"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
109. พระนิพพาน คือ เป้าหมายสูงสุดของชีวิต ตอนที่ 3



ผู้ที่ต้องการพระนิพพาน

ต้องทำจิตใจของตน

ให้เหมือนดังแผ่นดิน
 
***************
 
จิตใจที่เหมือนดังแผ่นดิน

หมายถึง จิตใจที่สงบ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

ไม่มีการกระเพื่อมไหว

และ ไม่มี "การปรุงแต่ง (สังขาร)" ไปตามอำนาจของกิเลส

เมื่อมี “ผัสสะ” เกิดขึ้นจาก “การกระทบสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ
 
***************
 
ผัสสะ หมายถึง การกระทบ สัมผัส ถูกต้อง ที่ทำให้เกิดความรู้สึก
 
ผัสสะ เป็นความประจวบกันของสามสิ่ง คือ อายตนะภายใน(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) อายตนะภายนอก(รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) และวิญญาณ
 
***************
 
“ถ้าปรารถนาจะถึงพระนิพพานแล้ว

ต้องทำจิตทำใจของตน ให้เหมือนดังแผ่นดิน เสียก่อน

ไม่ใช่ เป็นของทำได้ด้วยง่าย

ต้องพากเพียร ลำบาก ยากยิ่งนัก จึงจักได้

จะเข้าใจว่า ปรารถนาเอาด้วยปาก ก็คงจะได้

อย่างนี้ เป็นคนหลง ใช้ไม่ได้ 

ต้องทำตัวทำใจ ให้เป็นเหมือนแผ่นดิน ให้จงได้

ลักษณะของแผ่นดินนั้น คนและสัตว์ทั้งหลาย จะทำร้าย ทำดี

กล่าวร้าย กล่าวดี ประการใด มหาปฐพีนั้น ก็มิได้รู้โกรธ รู้เคือง”


...เนื้อความจาก คิริมานนทสูตร
 
***************
 
การทำจิตใจ ให้เหมือนดังแผ่นดิน

คือ การดับกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ครอบงำจิตใจของเราอยู่

หรือ การขัดเกลา (ชำระล้าง) กิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ออกไปจากจิตใจ ให้หมดสิ้น
 
***************
 
วิธีการทำจิตใจ ให้เหมือนดังแผ่นดิน

คือ การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ ปัญญา

โดยใช้ “อริยมรรคมีองค์ 8” เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
 
**************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ ปัญญา”

เพื่อทำจิตใจ ให้เหมือนดังแผ่นดิน

หรือ เพื่อทำความดับแห่งกองทุกข์

หรือ เพื่อพระนิพพาน

ต้องมี "ผัสสะ" เป็นปัจจัย

จึงจะทำให้เกิด “มรรคผล” อย่างแท้จริง
 
***************

ผัสสะ เปรียบเสมือน “ข้อสอบ” หรือ “บททดสอบ
 
“ถ้าไม่มีผัสสะ เป็นปัจจัย เราจะไม่สามารถ ทำความดับของกิเลสได้ อย่างแท้จริง”
 
“ถ้าไม่มีผัสสะ เป็นปัจจัย จะเกิดการนอนเนื่องของกิเลส”

“ถ้าไม่มีผัสสะ เป็นปัจจัย เราจะไม่สามารถรับรู้ได้ว่า เราสามารถทำจิตใจของเรา ให้เหมือนดังแผ่นดิน ได้หรือยัง?”
 
***************
 
“ถ้าไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใด มากระทำให้เรา โกรธ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ
เราคงไม่มีโอกาส ได้ขัดเกลาความโกรธ ออกจากจิตใจของเรา (ดับความโกรธ)”

 “ถ้าไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใด มากระทำให้เรา โลภ อยากได้ อยากมี อยากเป็น
เราคงไม่มีโอกาส ได้ขัดเกลาความโลภ ออกจากจิตใจของเรา (ดับความโลภ)”

“ถ้าไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใด มากระทำให้เรา หลงใหลติดใจ หรือ หลงยึดมั่นถือมั่น
เราคงไม่มีโอกาส ได้ขัดเกลาความหลง ออกจากจิตใจของเรา (ดับความหลง)”

"จงรู้จักเก็บเกี่ยวเอาประโยชน์ จากผัสสะ"

***************

“[๑๑๙] ราหุล เธอจงเจริญภาวนา ให้เสมอด้วยแผ่นดินเถิด
เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา ให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่
ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจ และไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว
จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้
คนทั้งหลาย ทิ้งของสะอาดบ้าง  ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง
ลงบนแผ่นดิน
แผ่นดินจะอึดอัดระอา หรือรังเกียจของนั้น ก็หาไม่ แม้ฉันใด
เธอก็ฉันนั้น เหมือนกัน
จงเจริญภาวนา ให้เสมอด้วยแผ่นดิน
เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา ให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่
ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจ และไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว
จักครอบงำจิตของเธอ ไม่ได้
 

...เนื้อความจาก มหาวาหุโลวาทสูตร พระไตรปิฎก โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๙
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 05 พฤศจิกายน 2565
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2565 7:00:05 น. 0 comments
Counter : 426 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.