"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
73. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 14



การทำความดับแห่งกองทุกข์ หรือ การปฏิบัติธรรมเพื่อความดับทุกข์

ต้องมี “ผัสสะ” เป็นปัจจัย

จึงจะทำให้เกิด การบรรลุธรรมจริง

หรือ จึงจะทำให้เกิด การดับจริงของราคะ (วิราคะ) และตัณหา

***************

ผัสสะ คือความประจวบกันของสามสิ่ง คือ อายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) และ วิญญาณ (ความรับรู้)

***************

ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกาม

เพราะผัสสะดับ กามจึงดับ

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกาม ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
 
ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ
 
ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา

เพราะผัสสะดับ สัญญาจึงดับ

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ
 
ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

เพราะผัสสะดับ กรรมจึงดับ

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรมได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ
 

...ข้อความบางส่วน จาก พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗๓ - ๕๗๗ }
 
***************

อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือ ด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
       เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
       เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
       เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
       เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
       เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
       เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
       เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
       เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
       เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
       เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

.
..ข้อความบางส่วน จาก ปฏิจจสมุปปาทสูตร
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒}


***************

การปฏิบัติธรรม เพื่อการบรรลุธรรม

ต้องมี “ผัสสะ” เป็นปัจจัย

จึงจะทำให้เกิด การขัดเกลาจิตใจได้จริง

หรือ จึงจะทำให้เกิด การขัดเกลา (ชำระล้าง) กิเลส ราคะ ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจได้จริง

หรือ จึงจะทำให้เกิดการดับจริงของ กิเลส ราคะ ตัณหา และ อุปาทาน

***************

ถ้าไม่มี “ผัสสะ” เป็นปัจจัย

จะทำให้เกิด การนอนเนื่องของกิเลส ราคะ ตัณหา และ อุปาทาน

และ จะทำให้เกิด การหลงผิดคิดไปว่า ตนเองได้บรรลุธรรมแล้ว

ดังนั้น จึงไม่ควร หลีกหนีผัสสะ หรือ หลบลี้หนีห่างจากผัสสะ

***************

“ผัสสะ คือสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ในการปฏิบัติ เพื่อทำความดับแห่งกองทุกข์”

“ผัสสะ เปรียบเสมือน แบบฝึกหัด หรือ แบบทดสอบ”

“ถ้าไม่มีผัสสะ เราจะไม่รู้ว่า เราสามารถเอาชนะกิเลสได้แล้ว จริงหรือไม่?”
 
“ถ้าไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใด มากระทำให้เราโกรธ เราจะไม่มีโอกาส ได้ขัดเกลาความโกรธ ออกจากจิตใจของเรา (ดับความโกรธ)”

 “ถ้าไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใด มากระทำให้เราโลภ (อยากได้ อยากมี และ อยากเป็น) เราจะไม่มีโอกาส ได้ขัดเกลาความโลภ ออกจากจิตใจของเรา (ดับความโลภ)”

“ถ้าไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใด มากระทำให้เราหลงใหลติดใจ หรือหลงยึดมั่นถือมั่น เราจะไม่มีโอกาส ได้ขัดเกลาความหลง ออกจากจิตใจของเรา (ดับความหลง)”

จงใช้ “ผัสสะ” ที่เกิดขึ้นมาในชีวิต เพื่อทำให้เกิดความปราศจากราคะ หรือ วิราคะ (ดับราคะ) อันจะนำพาชีวิตไปสู่ ความดับแห่งกองทุกข์

***************


ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

ผัสสะ น. การกระทบ การถูกต้อง เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).

ชาญ คำพิมูล
 


Create Date : 06 ธันวาคม 2563
Last Update : 6 ธันวาคม 2563 9:45:15 น. 0 comments
Counter : 640 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.