"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
17. จงเพียรหมั่นอบรมจิต และ อบรมปัญญา ให้ติดเป็นนิสัย



"จงเพียรหมั่นอบรมจิต และ อบรมปัญญา ให้ติดเป็นนิสัย"

     ภารกิจที่สำคัญที่สุด สำหรับชีวิต คือ
     การชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน
     ซึ่งเป็นมูลเหตุของความทุกข์ทั้งหลาย ออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น
     เพื่อทำให้จิตใจ สะอาดบริสุทธิ์ ผ่องใส ผ่องแผ้ว

***************

กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่ต้องชำระล้างออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น ได้แก่


     1. ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต (ความโลภ)
     2. ความไม่พอใจ ความขัดเคืองใจ ความโกรธ ความเกลียดชัง ความพยาบาท ความอาฆาตแค้น (ความโกรธ)
     3. ความหลงยึดมั่นถือมั่น ในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง ในสัมผัส ในธรรมารมณ์ ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสุข ในทุกข์ ในจิต ในเจตสิกทั้งหลาย (ความหลง)

***************

วิธีการชำระล้าง (ขัดเกลา) กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น คือ
การเพียรหมั่นอบรมจิต (สมถภาวนา)
และ การเพียรหมั่นอบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)

***************

การอบรมจิต และ การอบรมปัญญา
ต้องทำให้ติดเป็นนิสัย
จึงจะเกิดผลเป็น การลดลง การจางคลายลง และ การดับสิ้นไป ของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน โดยลำดับ

***************

การอบรมจิต และ การอบรมปัญญา ให้ติดเป็นนิสัย มีวิธีการ ดังนี้

1. เมื่อใดก็ตาม ที่มีความโลภ ความโกรธ และ ความหลง เกิดขึ้นในจิต
    จงเพียรพยายาม ทำจิตให้สงบระงับ ให้ตั้งมั่น ให้เป็น “สมาธิ”
    จงพยายามอย่าปล่อยให้จิต ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ที่กำลังเกิดขึ้นในจิต
    เพื่อทำความระงับ ดับความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ที่กำลังเกิดขึ้นในจิต
    เป็นการทำความมีสติ เพื่อรับรู้การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป โดยไม่ปรุงแต่ง (สังขาร) ตาม

2. จงเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนเห็นชัดแจ้งถึง ความเป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา) ของความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ที่กำลังเกิดขึ้นในจิต หรือ ที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วในจิต เพื่อทำให้เกิด การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้ ดังนี้
     1.1 ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง...เป็นสิ่งที่ ไม่อาจยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ได้ เพราะเหตุว่า มันมีความไม่เที่ยง มีความไม่ยั่งยืน เป็นธรรมดา (อนิจจัง) ถ้าเราไม่เอาจิตเอาใจ เข้าไปปรุงแต่ง (สังขาร) ร่วม มันจะดับลงไปเอง ในเวลา ไม่นานนัก
     1.2 ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง...เป็นสิ่งที่ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ เพราะเหตุว่า มันเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ โทษ และ ภัยทั้งหลาย
     1.3 ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง...เป็นสิ่งที่ สามารถทำให้ลดลงได้ จางคลายลงได้ และ ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจได้ (อนัตตา) เพราะเหตุว่า มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน มันเป็นแค่เพียงอุปาทาน ที่เกิดขึ้น ตามเหตุตามปัจจัย เท่านั้นเอง

3. จงเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนเห็นชัดแจ้งว่า “จริงๆแล้ว เราไม่ควรโลภ เราไม่ควรโกรธ และ เราไม่ควรหลง” เพื่อล้างความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ออกจากจิตใจ (จงอย่าปล่อยให้ค้างคาไว้ ในจิตใจ)

4. จงเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ตามดู ตามรู้ และ ตามเห็น ความลดลง ความจางคลายลง และ ความดับสิ้นไป ของความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ภายในจิต เพื่อให้เห็น “มรรคผล” แม้มีประมาณน้อย หรือ เพื่อให้เห็น “ความชนะ ในความแพ้” เพื่อทำให้เกิด “พลัง” ในการปฏิบัติต่อไป

***************

ผลดีของการอบรมจิต และ การอบรมปัญญา อย่างต่อเนื่อง จนติดเป็นนิสัย ยาวนานกว่า 20 ปี มีดังนี้


     1. เกิดสัมมาทิฏฐิ หรือ ปัญญาในทางธรรม มากขึ้น โดยลำดับ
     2. ความทุกข์ใจ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ ค่อยๆลดลง จางคลายลง และ ดับสิ้นไป
     3. กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ค่อยๆลดลง จางคลายลง และ ดับสิ้นไป โดยลำดับ
     4. ได้รับความสุขสงบ มากขึ้น โดยลำดับ
     5. มีสิ่งดีๆ หมุนเวียนเข้ามาในชีวิต อย่างต่อเนื่อง

ชาญ คำพิมูล


Create Date : 05 พฤษภาคม 2562
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:28:59 น. 5 comments
Counter : 2541 Pageviews.

 
เรืองธรรมมะ ผมก็พยายามทำ บางอย่างเจอที่เหมาะ ๆ ก็
เข้าเดินจงกรม นั่งสมาธิ(ที่ไม่มีคนอากาศไมร้อน) ส่วนใหญ่
จะไปปั่นจักรยาน ที่ชายทะเลห่างไกลคน หรือสวนสาธารณะที่
ไม่มีคนครับ..

ผมเข้าอ่านงานเขียนข้างบน กับส่วนอื่นแล้ว จขบ.คงจะเข้าสู่
ธรรมมะนาน..จนถึง ฌาน และอาจจะเลยไปบ้างแล้ว

อนุโมทนา สาธุ ๆ ๆ ครับ


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 5 พฤษภาคม 2562 เวลา:6:45:20 น.  

 
สาธุ ขอบคุณมากครับ คุณ ไวน์กับสายน้ำ


โดย: chancamp วันที่: 5 พฤษภาคม 2562 เวลา:9:51:50 น.  

 
สอบถามวิธีทำสมาธิครับ เริ่มนั่งกำหนดลมหายใจ พอจิตสงบแล้วยังต้องกำหนดที่ลมหายใจหรือไม่ หรือว่าทิ้งลมหายใจ ถ้าทิ้งลมแล้ว กำหนดอะไรครับ


โดย: 4nobletruth (สมาชิกหมายเลข 5197952 ) วันที่: 8 พฤษภาคม 2562 เวลา:15:00:37 น.  

 
สาธุครับ คุณ 4nobletruth

การทำจิตให้สงบ ให้ตั้งมั่น ให้เป็นสมาธิ เป็นสมถภาวนา (อบรมจิต)

เมื่อจิตสงบ ตั้งมั่น เป็นสมาธิ แล้ว

ให้เจริญวิปัสสนาภาวนา (อบรมปัญญา) ต่อครับ

โดยการเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง ให้เห็นจนชัดแจ้งถึง ความเป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา) ของความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วในจิต หรือ ที่ค้างคาอยู่ในจิต เพื่อทำให้เกิด การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้ หรือ ทำให้เกิดปัญญา ล้างอวิชชา


โดย: chancamp (chancamp ) วันที่: 9 พฤษภาคม 2562 เวลา:8:27:36 น.  

 
ขอบคุณครับ สาธุครับ


โดย: 4nobletruth (สมาชิกหมายเลข 5197952 ) วันที่: 9 พฤษภาคม 2562 เวลา:16:59:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.