เว็บเพื่อการเลี้ยงลูก,เว็บท่องเที่ยววังน้ำเขียว,สื่อสุขภาพ,ครอบครัวการเลี้ยงลูก,ทิปคอมพิวเตอร์
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
การให้อาหารเสริมตามวัยอย่างเหมาะสม ความพอเพียงของพลังงาน

จากบทความที่เคยเสนอไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้เรื่องการให้อาหารเสริมตามวัยสำหรับทารกอย่างเหมาะสม โดยมีหลักการดังนี้
- สมวัย
- เพียงพอ
- ปลอดภัย


วันนี้ทางเราจึงจะมาเล่าต่อในหลักของความพอเพียง ความพอเพียงในที่นี้หมายถึง พลังงานและสารอาหารที่เราจะให้กับทารก พลังงานในช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือนแรกนั้นทารกสามารถที่จะรับพลังงานจากแหล่งเดียวคือนมแม่โดยไม่จำเป็นต้องมีการเสริมอาการแต่อย่างใด แต่เมื่อพ้นหกเดือนไป ก็เริ่มการให้อาหารเสริมสำหรับเด็กได้เลยและตอนนี้เองทารกก็จะได้รับพลังงานที่เพิ่มขึ้น โดย 6-8 เดือนเสริมอาหารเสริมเพียงแค่มื้อเดียวก็เพียงพอต่อความต้องการ และเพิ่มเป็น 2 มื้อเมื่อทารกอายุ 9-10 เดือนแต่ช่วงนี้หากจะเสริมจนครบ 3 มื้อตามผู้ใหญ่ก็สามารถทำได้
ความเข้มข้นของอาหารก็มีผลต่อลังงานที่ได้รับ
     การปรกอบอาหารที่ใสเกินไป เช่น โจ๊กหรือซุปที่ใสมาก  อาจทำให้ทารกได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอ  แก้ไขโดยทำอาหารให้ข้นขึ้น หรือเพิ่มจำนวนมื้อที่ป้อน และเติมน้ำมันลงในอาหาร ลดลง
แล้วความละเอียดของอาหารก็สำคัญไม่แพ้กัน
ทารก 6 เดือนควรได้รับอาหารที่ละเอียด โดยการบดเพื่อให้ทารกกลืนได้ง่าย ไม่ควรใช้การปั่นเพราะทารกจะไม่ได้รับทักษะการเคี้ยวเมื่อเข้าปากเขาก็สามารถกลืนได้เลย แล้วค่อยๆ เพิ่มความหยาบของอาหาร ไม่จำเป็นต้องบดให้ละเอียดมาก  เช่น  ข้าวต้มที่มีเนื้อสัตว์ชิ้นเล็กๆ  เพื่อให้ทารกมีความคุ้นเคยกับอาหารที่เป็นชิ้นเล็กๆ  ทารกอายุ 12  เดือนขึ้นไปสามารถรับประทานอาหารเหมือนผู้ใหญ่ได้ โดยเลือกที่เคี้ยวง่าย  นิ่ม  ชิ้นไม่ใหญ่เกินไป และรสไม่จัด เมื่ออายุ 2 ปี ขึ้นไปจะสามารถรับประทานอาหารเช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ได้

คำแนะนำเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนเพียงพอ
    1.  ให้ทารกได้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและหลากหลาย  เพื่อให้พลังงานและสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอกับความต้องการของทารก  ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ปลา ตับ ไข่ ผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน ให้ไขมันให้เพียงพอ 
    2.  กินผักและผลไม้ทุกวันและกินให้หลากหลายชนิดโดยเฉพาะผักใบเขียวและผักสีส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักกาดขาว ฟักทอง แครอท และผลไม้ที่ไม่หวานจัด กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก ส้ม โดยผักและผลไม้เป็นแหล่งของแร่ธาตุ วิตามิน และใยอาหาร
    3.  กินเนื้อสัตว์ทุกวัน เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู ไก่ ปลา และตับ เป็นอาหารที่มีโปรตีนและธาตุเหล็กสูง 
    4.  ให้นมแม่ต่อเนื่องถึงอายุ 2 ปี สำหรับเด็กอายุ 1-2 ปี  ควรเสริมนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องหรือนมวัวรสจืด วันละ 2 แก้ว 
    5.  ใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหาร เพื่อเป็นแหล่งพลังงานและกรดไขมันจำเป็น   ควรใช้น้ำมันที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่าง น้ำมันรำข้าว และน้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
    6.  ให้กินอาหารรสธรรมชาติ  ไม่ปรุงแต่งรสอาหารด้วยน้ำตาล  น้ำผึ้ง ผงชูรสและผงปรุงรส ไม่ควรให้อาหารหวานจัด มันจัน เค็มจัด เนื่องจากอาหารที่มีรสหวามและมันเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ฟันผุและไขมันในเลือดสูง ส่วนอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือมีโซเดียมสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
    7.  ดื่มน้ำสะอาด  ไม่ให้เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและคาเฟอีน  เช่น  น้ำอัดลม น้ำหวาน ชา กาแฟ และน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาล เป็นต้น
    8.  เลือกอาหารว่างที่มีคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยอาหารหลายหมู่ หรือผลไม้ตามฤดูกาล หลีกเลี่ยงขนมที่หวานจัด มันจัน เค็มจัด และเหนียวติดฟัน

หากคุณแม่คุณพ่อทำตาม เด็กทารกก็จะได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ และจะมีสุขภาพที่ดี วันหน้าจะมาต่อให้จบในเรื่องของความปลอดภัยของอาหาร



Create Date : 21 กรกฎาคม 2556
Last Update : 21 กรกฎาคม 2556 16:03:46 น. 0 comments
Counter : 1383 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

fnhero125
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add fnhero125's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.