"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
125. บทสรุปของการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์ ตอนที่ 10



กัมมุนา วัตตติ โลโก สัตว์โลกทั้งหลาย ย่อมเป็นไปตามกรรม
 
กรรมดี หรือ การกระทำที่ดี (กุศลกรรม) มีผลเป็น วิบากกรรมดี (กุศลวิบาก) คือ การได้รับ และ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย” (ทำให้เป็นสุข)
 
กรรมไม่ดี หรือ การกระทำที่ไม่ดี (อกุศลกรรม) มีผลเป็น วิบากกรรมไม่ดี (อกุศลวิบาก) คือ การได้รับ และ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย” (ทำให้เป็นทุกข์)
 
***************
 
ถ้าชีวิตนี้ มี “ความทุกข์

และมักจะมี “สิ่งที่ไม่ดี” หมุนเวียนเข้ามาในชีวิต อยู่เนืองๆ

จง “แก้กรรม (ปรับเปลี่ยนการกระทำ)” ที่ไม่ดีที่เป็นอกุศล (มิจฉา)

ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ

ให้เป็นกรรมที่ดีที่เป็นกุศล (สัมมา)

ด้วยการปฏิบัติตาม “อริยมรรคมีองค์ 8
 
***************
 
ถ้าต้องการ จะทำความ “พ้นทุกข์” หรือ “ดับทุกข์

จงเริ่มต้น เดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8

เพื่อปรับเปลี่ยน “การงานอาชีพ กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม” ที่เป็นมิจฉา (อกุศล)

ให้เป็น สัมมา (กุศล)

ด้วยการปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา

เพื่อ ดับกิเลส หรือ ขจัดกิเลส หรือ ชำระล้างกิเลส

ที่เป็นมูลเหตุของอกุศลกรรมและความทุกข์ทั้งหลาย
 
***************
 
ไม่มีใคร ช่วยให้ใคร พ้นทุกข์ (ดับทุกข์) ได้
ตนของตนเท่านั้น ที่จะช่วยให้ตน พ้นทุกข์ (ดับทุกข์) ได้

 
การช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้อื่น

ไม่ว่าจะมากมายสักเท่าใด

ก็ไม่อาจจะช่วยให้ผู้อื่น พ้นทุกข์ได้

อย่างมากก็แค่เพียง ช่วยให้ผู้อื่น “คลายทุกข์ได้” เป็นครั้งคราว เท่านั้นเอง
 
การช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ควรทำตามกำลัง ตามสมควร
 
การช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ที่ไม่เหมาะสม หรือ ที่มากจนเกินควร
อาจส่งผลเสีย ทั้งต่อตัวผู้ให้ และ ต่อตัวผู้รับ

 
ถ้าเราต้องการจะช่วยให้ผู้อื่น พ้นจากกองทุกข์
เราควรทำตัวของเรา ให้พ้นจากกองทุกข์ ให้ได้ก่อน

 
***************
 
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย

อตฺตทตฺถมภิญฺญาย สทตฺถปสุโต สิยา

บุคคล ไม่ควรพร่าประโยชน์ของตน เพราะประโยชน์ของผู้อื่น แม้มาก

รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวาย ในประโยชน์ของตน


(พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๓๗.

พร่า[พฺร่า] หมายถึง ก. ทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้ย่อยยับ เช่น พร่าชื่อเสียง พร่าทรัพย์สมบัติ พร่าประโยชน์ ว. กระจัดกระจายจนเห็นหรือได้ยินไม่ถนัดชัดเจน เช่น ตาพร่า รูปพร่า เสียงพร่า

***************

การทำประโยชน์ของตน หมายถึง การทำสิ่งที่มีคุณค่าประโยชน์ต่อชีวิตของตน ที่จะส่งผลดีต่อชีวิตของตน ทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆไป ได้แก่

1. การเรียนรู้ทุกข์ การเรียนรู้การเกิดแห่งทุกข์ การเรียนรู้การดับแห่งทุกข์ และ การเรียนรู้วิธีการดับทุกข์

2. การทำความดับทุกข์ โดยการเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8
 
***************
 
การทำ “ประโยชน์ของตน

ย่อมจะก่อให้เกิด “ประโยชน์ของผู้อื่น” ตามมา อย่างแน่นอน เป็นธรรมดา

ดังนั้น เราจึงควร มุ่งเน้น “ประโยชน์ของตน” เป็นหลัก

แล้วจะเกิด “ประโยชน์ของผู้อื่น” ตามมา อย่างเหมาะสม

***************
อย่าพร่าประโยชน์ของตน เพราะประโยชน์ของผู้อื่น แม้มาก” หมายถึง

1. จงอย่าใช้วันเวลาของชีวิตของตน ไปกับ “เรื่องราวของโลก ของสังคม และของผู้อื่น” มากจนเกินควร จนทำให้เสียประโยชน์ของตน หรือ จนทำให้ไม่มีเวลาได้ทำประโยชน์ของตน

2. จงอย่าปล่อยให้ “ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง” เข้ามาครอบงำจิตใจของตน เพราะ "ประโยชน์ของผู้อื่น" แม้มาก
 
***************
 
เพราะเหตุว่า

โลกและสังคมของเรา

ได้ถูกขับเคลื่อน ให้แปรเปลี่ยนไป

ด้วยแรงแห่ง “กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน” ของแต่ละคน ที่อาศัยอยู่ในโลกและสังคม

มุ่งหน้าไปสู่ “ความเสื่อม โทรมทรุด ตกต่ำ เดือดร้อน วุ่นวาย และ เลวร้าย” มากขึ้น เป็นธรรมดา

ไม่มีใครผู้ใด ที่จะสามารถปรับเปลี่ยนโลกและสังคม ให้ดีขึ้นได้ อย่างยั่งยืน และ ถาวร ตลอดไป

สิ่งที่สามารถจะทำได้ อย่างมากก็คือ ช่วยชลอการเปลี่ยนแปลง ให้ช้าลง เท่านั้นเอง

ดังนั้น

เราจึงควร “ทำประโยชน์ให้กับโลกและสังคม” ตามกำลัง ตามสมควร

เพื่อเก็บเกี่ยวบุญ (ชำระล้างกิเลส) และ เก็บเกี่ยวกุศล (สั่งสมวิบากกรรมดี)
 
***************
 
 “จงคิดดี พูดดี และ ทำดี ให้ติดเป็นนิสัย
เพื่อให้มีแต่สิ่งดีๆ หมุนเวียนเข้ามาในชีวิต อย่างต่อเนื่อง

 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 01 สิงหาคม 2566
Last Update : 2 สิงหาคม 2566 7:06:51 น. 0 comments
Counter : 236 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.