"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
97. การปฏิบัติโอวาทปาฏิโมกข์ 3 เพื่อความดับทุกข์ ตอนที่ 8



การกำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อใช้ยึดถือปฏิบัติ

มีวัตถุประสงค์หลัก คือ

เพื่อชำระล้าง "กิเลส ตัณหา และอุปาทาน" ออกไปจากจิตใจ

หรือ เพื่อทำให้ "กิเลส ตัณหา และอุปาทาน" ลดลง จางคลายลง เบาบางลง และ ดับสิ้นไป
 
***************
 
การกำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อใช้ยึดถือปฏิบัติ

ต้องกำหนดตั้งให้สูงขึ้น ตามลำดับของกิเลส

คือ หยาบ (วีติกกมกิเลส) กลาง (ปริยุฏฐานกิเลส) และ ละเอียด (อนุสัยกิเลส)
 
***************
 
การกำหนดตั้ง “ศีล” ที่ไม่ถูกต้องตามลำดับ เช่น

การนำเอา “การหลงใหลติดใจในรสชาติของอาหาร” มากำหนดตั้งเป็น “ศีล” ในลำดับต้นๆ

หรือ การนำเอา “อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่านของจิต)” มากำหนดตั้งเป็น “ศีล” ในลำดับต้นๆ

จะทำให้เกิด ความทุกข์ ความเครียด และ จะไม่ทำให้เกิด “การบรรลุธรรมตามลำดับ

ดังนั้น เราจึงควร “กำหนดตั้งศีล ให้สูงขึ้นตามลำดับของกิเลส

เพื่อทำให้เกิด “การบรรลุธรรมตามลำดับ
 
***************
 
เมื่อเรามีศีล 5 เป็นปกติของเราแล้ว

ในลำดับต่อไป เราต้องกำหนดตั้งศีลของเรา ให้สูงขึ้นตามลำดับ เพื่อใช้ยึดถือปฏิบัติให้เป็นปกติ

โดยใช้อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางในการกำหนดตั้ง ดังนี้
 
1. นำเอาสัมมาวาจา ในส่วนที่เหลือ คือ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบคาย และ ไม่พูดเพ้อเจ้อ มากำหนดตั้งให้เป็นศีล

2. กำหนดตั้งศีลให้สอดคล้องกับ “สัมมาสังกัปปะ” และ “สัมมาอาชีวะ” ดังนี้ 

          2.1 กำหนดตั้งศีลเพื่อละพยาบาท หรือ เพื่อให้สอดคล้องกับความดําริในการไม่พยาบาท ดังเช่น
               ไม่พยาบาทอาฆาตแค้นผู้อื่นและสัตว์อื่น
               ไม่โมโหโทโสคิดปองร้ายผู้อื่นและสัตว์อื่น
               ไม่โกรธไม่เกลียดชังผู้อื่นและสัตว์
               ไม่แค้นเคือง ไม่หงุดหงิด
               ไม่ไม่พอใจ ไม่ไม่ชอบใจ   
         
          2.2 กำหนดตั้งศีลเพื่อละการเบียดเบียน หรือ เพื่อให้สอดคล้องกับความดําริในการไม่เบียดเบียน คือ ไม่กระทำในสิ่งที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นและสัตว์อื่น และ ไม่ประกอบอาชีพที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นและสัตว์อื่น เพราะเหตุแห่งความโลภ ดังเช่น
               ไม่เบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
               ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยการโกง และ ไม่ประกอบอาชีพที่เป็นการโกง (กุหนา)
               ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยการล่อลวง และ ไม่ประกอบอาชีพที่เป็นการล่อลวง (ลปนา)
               ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยการตลบตะแลง และ ไม่ประกอบอาชีพที่เป็นการตลบตะแลง (เนมิตตกตา)
               ไม่ประกอบอาชีพที่เป็นการยอมมอบตนในทางผิด (นิปเปสิกตา)
               ไม่ประกอบอาชีพที่เป็นการเอาลาภต่อลาภ (ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา)
               ไม่ประกอบอาชีพ ที่เป็นการเบียดเบียนและทำร้ายทำลายชีวิตผู้อื่นและสัตว์อื่น คือ ไม่ค้าอาวุธ ไม่ค้ามนุษย์ ไม่ค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร ไม่ค้าของเมา และ ไม่ค้ายาพิษ

          2.3 กำหนดตั้งศีลเพื่อละกาม หรือ เพื่อให้สอดคล้องกับความดําริในการออกจากกาม ดังเช่น
                ไม่หลงใหลติดใจ ในความสุขอันเกิดจากการเสพกามเมถุน
                ไม่หลงใหลติดใจ ในความสุขอันเกิดจากรูป
                ไม่หลงใหลติดใจ ในความสุขอันเกิดจากเสียง
                ไม่หลงใหลติดใจ ในความสุขอันเกิดจากกลิ่น
                ไม่หลงใหลติดใจ ในความสุขอันเกิดจากรส
                ไม่หลงใหลติดใจ ในความสุขอันเกิดจากการสัมผัสทางกาย
 
***************
 
และ เมื่อเราได้กำหนดตั้งศีลของเรา ให้สูงขึ้นโดยลำดับแล้ว

เราต้องทำศีลของเรา ให้เป็นปกติ

โดยใช้ “สมาธิ และ ปัญญา” ร่วมกัน (ทำเช่นเดียวกันกับ การทำศีล 5 ให้เป็นปกติ)
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ในลักษณะดังกล่าว

จะทำให้เกิด “อธิศีล (ศีลที่ยิ่ง) อธิจิต (จิตที่เป็นสมาธิยิ่ง) และ อธิปัญญา (ปัญญาที่ยิ่ง)

และ จะทำให้เกิด “การเคลื่อนไปตามทางอริยมรรคมีองค์ 8” คือ

ทำให้ “ความดำริ การกระทำทางกาย การพูดจา และ การประกอบอาชีพ” ของเรา เป็นสัมมายิ่งขึ้น (อธิศีล)

ทำให้จิตใจของเรา มี “สมาธิที่เป็นสัมมา” ยิ่งขึ้น (อธิจิต)

และ ทำให้เรา “มีความเห็นที่ถูก ที่ตรง ที่ชอบ ที่เป็นสัมมา (สัมมาทิฏฐิ)” ยิ่งขึ้น (อธิปัญญา)
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 08 พฤษภาคม 2565
Last Update : 8 พฤษภาคม 2565 5:38:17 น. 2 comments
Counter : 367 Pageviews.

 

สาธุ
ดีแล้วชอบแล้ว
ขอให้การเผยแพร่..
"การปฏิบัติโอวาทปาฏิโมกข์ 3 เพื่อความดับทุกข์"
ส่งผลอันดีงามสู่ จขบ.ในวันคล้ายวันเกิด


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 23 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:51:34 น.  

 
สาธุ ขอบคุณมากๆครับ คุณ เริงฤดีนะ


โดย: chancamp (chancamp ) วันที่: 23 พฤษภาคม 2565 เวลา:12:53:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.