"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
38. โสดาบัน...การทำศีลให้บริบูรณ์ ตอนที่ ๒



เมื่อเราได้กำหนดตั้งศีลขึ้นมา เพื่อใชยึดถือปฏิบัติแล้ว

เราต้องปฏิบัติ “สมาธิ (สมถภาวนา)” และ “ปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)” ร่วมด้วย

จึงจะทำให้ศีลบริบูรณ์

หรือ จึงจะทำให้ศีลเป็นปกติ (ไม่ต้องยึด ไม่ต้องถือ)

***************

การปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา เพื่อทำให้ศีลบริบูรณ์ มีวิธีการดังนี้

๑. เพียรทำความมีสติ ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เพื่อรับรู้ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล

๒. เมื่อใดก็ตาม ที่มี อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล เกิดขึ้น ภายในจิตใจ จงเพียรพยายาม ทำจิตใจ ให้ตั้งมั่น ให้ไม่หวั่นไหว ให้เป็นสมาธิ เพื่อระงับจิต ไม่ให้ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล


๓. เพียรเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล ดังนี้

   ๓.๑ เพียรเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นถึง ความไม่เที่ยง ความไม่ยั่งยืน ความแปรปรวน ความไม่แน่นอน ความไม่อาจยึดถือเอาไว้ได้ (อนิจจัง) ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล

(ถ้าเราไม่เอาจิตเอาใจ เข้าไปปรุงแต่ง (สังขาร) ร่วม มันจะดับลงไปเอง ในเวลาไม่นานนัก)
 
   ๓.๒ เพียรเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นจนชัดแจ้งว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควรละเมิดศีล เพราะ การละเมิดศีล คือ มูลเหตุของความทุกข์ โทษ และ ภัย (ทุกขัง)

   ๓.๓ เพียรเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นจนชัดแจ้งว่า อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล นี้ มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน ไม่ใช่ของของตน (ไม่อาจจะกำหนดได้) มันเป็นแค่เพียงอุปาทาน ที่คนเรามีอยู่แตกต่างกัน เท่านั้นเอง และ มันเป็นสิ่งที่ สามารถจะทำให้ ลดลงได้ จางคลายลงได้ และ ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจได้ (อนัตตา)

***************

การได้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล ชื่อว่า พ้นสักกายทิฏฐิแล้ว หรือ ละสักกายทิฏฐิได้แล้ว

เมื่อได้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล แล้ว

ก็จะเกิดการหมดสิ้นความลังเลสงสัย ในอารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล ชื่อว่า พ้นวิจิกิจฉาแล้ว หรือ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว

เมื่อได้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล จนหมดสิ้นความลังเลสงสัยแล้ว

ก็จะเกิดการละหน่ายคลาย และ เกิดการปล่อยวางได้ ชื่อว่า พ้นสีลัพพตปรามาสแล้ว หรือ ละสีลัพพตปรามาสได้แล้ว

การปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา จนเกิดการละสังโยชน์ ๓ (สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาส) ได้แล้ว ชื่อว่า ได้ทำศีลให้บริบูรณ์แล้ว หรือ ได้ทำศีลให้เป็นปกติแล้ว
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 11 มกราคม 2563
Last Update : 11 มกราคม 2563 6:51:51 น. 0 comments
Counter : 2030 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.