Date : 07 มิถุนายน 2556
0 comments
Last Update : 7 มิถุนายน 2556 15:29:04 น.
Counter : 1227 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


fnhero125
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add fnhero125's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.