"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
100. การปฏิบัติโอวาทปาฏิโมกข์ 3 เพื่อความดับทุกข์ ตอนที่ 10



การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา
 
สามารถปฏิบัติได้ 2 แนวทาง คือ
 
1. ปฏิบัติศีลให้สูงขึ้นโดยลำดับ (อธิศีล) โดยใช้ศีลที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเอาไว้แล้ว คือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และ ศีลพระปาฏิโมกข์
 
2. กำหนดตั้งศีลให้สูงขึ้นโดยลำดับ (อธิศีล) โดยใช้อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางในการกำหนดตั้ง เรียกว่า อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และ อธิปัญญาสิกขา
 
***************
 
แนวทางที่ 1 เป็นแนวทางที่หลายๆคน อาจจะมองว่า เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ ค่อนข้างยาก
 
เพราะ มีศีลที่จะต้องยึดถือปฏิบัติ ค่อนข้างมาก

แต่ถ้าหากเราเข้าใจ “หลักการปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา” แล้ว

เราจะพบว่า จริงๆแล้ว มันไม่ได้ยากจนเกินไปนัก

เพราะ เมื่อเราสามารถปฏิบัติศีลข้อหนึ่งข้อใด ให้เป็นปกติของเราได้แล้ว
 
เราก็ไม่ต้องยึดไม่ต้องถือศีลข้อนั้นอีก เพราะศีลข้อนั้น ได้เป็นปกติของเราแล้ว


และ อาจจะมีศีลอยู่หลายข้อ ที่เป็นปกติของเราอยู่แล้ว เช่น การไม่ลักทรัพย์ การไม่ฆ่าสัตว์ การไม่เสพสุราและสิ่งเสพติด ฯลฯ
 
***************
 
แนวทางที่ 2 เป็นแนวทางที่ผู้เขียน ใช้ยึดถือปฏิบัติอยู่

โดยผู้เขียนได้นำเอา “กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม และ การประกอบการงานอาชีพ” ของผู้เขียน ที่ยังไม่เป็นสัมมา ซึ่งจะก่อให้เกิดวิบากกรรมที่ไม่ดี (อกุศลวิบาก) อันเป็นมูลเหตุของ “ความทุกข์ ความโศก โรค โทษ และ ภัย” มากำหนดตั้งให้เป็นศีล ที่สูงขึ้นโดยลำดับ

ผู้เขียนคิดว่า แนวทางที่ 2 นี้ เป็นแนวทางที่เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ปฏิบัติที่เป็นฆราวาส

***************

๔. วัชชีปุตตสูตร

ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร

[๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี

ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ ทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถศึกษาในสิกขาบทนี้ได้”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ก็เธอจักสามารถศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา หรือ”

ภิกษุวัชชีบุตรนั้น กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาได้”

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา

เมื่อใด เธอศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อนั้นเธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็จักละราคะ โทสะ และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้ เธอจักไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล จักไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก

ครั้นต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อเธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็ละราคะ โทสะ และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เธอจึงไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล ไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก

วัชชีปุตตสูตรที่ ๔ จบ
 
เชิงอรรถ : ๑ วัชชีบุตร หมายถึงเป็นบุตรของวัชชีราชสกุล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๓๙)

เชิงอรรถ : ๒ สมัยที่พระวัชชีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคนั้น สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้มีเพียง ๑๕๐ ข้อ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๔๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑๐-๓๑๑ }
 
หมายเหตุ:

1. สิกขาบท น. ข้อศีล, ข้อวินัย. (ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร)

2. ภายหลังสิกขาบทได้เพิ่มเป็น 227 ข้อ
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 05 มิถุนายน 2565
Last Update : 5 มิถุนายน 2565 17:00:25 น. 0 comments
Counter : 513 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.