"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
62. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 4



การดับกองทุกข์ทั้งมวล คือ การดับอวิชชา หรือ การละอวิชชา หรือ การทำให้เกิดวิชชา
 
การดับอวิชชา หรือ การละอวิชชา หรือ การทำให้เกิดวิชชา คือ การทำให้แจ้งในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ และ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
***************
 
การทำให้แจ้งในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ และ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
คือ การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน
 
***************
 
การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน มีเป้าประสงค์หลัก คือ
 
1. เพื่อทำให้เกิดการละหน่ายคลายในอุปาทานขันธ์ 5 หรือ เพื่อทำให้พ้นสักกายทิฏฐิ
 
2. เพื่อทำให้เกิดการปล่อยวางอุปาทานขันธ์ 5 หรือ เพื่อทำให้พ้นอัตตานุทิฏฐิ
 
3. เพื่อทำให้เกิดการปล่อยวางกิเลส จิต และ เจตสิก หรือ เพื่อทำให้พ้นมิจฉาทิฏฐิและดับอวิชชา

 
***************

มรรคมีองค์ 8 ประกอบด้วย
 
1. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
 
2. สัมมาสังกัปปะ (ความคิดชอบ)
 
3. สัมมาวาจา (วาจาชอบ)
 
4. สัมมากัมมันตะ (การกระทำทางกายชอบ)
 
5. สัมมาอาชีวะ (การประกอบอาชีพ)
 
6. สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)
 
7. สัมมาสติ (การมีสติชอบ)
 
8. สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิชอบ)

***************

การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน
 
มีวิธีการดังนี้ คือ
 
1. กำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติให้เป็นปกติ โดยใช้มรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางในการกำหนดตั้ง เพื่อทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ
 
2. ใช้ “สมาธิ (สมถะ)” ระงับการปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดศีล และ เพื่อไม่ให้เกิดการสั่งสมพอกพูนของ กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน เป็นการทำให้กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ระงับดับลง
 
3. ใช้ “ปัญญา (วิปัสสนา)” เพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนเห็นชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน เพื่อทำให้เกิดการละหน่ายคลาย และ เกิดการปล่อยวางได้ หรือ เพื่อทำให้พ้นสักกายทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ และ อวิชชา
 
ชาญ คำพิมูล



Create Date : 02 สิงหาคม 2563
Last Update : 2 สิงหาคม 2563 4:18:32 น. 0 comments
Counter : 577 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.