เว็บเพื่อการเลี้ยงลูก,เว็บท่องเที่ยววังน้ำเขียว,สื่อสุขภาพ,ครอบครัวการเลี้ยงลูก,ทิปคอมพิวเตอร์
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2559
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
24 พฤษภาคม 2559
 
All Blogs
 
เลี้ยงลูกเครื่องปั้มนมจำเป็นแค่ไหน คำถามที่คุณแม่ต้องตอบ





หากการเตรียมพร้อมที่จะเป็นคุณแม่ใกล้เข้ามา และคุณแม่คิดว่าจะเลี้ยงลูกด้วนนมแม่ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตามคุณแม่ก็ควรที่จะหาเครื่องปั้มนมแบบดีดีสักเครื่อง เพราะมันสามารถช่วยคุณได้ในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม  ช่วยรักษาปริมาณน้ำนมให้คงอยู่ในกรณีที่ลูกดูดไม่ได้  ช่วยทำ stock น้ำนมในกรณีที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน แต่หากยังไม่แน่ใจก็ลองศึกษาข้อดีข้องเสียของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเรื่องของความคล่องตัว การเงิน ค่าใช้จ่ายที่เทียบกันระหว่างนมแม่กับนมผสม แต่ทั้งนี้ก็ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 3 เดือนนะครับ



แต่หากคุณยังตัดสินใจแล้วว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จริงๆ แต่มันจำเป็นไหม เพราะการเลี้ยงด้วยนมแม่นั้นอาจไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องปั้มก็ได้หากท่านเป็นคุณแม่ที่อยู่บ้านเต็มเวลา แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนจะตัดสินใจซื้อ ที่ปั๊มนม  มีสิ่งที่ควรพิจารณาดังนี้



1.คุณจำเป็นต้องใช้มันหรือไม่
ถ้าคุณเป็นแม่ที่ไม่ได้ทำงานประจำ  เลี้ยงลูกอยู่กับบ้านตลอดเวลา  ลูกเป็นเด็กแข็งแรง ดูดนมบ่อยสม่ำเสมอทุก 1-3 ช.ม. กรณีนี้คุณก็อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ ถ้าจะมีบางครั้งที่ต้องอยู่ห่างลูกบ้าง  ก็สามารถบีบน้ำนมด้วยมือเก็บไว้ให้ลูกได้ อันนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อ
2.หากตอบในข้อแรกว่า "จำเป็นต้องใช้" สิ่งที่ต้องคำนึงถึงต่อมาก็คือ ต้องใช้บ่อยแค่ไหน  
เพราะเครื่องปั๊มนมแต่ละรุ่น ถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานแตกต่างกัน  ถ้าคุณไม่ได้ทำงานประจำ  แต่มีช่วงเวลาที่ต้องห่างจากลูกบ้างสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง  ครั้งละไม่กี่ช.ม.  เครื่องปั๊มนมที่คุณจะเลือกใช้ได้ก็อาจจะเป็นแบบใช้มือ (manual)  หรือแบบไฟฟ้ารุ่นเล็ก (mini electric) ซึ่งราคาถูกกว่ามาก 
แต่ถ้าคุณต้องทำงานประจำเต็มเวลา คุณจะต้องปั๊มนมวันละ 3 ครั้ง (เป็นอย่างน้อย) สัปดาห์ละ 5-6 วัน กรณีนี้  เครื่องปั๊มนมไฟฟ้ารุ่นใหญ่  หรือแบบเช่าใช้จะเหมาะกว่า  เพราะสามารถเลือกใช้แบบปั๊มคู่ (double pump) ได้  ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการปั๊มแต่ละครั้ง นอกจากนี้เครื่องรุ่นใหญ่จะมีประสิทธิภาพดีกว่ามาก จังหวะการปั๊มจะใกล้เคียงทารกดูด  ช่วยกระตุ้นกระสร้างน้ำนม และรักษาปริมาณน้ำนมให้คงอยู่สม่ำเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นข้อเสียของเครื่องปั๊มนมรุ่นใหญ่ก็คือ ไม่สะดวกต่อการพกพา นอกจากนี้บางรุ่นก็ไม่สามารถใช้ถ่านได้ ต้องใช้ไฟอย่างเดียว คุณต้องพิจารณาด้วยว่าในที่ทำงานมีสถานที่ให้คุณทำการปั๊มนมได้อย่างสะดวกหรือไม่ ถ้าต้องปั๊มในห้องน้ำ อาจจำเป็นต้องใช้แบบมือ หรือมอเตอร์รุ่นเล็กแทน
3. เครื่องปั๊มนมแต่ละ "ยี่ห้อ" แต่ละ "รุ่น" มีคุณภาพไม่เหมือนกัน
เครื่องปั๊มนมดีๆ ช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ง่ายขึ้น ที่ปั๊มนมแย่ๆ ก็ทำให้คุณเจ็บและเสียเงินเปล่าได้เช่นกัน อย่าซื้อโดยไม่หาข้อมูลสอบถามจากผู้ที่เคยใช้ แล้วพิจารณาให้ดีว่าแบบไหนเหมาะกับตัวเองมากที่สุด  
ถ้าคิดว่าเครื่องปั๊มนมมีราคาแพง ให้เปรียบเทียบกับเงินที่คุณจะประหยัดได้จากการไม่ต้องซื้อนมผสม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาลูกที่ป่วยบ่อยจากการไม่ได้กินนมแม่ อันนี้มันคุ้มกว่าเยอะครับ
 4. คุณสมบัติของเครื่องปั๊มนมที่ควรพิจารณา
 เครื่องปั๊มนมที่ดีจะต้องมีแรงดูด (Suction Strength) อย่างน้อย 200 มม.ปรอท จังหวะในการดูดอย่างน้อย 40-60 รอบต่อนาที จึงจะใกล้เคียงการดูดของทารก ในช่วง 6-12 สัปดาห์แรก ถ้าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นไปด้วยดี ร่างกายมักจะผลิตน้ำนมได้เกินกว่าความต้องการของทารก การปั๊มนมในช่วงนี้จะค่อนข้างง่าย และได้ปริมาณมาก แม้ว่าจะใช้เครื่องปั๊มนมที่มีจังหวะในการดูดต่ำกว่า 40 ครั้งต่อนาทีก็ใช้ได้ แต่เมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวแล้ว เครื่องปั๊มนมที่มีจังหวะการดูดต่ำกว่า 40 ครั้งต่อนาที จะทำให้ปั๊มนมไม่ออก ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องปั๊มนมนานกว่า 4 เดือนขึ้นไป ควรเลือกซื้อเครื่องปั๊มนม ที่มีจังหวะในการดูดมากกว่า 40 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป

เมื่อได้เลือกเครื่องที่มีคุณสมบัติครบตามที่ผมได้นำเสนอไป รับรองเลยการเลี้ยงลูกของคุณแม่จะเป็นไปด้วยดีแน่นอน




Create Date : 24 พฤษภาคม 2559
Last Update : 26 พฤษภาคม 2559 15:25:01 น. 0 comments
Counter : 1678 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

fnhero125
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add fnhero125's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.