"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
102. การปฏิบัติโอวาทปาฏิโมกข์ 3 เพื่อความดับทุกข์ ตอนที่ 12



การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา
 
เพื่อปรับเปลี่ยน “กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม และ การประกอบการงานอาชีพ” ให้เป็นสัมมา
 
ต้องใช้ “สติที่เป็นสัมมา หรือ สัมมาสติ” ร่วมด้วย
 
***************
 
[๑๖๙] สัมมาสติเปนไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่ ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่ ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ
 

จาก พระอภิธรรมปิฎกเล่ม ๒ วิภังคปกรณ์ - หน้าที่ 99 พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่มที่ 35
 
***************
 
สติที่เป็นสัมมา หรือ สัมมาสติ” เป็นสติที่เกิดจาก “การเจริญสติปัฏฐาน 4
 
สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย
 
1. พิจารณากายในกาย (กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน)
 
2. พิจารณาเวทนาในเวทนา (เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน)
 
3. พิจารณาจิตในจิต (จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน)
 
4. พิจารณาธรรมในธรรม (ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน)
 
***************
 

*** สติปัฏฐาน 4 โดยสรุป ***
 
การพิจารณากายในกาย (กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน)
 
เป็นการทำความมีสติ โดยการเอาจิตไปจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก (อานาปานะ) เอาจิตไปจดจ่ออยู่กับอาการท่าทางของร่างกาย (อิริยาบถ) ทำจิตให้ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ (สัมปชัญญะ)
 
แล้วเพ่งพิจารณาให้เห็นถึงความจริงของกาย ทั้งภายในและภายนอก เพ่งพิจารณาให้เห็นถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกาย เพ่งพิจาณาให้เห็นจนชัดแจ้งว่า กายนี้ เป็นสิ่งสกปรกน่ารังเกียจ (ปฏิกูล) เพ่งพิจารณาให้เห็นจนชัดแจ้งว่า กายนี้ เป็นเพียงธาตุซึ่งประกอบขึ้นจาก ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และ ธาตุลม และ เพ่งพิจารณาให้เห็นจนชัดแจ้งว่า สุดท้ายแล้ว กายนื้ ก็ต้องกลายไปเป็นซากศพ (นวสีวถิกา)
 
แล้วเพียรพยายามกำจัด “ความโลภ ความอยากได้ ความกำหนัด ความใคร่อยาก (อภิชฌา) และ ความทุกข์ใจ (โทมนัส)” ที่เกิดขึ้นจาก “การหลงใหล และ การหลงยึดมั่นถือมั่นในกายของตนและในกายของผู้อื่น
 
การพิจารณากายในกาย ดังกล่าว
 
จะทำให้เกิด การละหน่ายคลายและเกิดการปล่อยวาง “การหลงใหล และ การหลงยึดมั่นถือมั่นในกาย
 
และ จะทำให้เรามีสติ ไม่เผลอสติ ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “ความโลภ ความอยากได้ ความกำหนัด ความใคร่อยาก (อภิชฌา) และ ความทุกข์ใจ (โทมนัส)” ที่เกิดจาก “การหลงใหล และ การหลงยึดมั่นถือมั่นในกาย
 
***************
 
การพิจารณาเวทนาในเวทนา (เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน)
 
เป็นการทำความมีสติ ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ (สัมปชัญญะ) เพื่อรับรู้การเกิดขึ้นของ “สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา (ไม่ทุกข์ไม่สุข)
 
แล้วเพียรพยายามกำจัด “ความโลภ ความอยากได้ ความกำหนัด ความใคร่อยาก (อภิชฌา) และ ความทุกข์ใจ (โทมนัส)” ที่เกิดขึ้นจากเวทนา โดยการเพียรพยายาม ไม่ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามเวทนาที่เกิดขึ้น (สักแต่ว่ารู้) และ เพียรเพ่งพิจารณาให้เห็นถึง ความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)” ของเวทนา
 
การพิจารณาเวทนาในเวทนา ดังกล่าว
 
จะทำให้เกิด การละหน่ายคลายและเกิดการปล่อยวาง “การหลงใหล และ การหลงยึดมั่นถือมั่นในเวทนา
 
และ จะทำให้เรามีสติ ไม่เผลอสติ ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “ความโลภ ความอยากได้ ความกำหนัด ความใคร่อยาก (อภิชฌา)  และ ความทุกข์ใจ (โทมนัส)” ที่เกิดขึ้นจากเวทนา
 
***************
 
การพิจารณาจิตในจิต (จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน)
 
เป็นการทำความมีสติ ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ (สัมปชัญญะ) เพื่อรับรู้สภาวะจิต คือ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีราคะ หรือเมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโทสะ หรือเมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโทสะ เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโมหะ หรือเมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโมหะ เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหดหู่ หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ (ถึงความเป็นใหญ่) ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นมหัคคตะ หรือเมื่อจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ เมื่อจิตเป็นสอุตตระ (ยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า) ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ หรือเมื่อจิตเป็นอนุตตระ (ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า) ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นอนุตตระ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราตั้งมั่น หรือเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้น หรือเมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น
 
แล้วเพียรพยายามกำจัด “ความโลภ ความอยากได้ ความกำหนัด ความใคร่อยาก (อภิชฌา) และ ความทุกข์ใจ (โทมนัส)” ที่เกิดขึ้น โดยเพียรพยายาม ไม่ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามสภาวะจิตที่เกิดขึ้น (สักแต่ว่ารู้) และ เพียรเพ่งพิจารณาให้เห็นถึง ความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)” ของสภาวะจิตที่เกิดขึ้น

การพิจารณาจิตในจิต ดังกล่าว

จะทำให้เรามีสติ ไม่เผลอสติ ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “ความโลภ ความอยากได้ ความกำหนัด ความใคร่อยาก (อภิชฌา) และ ความทุกข์ใจ (โทมนัส)” ที่เกิดขึ้นจากสภาวะจิต

 
***************
 
การพิจารณาธรรมในธรรม (ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน)
 
เป็นการทำความมีสติ ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ (สัมปชัญญะ) เพื่อพิจารณาเนืองๆ ในธรรม 5 หมวด คือ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 (อายตนะภายในและภายนอก) โพชฌงค์ 7 และ อริยสัจ 4 
 
แล้วเพียรพยายามกำจัด “ความโลภ ความอยากได้ ความกำหนัด ความใคร่อยาก (อภิชฌา) และ ความทุกข์ใจ (โทมนัส)” ทั้งหลาย
 
***************
 
สติที่เป็นสัมมา หรือ สัมมาสติ” เป็นหนึ่งในอินทรีย์ 5 ชื่อว่า “สตินทรีย์”
 
กำลังของ “สติที่เป็นสัมมา หรือ สัมมาสติ” เป็นหนึ่งในพละ 5 ชื่อว่า “สติพละ”
 
สติที่เป็นสัมมา หรือ สัมมาสติ” เป็นสิ่งที่จะต้อง “ทำให้โตขึ้น และ ทำให้มีกำลังมากขึ้น” เพื่อช่วยให้การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” บรรลุมรรคผลเร็วขึ้น
 
การหมั่นเจริญสติปัฏฐาน 4 จะทำให้ “สติที่เป็นสัมมา หรือ สัมมาสติ” โตขึ้น และ มีกำลังมากขึ้น
 
***************
 
สามารถศึกษาสติปัฏฐาน 4 เพิ่มเติมได้ที่ “พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค] ๑๐. มหาสติปัฏฐานสูตร - หน้าที่ 101”
 
และ สามารถดาวน์โหลดพระไตรปิฎกแปลไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 12 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ได้ที่ https://www.thepathofpurity.com/app/download/8288188586/TriMCU_12.pdf?t=1609600157
 
***************
 
ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร
อภิชฌา [อะ-พิด-ชา] (มค. อภิชฺฌา) น. ความโลภ, ความอยากได้, ตัณหา.
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 16 กรกฎาคม 2565
Last Update : 18 กรกฎาคม 2565 7:51:34 น. 0 comments
Counter : 395 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.