"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
45. การทำความปล่อยวาง สิ่งที่เราหลงยึดมั่นถือมั่นเอาไว้



การทำความปล่อยวาง สิ่งที่เราหลงยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ คือ การนำเอา “สิ่งที่เราหลงยึดมั่นถือมั่นเอาไว้” มากำหนดตั้งให้เป็น “ศีล” แล้วทำการเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือ วิปัสสนาภาวนา) จนเห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของสิ่งที่เราหลงยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ เพื่อทำให้เกิดการสิ้นความลังเลสงสัย หรือ เพื่อทำให้เกิดการพ้นวิจิกิจฉา

การเพ่งพิจารณาดังกล่าว ต้องใช้สติ (สติสัมโพชฌงค์ หรือ สัมมาสติ) และ ความเพียรพยายาม (วิริยสัมโพชฌงค์ หรือ สัมมาวิริยะ) ร่วมด้วย

***************

เมื่อได้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ของสิ่งที่เราหลงยึดมั่นถือมั่นเอาไว้แล้ว

ก็จะเกิดการละหน่ายคลาย และ เกิดการปล่อยวางได้

ทำให้เกิดการพ้นสักกายทิฏฐิ (ทำให้เกิดปัญญา ละสักกายทิฏฐิได้ หรือ ทำให้เกิดปัญญา ล้างอวิชชา)

***************

เมื่อเกิดการละหน่ายคลายและเกิดการปล่อยวางได้แล้ว

ก็จะเกิดการได้รับมรรคผลเป็น ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำใจ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความสงบกายและสงบใจ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความมีจิตใจที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว แน่วแน่ในอารมณ์ (สมาธิสัมโพชฌงค์) และ ความมีจิตใจที่เป็นกลาง วางเฉย สุขสงบ (อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

ทำให้เกิดการพ้นสีลัพพตปรามาส (ทำให้เกิดมรรคผลจากการปฏิบัติศีล)

***************

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้

เป็นการใช้หลักธรรมโพชฌงค์ ๗ เพื่อทำให้ศีลบริบูรณ์ โดยทำให้เกิดปัญญา (สัมมาทิฏฐิ) แล้วทำให้เกิดสมาธิ (สัมมาสมาธิ) ตามมา

หรือ เป็นการใช้หลักธรรมโพชฌงค์ ๗ เพื่อขับเคลื่อน ศีล สมาธิ และ ปัญญา ไปตามทางมรรคมีองค์ ๘ สู่ความพ้นทุกข์ (ดับทุกข์)

ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 22 มีนาคม 2563
Last Update : 22 มีนาคม 2563 7:11:21 น. 0 comments
Counter : 960 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.