"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
30. การขจัด "ความทุกข์" ออกจากจิตใจ ตอนที่ 2



การขจัด หรือ การชำระล้าง “ความหลงยึดมั่นถือ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส” หรือ อุปาทาน อันเป็นมูลเหตุของ “ความทุกข์” ออกจากจิตใจ

ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

เราต้องเพียรหมั่น “อบรมจิต (สมถภาวนา)”

และ เราต้องเพียรหมั่น “อบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)”

ด้วยการเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนเห็นชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)” ของ “ความหลงยึดมั่นถือ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส” หรือ อุปาทาน

และ การเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนเห็นชัดแจ้งที่ใจ ว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควร “เป็นทุกข์”

เพื่อทำให้เกิด “การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้”

หรือ เพื่อทำให้เกิด “ปัญญา (ในทางธรรม) ล้างอุปาทาน”

หรือ เพื่อทำให้เกิด “ปัญญา (ในทางธรรม) ล้างอวิชชา”

***************
 
แนวทางในการทำ การคิด และ การพิจารณา เพื่อขจัด หรือ เพื่อชำระล้าง “ความทุกข์” ออกจากจิตใจ มีดังนี้
 
๑. จงอย่ามัวทุกข์ใจ อยู่กับอดีต ที่มัน ผันผ่านไปแล้ว เพราะ เราแก้ไขอะไรไม่ได้ จงอย่าได้กังวลใจ ไปกับอนาคต ที่มัน ยังมาไม่ถึง เพราะ เราทำอะไรไม่ได้ จงทำวันนี้ ปัจจุบันนี้ ให้ดีที่สุด แล้วอนาคต จะถูกจัดสรร ให้ดีเอง
 
๒. เมื่อมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นมา ในชีวิต จงอย่าทุกข์ใจ จงอย่ากังวลใจ จงเพ่งพิจารณาดูว่า “เราสามารถจะทำสิ่งใด ได้บ้าง?” แล้วจงลงมือทำ “ให้เต็มที่ และ ให้เต็มกำลัง” และ เมื่อเราได้ทำ “อย่างเต็มที่ และ อย่างเต็มกำลัง” แล้ว ให้ปล่อยวาง จงอย่าทุกข์ใจ จงอย่ากังวลใจ ไปกับผล ที่จะเกิดขึ้น
 
๓. ปัญหาใดๆ ไม่ว่าจะใหญ่ หรือ น้อยนิด ถ้าเราได้เพ่งพิจารณา และ ไตร่ตรอง โดยรอบคอบ ด้วยความมีสติและมีสมาธิ เราจะพบ “ทางออกของปัญหา” เสมอ
 
๔. หลายๆปัญหา ที่เกิดขึ้นมาในชีวิต มักเกิดขึ้นมาจาก การคิดไปเอง และ การวิตกกังวลล่วงหน้าไปเอง
 
๕. ตั้งแต่เกิดมา จนถึงวันนี้ มีกี่ปัญหาแล้ว มีกี่เรื่องราวแล้ว และ มีกี่เหตุการณ์แล้ว ที่ผ่านเข้ามา ในชีวิต ทุกๆปัญหา ทุกๆเรื่องราว และ ทุกๆเหตุการณ์ เราสามารถ “ก้าวผ่านมันมาได้” มิใช่หรือ?
 
๖. “ปัญหา” จะกลับกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และ มีประโยชน์ ถ้าเรารู้จัก “เก็บเกี่ยวเอาประโยชน์” จากปัญหา

“คุณค่าประโยชน์ที่สำคัญของปัญหา คือ ช่วยทำให้เกิด การพัฒนากาย การพัฒนาจิต และ การพัฒนาสติปัญญา”

“ในทุกๆปัญหา มักมีสิ่งที่มีค่า แฝงอยู่เสมอ”

“ในทุกๆวิกฤต มักมีโอกาสดีๆ รออยู่เสมอ”
 
๗. จงอย่าทุกข์ใจ และ จงอย่ากังวลใจ ไปกับโลก และ สังคม ที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา

เพราะ ไม่มีประโยชน์อันใด 

การทำตน “เป็นคนแบกโลก และ แบกสังคม” ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร มากมายนัก

สิ่งที่เราควรทำ คือ

จงเพ่งพิจารณาดูว่า เราสามารถจะทำสิ่งใดได้บ้าง? เพื่อเกื้อกูลโลก และ เพื่อเกื้อกูลสังคม

แล้วจงลงมือทำ “ให้เต็มที่ และ ให้เต็มกำลัง” ตามสมควร

และ จงเพ่งพิจารณาดูว่า เราควรจะปรับตัว และ ปรับใจ อย่างไร?

เพื่อทำให้เรา สามารถอยู่ในโลกและในสังคมได้ อย่างมีความสุข
 
๘. ถ้าหากจำเป็น ต้องทำการงานใดๆ ที่ยาก ที่เราไม่ชอบ หรือ ที่เราไม่ถนัด จงสร้างความยินดี (ฉันทะ) ในการทำการงานนั้น ให้เกิดขึ้น เป็นลำดับแรก แล้วก้าวเดินไป ตามหลัก “อิทธิบาท ๔”

การสร้างความยินดี (ฉันทะ) ในการทำการงาน คือ การเพ่งพิจารณาให้เห็นถึง “คุณค่าประโยชน์ของการงานนั้น” และ การเพ่งพิจารณาให้เห็นถึง “ผลเสียของการไม่ทำการงานนั้น”
 
๙. จงทำทุกๆอย่าง ตามสเต็ป ตามขั้นตอน ที่ควรจะเป็น จงอย่ารีบร้อน จงอย่าทุกข์ จงอย่าเครียด จงอย่าวิตกกังวล
 
๑๐. จงค่อยๆก้าวเดินไปข้างหน้า ตามกำลัง ตามสมควร ด้วยความมั่นคง ด้วยความมีสติ และ ด้วยความมีสมาธิ จงรู้พัก จงรู้เพียร
 
๑๑. ปัญหาใดๆ ถ้าเราคิดหาแนวทางแก้ไขไม่ได้ ให้หยุดพักไว้ก่อน หรือ ให้นอนพักก่อน จงอย่าทุกข์ใจ จงอย่าเครียด และ จงอย่าวิตกกังวลใจ เมื่อเราตื่นขึ้นมา เราจะพบทางออกที่ดี รอเราอยู่
 
๑๒. ปัญหาใดๆ ถ้าไม่สามารถจะทำสิ่งใดๆได้เลย ให้เพียงรับรู้ แล้วปล่อยวาง เพราะ ไม่มีประโยชน์อันใด ที่จะทุกข์ จะเครียด และ จะวิตกกังวลใจ
 
๑๓. จงปล่อยวางงานเอาไว้ ในที่ทำงาน จงอย่านำเอางาน กลับมาที่บ้าน จงทำงานให้เต็มที่ และ ให้เต็มกำลัง ในเวลางาน
 
๑๔. การกระทำใดๆ ต้องมีแผน ๒ รองรับเสมอ.. เมื่อทำวิธีที่ ๑ แล้ว ไม่ได้ผล ก็ให้เปลี่ยนไปใช้ วิธีที ๒
 
๑๕. จงทำ “วันนี้” ให้ดีกว่า “เมื่อวาน” ให้ได้ ในทุกๆวัน

จงลองคิดดูเถิดว่า ถ้าเราสามารถจะทำวันนี้ ให้ดีกว่าเมื่อวานได้ ในทุกๆวัน แล้ว
อีก ๕ ปี ข้างหน้า หรือ อีก ๑๐ ปี ข้างหน้า

ชีวิตของเรา จะดีขึ้น มากมายเท่าใด?

และ ความรู้ความสามารถของเรา จะเพิ่มพูน มากขึ้นเท่าใด?
 
๑๖. สิ่งต่างๆ ที่เราคิดว่ามันยาก จริงๆแล้ว มันยาก ที่ก้าวแรก เท่านั้นเอง

จงเริ่มต้น ลงมือทำ อย่างจริงจัง

แล้วเราจะพบว่า มันไม่ยาก จนเกินความสามารถของเราเลย
 
๑๗. ความคิดเห็นที่แตกต่างของบุคคลอื่น อาจไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่มันอาจเป็น “การมองที่ต่างมุม” ที่จะมาเติมเต็มให้กับเรา จนทำให้เรา สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และ ทำให้เรา สามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

จงให้ความเคารพ ในความคิดเห็นของผู้อื่น

จงนำเอาความคิดเห็นของผู้อื่น มาใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อการตัดสินใจ

จงอย่าด่วนสรุป จงอย่าด่วนตัดสิน

และ จงอย่ายึดมั่นถือมั่น ในความคิดเห็นของตน ว่าถูกต้อง แต่เพียงผู้เดียว
 
๑๘. ในโลกใบนี้ มีสิ่งที่น่าจะเรียนรู้ และ น่าจะทำ อยู่มากมาย หลายประการ แต่...ชีวิตของคนเรา มีอยู่จำกัด

ดังนั้น เราจึงควร เลือกที่จะเรียนรู้ และ เลือกที่จะทำ ในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิต ทั้งในชาตินี้ และ ชาติต่อๆไป
 
๑๙. จงหยุดสร้างภาระ เข้ามาทับถมตน และ จงเริ่มต้น ทำชีวิต ให้ติดบวก
เพราะเหตุว่า “ชีวิตที่ติดลบ ย่อมมีความทุกข์ ความเครียด และ ความวิตกกังวล เป็นที่หมาย”

ฯลฯ ....
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 06 ตุลาคม 2562
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:33:14 น. 0 comments
Counter : 2449 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.