เว็บเพื่อการเลี้ยงลูก,เว็บท่องเที่ยววังน้ำเขียว,สื่อสุขภาพ,ครอบครัวการเลี้ยงลูก,ทิปคอมพิวเตอร์
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
31 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
สาเหตุของลูกน้อยไม่ทาน ข้าวเบื่ออาหารตอนที่ 2

เมื่อตอนที่แล้วเราได้เสนอเรื่องสาเหตุของลูกน้อยไม่ยอมทานข้าวไปแล้วตอนหนึ่ง มาครั้งนี้เป็นการทำความเข้าใจ เด็กกินแต่กินน้อย ไม่ใช่ว่าไม่กินเลย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่ มาดูกันดีกว่า 

สาเหตุก็เนื่องจากความไม่รู้หรือเข้าใจผิดของแม่พ่อเกี่ยวกับเรื่องกินและน้ำหนักตัวของลูกอย่าง
1. ความเข้าใจผิดของผู้ปกครองเองที่คิดว่าเด็กอ้วนเป็นเด็กแข็งแรง พ่อแม่จำนวนมากมีค่านิยมที่ผิด มองว่าเด็กอ้วน คืออ้วนจนเกินเกณฑ์น้ำหนักปกติ เป็นเด็กแข็งแรง และน่ารัก ทำให้มองเด็กที่น้ำหนักปกติว่าเป็นเด็กผอมเกินไปและพยายามยัดเยียดเรื่องกินมากขึ้น
2. คิดว่าลูกเราผอมไปแน่ๆ ทั้งๆ ที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นในชั้นเดียวกันที่มีน้ำหนักเกิน  ซึ่งในปัจจุบันมีเด็กอ้วนในบ้านเราอยู่ถึงร้อยละ 15 – 20 เลยทีเดียว
3. แม่พ่อไม่เข้าใจธรรมชาติว่าเด็กหลังอายุ 1 ขวบ จะสนใจการกินน้อยลง  ธรรมชาติเด็กอายุขวบปีแรกจะกินเก่งเพราะเป็นช่วงที่เติบโตเร็ว เด็กจะมีน้ำหนักเพิ่มถึง 3 เท่าตัว คือ น้ำหนักแรกเกิดประมาณ 3 กิโลกรัม จะเพิ่มเป็น 9 กิโลกรัม เมื่ออายุ 1 ขวบ จึงมีความต้องการสารอาหารมากตามธรรมชาติและหิวบ่อย กินเก่ง แต่เมื่ออายุ 1 ปี จนถึง 10 ปี จะมีน้ำหนักขึ้นเฉลี่ยปีละ 2 กิโลกรัมเท่านั้น  ร่างกายต้องการสารอาหารน้อยลงเมื่อเทียบกับปีแรกเด็กจึงมีความกระตือรือร้นเรื่องกินลดลง
4. สร้างความคาดหวังว่าลูกควรจะกินมักจะมากเกินความจริง ไม่รู้ว่าลูกควรกินอาหารปริมาณเท่าใดในแต่ละวัน พ่อแม่ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะตักอาหารให้ลูกปริมาณมากกว่าที่ร่างกายของลูกต้องการจริงๆ เมื่อเด็กกินไม่หมด ทำให้พ่อแม่กังวลและพยายามยัดเยียด
5. ไม่ทราบว่าเป็นเรื่องปกติ ที่ลูกจะกินปริมาณไม่เท่ากันในทุกวัน ทุกมื้อ เด็กคนเดียวกันความต้องการอาหารแต่ละวันไม่เหมือนกัน บางวันเด็กอาจกินมาก บางวันอาจกินน้อย ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น กิจกรรมที่ใช้พลังงานในวันนั้น สภาพทางอารมณ์จิตใจ แม้แต่สภาพอากาศก็มีผลต่อการเจริญอาหารของเด็กในแต่ละวัน เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่อาจมีบางมื้อที่รู้สึกไม่หิว ไม่อยากกินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่นไข้หวัด ก็อาจทำให้เบื่ออาหารไปชั่วคราวได้
6. และกับข้อสุดท้ายความต้องการปริมาณอาหารของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน แม้ว่าจะน้ำหนักเท่ากันแต่เด็กแต่ละคนอาจกินอาหารมากน้อยต่างกันได้มาก ซึ่งขึ้นกับอัตราการใช้พลังงาน การย่อย การดูดซึม อัตราการเผาผลาญของร่างกาย ฯลฯ ของเด็กแต่ละคน

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงเข้าใจกันไปบ้างแล้วกันพฤติกรรมการกินของลูกน้อย และคงลดความกังวลว่าลูกได้สารอาหารน้อยเกินไป  จนรุนแรงถึงขั้น ดุด่า ว่า บังคับ ลงโทษ ใช้การให้รางวัลหรือหลอกล่อให้เพลิดเพลิน หรือใช้กินเพิ่มเติมระหว่างมื้ออาหาร จะดีกว่า หากพยายามแก้ปัญหาโดยวิธีที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เด็กมีทัศนคติในแง่ลบต่อการกินและไม่รู้สึกหิวเมื่อถึงมื้ออาหาร  จนเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมขึ้น เช่น ทำท่าทางไม่อยากกิน ปฏิเสธ กินน้อย ต่อรอง กินช้า อมข้าว บ้วนอาหาร กินไปเล่นไป แม้แต่อาเจียน ซึ่งยิ่งทำให้แม่พ่อเครียดและกังวลมากขึ้น เท่ากับเพิ่มปัญหาให้รุนแรงยิ่งขึ้น บทหน้าเราจะมาสรุป และจะมีวิธีดูแลลูกน้อยอย่างไรให้กินข้าวอย่าลืมติดตามกันนะครับ
ขอบคุณบทความดีดี จากเว็บผมเอง โดย I9



Create Date : 31 มีนาคม 2557
Last Update : 31 มีนาคม 2557 22:03:42 น. 0 comments
Counter : 2524 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

fnhero125
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add fnhero125's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.