"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
41. โสดาบัน...การทำศีลให้บริบูรณ์ ตอนที่ ๕



การทำศีลให้บริบูรณ์

ควรใช้ทั้ง “สมถภาวนา” และ “วิปัสสนาภาวนา” ร่วมกัน

ดังคำตรัสของพระพุทธองค์ ที่ว่า

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้

ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรม เครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.


...จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (๖. อากังเขยยสูตร ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง)
 
***************

สมถภาวนา หมายถึง การทำความมีสติ อบรมจิต กดข่มจิต ทำให้จิตตั้งมั่น ให้ไม่หวั่นไหว ให้เป็นสมาธิ เพื่อระงับจิต ไม่ปล่อยให้จิตปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน (ทำให้กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ระงับดับลง)
 
วิปัสสนาภาวนา หมายถึง การเพ่งพิจารณา ให้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน เพื่อทำให้เกิด การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้ (ทำให้เกิดปัญญา ล้างอวิชชา)

***************

การปฏิบัติ “สมถภาวนา” ทำให้ “ละราคะ” ได้

การปฏิบัติ “วิปัสสนาภาวนา” ทำให้ “ละอวิชชา” ได้

ดังคำตรัสของพระพุทธองค์ ที่ว่า
 
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา

ธรรม ๒ อย่าง เป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ... ย่อมอบรมจิต

จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ... ย่อมละราคะได้

วิปัสสนา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ... ย่อมอบรมปัญญา

ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ... ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมอง ด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือ ปัญญาที่เศร้าหมอง ด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญ ด้วยประการ ฉะนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุติ

เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุติ ฯ


จบพาลวรรคที่ ๓
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร


***************

การปฏิบัติ “สมถภาวนา” เพียงอย่างเดียว

ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้ (ละอวิชชาไม่ได้)

ดังที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติ ในช่วงแรกของการออกบวช
 
การปฏิบัติ “วิปัสสนาภาวนา” เพียงอย่างเดียว

ทำให้พ้นทุกข์ได้ (ละอวิชชาได้)

แต่ต้องใช้ระยะเวลา ค่อนข้างยาวนาน
 
การปฏิบัติที่เป็น “มัชฌิมา” คือ

การปฏิบัติ “สมถภาวนา” และ “วิปัสสนาภาวนา” ร่วมกัน
 
***************
 
การทำศีลให้บริบูรณ์ ในส่วนของ สมถภาวนา หรือ การระงับจิต เพื่อทำให้กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ระงับดับลง คือ


๑. ทำความมีสติ ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เพื่อรับรู้ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล

๒. เมื่อใดก็ตาม ที่มี อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล เกิดขึ้น ภายในจิตใจ จงเพียรพยายาม ทำจิตใจ ให้ตั้งมั่น ให้ไม่หวั่นไหว ให้เป็นสมาธิ เพื่อระงับจิต ไม่ให้จิตปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล 

***************

การทำศีลให้บริบูรณ์ ในส่วนของ วิปัสสนาภาวนา หรือ การอบรมปัญญา เพื่อทำให้เกิดการละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้ คือ

“การเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล”

***************

การทำให้กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ระงับดับลง

ต้องใช้ “กำลังสติ (สติพละ)” และ “กำลังสมาธิ (สมาธิพละ)” ร่วมกัน เป็นหลัก
 
ผู้ที่ไม่เพียรหมั่น ฝึกสติ และ ฝึกสมาธิ

โดยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ (อานาปานบรรพ อิริยาบถบรรพ และ สัมปชัญญบรรพ)

จะทำได้ยาก

***************

ถ้าไม่สามารถทำให้กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ระงับดับลงได้ คือ เกิดการปรุงแต่งร่วมไปแล้ว หรือ เกิดการละเมิดศีลแล้ว

ให้เพียรหมั่นเพ่งพิจารณาย้อนหลัง

โดยการเพ่งพิจารณา ให้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล ที่เกิดขึ้นไปแล้ว เพื่อทำให้เกิด การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้ (ไม่ปล่อยให้ค้างคาไว้ ในจิตใจ)

การเพียรหมั่นเพ่งพิจารณาย้อนหลัง

จะช่วยเสริมสร้าง “กำลังปัญญา (ปัญญาพละ)”

ทำให้การระงับดับ กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ทำได้ดีขึ้น เป็นลำดับ

***************

ถ้าต้องการให้การปฏิบัติ มีความก้าวหน้าเร็วขึ้น

ต้องเสริมสร้าง “กำลังสติ (สติพละ)” และ “กำลังสมาธิ (สมาธิพละ)” ให้แข็งแกร่งขึ้น

โดยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ในส่วนของ อานาปานบรรพ อิริยาบถบรรพ และ สัมปชัญญบรรพ

ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2563
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2563 5:49:03 น. 2 comments
Counter : 1507 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณnewyorknurse


 


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา:22:46:33 น.  

 
สาธุ ขอบคุณครับ คุณ โอน่าจอมซ่าส์


โดย: chancamp (chancamp ) วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา:7:05:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.