"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
132. ปรับเปลี่ยนกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม ให้เป็นสัมมา (ให้เป็นกุศล) ตอนที่ 3



การปฏิบัติศีล ให้เป็นปกติ

ต้องใช้ “การปฏิบัติสมาธิ (สมถภาวนา)” และ “การปฏิบัติปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)” ร่วมกัน
 
***************
 
การปฏิบัติสมาธิ (สมถภาวนา) หมายถึง การอบรมจิต

การอบรมจิต หมายถึง การทำจิตใจ ให้สงบ ให้ตั้งมั่น ให้ไม่หวั่นไหว ให้ไม่กระเพื่อมไหว ให้มีสติ ให้มีสมาธิ ให้ไม่หลงปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิเลส” เพื่อไม่ให้เกิด “การละเมิดศีล” เมื่อมี “ผัสสะ” มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ
 
การปฏิบัติสมาธิ หรือ สมถภาวนา เป็นการทำให้กิเลส ระงับดับลงไป เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำที่ไม่ดี (อกุศลกรรม) ที่เป็นการละเมิดศีล

การปฏิบัติสมาธิ หรือ สมถภาวนา เป็นการทำความมีสติ เพื่อรับรู้ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป ของกิเลส โดยไม่หลงปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิเลส” เมื่อมี “ผัสสะ” มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ

การปฏิบัติสมาธิ หรือ สมถภาวนา เป็นการเพียรพยายาม ไม่ปล่อยให้ “กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม” ไหลเลื่อนไปตาม “อำนาจของกิเลส” จนทำให้เกิด “การละเมิดศีล

การปฏิบัติสมาธิ หรือ สมถภาวนา เป็นการระงับ “การกระทำที่ไม่ดี (อกุศลกรรม)” ที่เป็นการละเมิดศีล เพื่อไม่ให้เกิด “อกุศลวิบาก” มาเติมเพิ่มในชีวิต
 
***************
 
การปฏิบัติปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) หมายถึง การอบรมปัญญา
 
การอบรมปัญญา หมายถึง การเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) จนพ้นสักกายทิฏฐิ จนพ้นวิจิกิจฉา จนพ้นสีลัพพตปรามาส โดยมีแนวทางในการเพ่งพิจารณา ดังนี้
 
  1. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควรละเมิดศีล ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด โดยเพ่งพิจารณา ให้เห็นถึง ความทุกข์ ความโศก โรค โทษ ภัย และ กรรมวิบาก (ผลของกรรม) ที่จะเกิดขึ้นตามมา จากการละเมิดศีล
 
ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่น หรือ การทำร้ายทำลายผู้อื่นสัตว์อื่น เราควรหมั่นเจริญ “เมตตาจิต”
 
ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความหลงใหลและความหลงยึดมั่นถือมั่นในรูปร่างกายของตน หรือ ความหลงใหลในรูปร่างกายของผู้อื่น เราควรหมั่นเจริญ “อสุภะ” เราควรหมั่นเจริญ “ปฏิกูลมนสิการ” และ เราควรหมั่นเจริญ “ธาตุมนสิการ”
 
  1. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)” ของกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลงใหลติดใจ ความหลงยึดมั่นถือมั่นเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นชอบใจ เป็นไม่ชอบใจ เป็นเกลียด เป็นชัง เป็นความอยาก เป็นความใคร่อยาก เป็นความอยากได้ เป็นความอยากมี เป็นความอยากเป็น เป็นตัวเป็นตนของตน เป็นของของตน ฯลฯ
 
การได้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา” ของกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล จะทำให้เกิด “การละหน่ายคลาย” และ เกิด “การปล่อยวางได้” ชื่อว่า “พ้นสักกายทิฏฐิ” คือ ไม่หลงยึดมั่นถือมั่นในกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ว่าเป็นตัวเป็นตนของตน หรือ เป็นของของตน
 
การได้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ของกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล จนพ้นสักกายทิฏฐิ ชื่อว่า “พ้นวิจิกิจฉา” หรือ “พ้นความลังเลสงสัย” ในกิเลสที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล (ทำให้เกิดปัญญา ล้างอวิชชา)
 
เมื่อเกิด “การละหน่ายคลาย” จนเกิด “การปล่อยวางได้” จน “พ้นความลังเลสงสัย” แล้ว ก็จะทำให้ “ฤทธิ์แรงของกิเลส” ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ค่อยๆลดลง และ ดับสิ้นไป (กิเลสดับ) และในที่สุด จะทำให้ศีล กลายเป็นปกติของตน ชื่อว่า “พ้นสีลัพพตปรามาส” คือ ไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ ไม่ต้องฝึกไม่ต้องฝืน อีกต่อไป
 
การเจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นการทำความเห็น ให้ถูก ให้ตรง ให้เป็นสัมมา (สัมมาทิฏฐิ) จนพ้นความลังเลสงสัย (พ้นวิจิกิจฉา) จนพ้นอวิชชา
 
***************
 
“กิเลส” ที่เป็นมูลเหตุของ “การละเมิดศีล” ในแต่ละข้อ ของแต่ละคน อาจมีความแตกต่างกันไป
 
ตัวอย่างเช่น 

การละเมิดศีลข้อที่ 1 ด้วยการฆ่าสัตว์

อาจมีมูลเหตุมาจาก ความโลภ ความโกรธ ความพยาบาทอาฆาตแค้น ความเกลียด ความกลัว ความหลงเข้าใจผิด ความหลงใหลติดใจในรสชาติของเนื้อสัตว์ ที่มีมาก จนต้องลงมือฆ่าด้วยตนเอง เพื่อให้ได้กินแบบสดๆ ฯลฯ
 
ชาญ คำพิมูล



Create Date : 13 มกราคม 2567
Last Update : 13 มกราคม 2567 7:24:07 น. 0 comments
Counter : 161 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.