"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
114. อย่าเชื่อสิ่งใดๆ โดยง่าย



ผู้เขียนเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง

ที่เกิดมาแล้ว มีความทุกข์

เพราะมีความทุกข์ จึงปรารถนา ที่จะทำความดับทุกข์

เพราะปรารถนา ที่จะทำความดับทุกข์ จึงพยายามค้นหา “วิธีการดับทุกข์

เพราะพยายามค้นหา “วิธีการดับทุกข์” จึงได้พบกับ “หนทางสู่ความดับทุกข์ (อริยมรรคมีองค์ 8)

เพราะได้พบกับ “หนทางสู่ความดับทุกข์” จึงเพียรพยายาม “เดินไปตาม หนทางสู่ความดับทุกข์

เพราะ “เดินไปตาม หนทางสู่ความดับทุกข์” จึงได้พบกับ “ความสุขสงบ (วูปสโมสุข)

เพราะได้พบกับ “ความสุขสงบ (วูปสโมสุข)” จึงปรารถนา ที่จะปล่อยวาง “ความสุขในทางโลก (โลกียสุข)

เพื่อทำความดับทุกข์
 
***************
 
การเดินไปตาม “หนทางสู่ความดับทุกข์ (อริยมรรคมีองค์ 8)

ยิ่งเดินไปข้างหน้า ยิ่งทำให้ความทุกข์ ลดน้อยลง โดยลำดับ

ยิ่งเดินไปข้างหน้า ยิ่งสุข ยิ่งสงบ ยิ่งเบา ยิ่งสบาย

ยิ่งเดินไปข้างหน้า ยิ่งใกล้จุดหมายปลายทาง คือ “ความดับทุกข์

***************
 
การปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์

ต้องปฏิบัติให้ถูกมรรคถูกทาง

และ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยลำดับ

จึงจะเกิดการบรรลุธรรม โดยลำดับ

คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหันต์
 
***************
 
การปฏิบัติธรรม ที่ถูกมรรคถูกทาง และ ถูกต้องโดยลำดับ คือ การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8” ด้วยการปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้นโดยลำดับ ให้เป็น “อธิศีล (ศีลอันยิ่ง) อธิจิต (จิตอันเป็นสมาธิยิ่ง) และ อธิปัญญา (ปัญญาอันยิ่ง)
 
ถ้าเราไม่เดินไปตามทาง อริยมรรคมีองค์ 8
แล้วเราจะถึงจุดหมายปลายทาง คือความดับทุกข์ ได้อย่างไร?
เพราะ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ หนทางสู่ความดับทุกข์

 
ไม่มีใคร ช่วยให้ใคร พ้นทุกข์ (ดับทุกข์) ได้
ตนของตนเท่านั้น ที่จะช่วยให้ตน พ้นทุกข์ (ดับทุกข์) ได้

 
ถ้าต้องการจะทำความดับทุกข์

จงเริ่มต้น “เดินไปตามทาง อริยมรรคมีองค์ 8

ด้วยการปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้นโดยลำดับ
 
***************
 
สิ่งต่างๆที่ผู้เขียน นำเอามาเขียนเป็น “บทธรรม

เป็นสิ่งที่ผู้เขียน กลั่นกรองเอามาจาก

ประสบการณ์การศึกษาธรรมและการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์ของผู้เขียนเอง
 
การนำเสนอบทธรรมต่างๆ

มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ “ให้เป็นแง่คิดมุมมองหนึ่ง” ของการศึกษาธรรมและการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์
 
ในบทธรรมต่างๆ อาจมีเนื้อหาสาระบางเรื่อง บางตอน หรือ บางส่วน

ที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ท่านผู้อ่าน ได้เคยรับรู้มาก่อน

ผู้เขียนไม่ได้ต้องการ ให้ท่านผู้อ่าน หลงเชื่อตาม

จงอย่าหลงเชื่อตาม สิ่งใดๆ โดยง่าย

โดยไม่ผ่านการพิจารณาไตร่ตรอง โดยรอบคอบ

และ โดยไม่ผ่านการพิสูจน์ให้เห็นจริง ด้วยตนเอง

ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้ ในกาลามสูตร ดังนี้

1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆกันมา (มา อนุสฺสเวน)

2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)

3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)

4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)

5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)

6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)

7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรอง ตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)

8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎี ที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)

9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะ น่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)

10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละ หรือถือปฏิบัติ ตามนั้น


ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ผู้แต่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
 
***************
 
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ ดีแล้ว (สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม)

เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อคำของผู้อื่น (สันทิฏฐิโก)

เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล (อะกาลิโก)

เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด (เอหิปัสสิโก)

เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เพื่อยึดถือปฏิบัติ (โอปะนะยิโก)

เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ)
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 21 มกราคม 2566
Last Update : 23 มกราคม 2566 5:09:17 น. 0 comments
Counter : 404 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.