"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
93. การปฏิบัติโอวาทปาฏิโมกข์ 3 เพื่อความดับทุกข์ ตอนที่ 4



การปรับเปลี่ยน “การกระทำ กรรมที่ไม่ดี (อกุศลกรรม)” ที่ติดเป็นนิสัย หรือ ที่เป็นปกติวิสัย ให้เป็น “การไม่กระทำ กรรมที่ไม่ดี (อกุศลกรรม)” จนติดเป็นนิสัย หรือ จนเป็นปกติวิสัย
 
และ “การหมั่นกระทำ กรรมที่ดี (กุศลกรรม) ให้ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน” จนติดเป็นนิสัย หรือ จนเป็นปกติวิสัย
 
ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
 
เพราะ
 
  1. กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ มันจะคอยชักนำจิตใจของคนเรา ให้คนเรา “กระทำกรรมที่ไม่ดี (อกุศลกรรม)
  2. กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ มันจะคอยยับยั้ง ไม่ให้คนเรา “กระทำกรรมที่ดี (กุศลกรรม) ที่ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน
  3. กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ มันจะคอยชักนำจิตใจของคนเรา ให้คนเรา “กระทำกรรมที่ดี (กุศลกรรม) โดยมุ่งหวังสิ่งตอบแทน เพื่อมาตอบสนองกิเลส ตัณหา และอุปาทาน
 
ดังนั้น จึงต้องใช้ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” มาขับเคลื่อน “การปรับเปลี่ยน
 
***************
 

ศีล หมายถึง สิ่งที่กำหนดตั้งขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติวิสัย หรือ ให้เป็นนิสัย โดยใช้อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางในการกำหนดตั้ง
 

สมาธิ หมายถึง การทำจิตใจให้สงบ ให้ตั้งมั่น ให้ไม่หวั่นไหว เพื่อไม่ให้จิตใจ “ปรุงแต่ง (สังขาร)” ไปตาม “อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่คอยชักนำจิตใจ ให้ละเมิดศีล” (การอบรมจิต หรือ สมถภาวนา)
 

ปัญญา หมายถึง การเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนเห็นชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็นทุกข์ เป็นโทษ และ เป็นภัย ของการละเมิดศีล และ เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนเห็นเชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) และ ในความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน (อนัตตา) ของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่คอยชักนำจิตใจอยู่ จนทำให้เกิด “การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้” (อบรมปัญญา หรือ วิปัสสนาภาวนา)
 
***************
 
การปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา ต้องปฏิบัติ “ให้สอดร้อย และ เกี่ยวเนื่องกันไป
 
และ ต้องปฏิบัติ ให้เกิดเป็น “อธิศีล (ศีลที่ยิ่ง) อธิจิต (จิตที่เป็นสมาธิยิ่ง) และ อธิปัญา (ปัญญาที่ยิ่ง)
 
จึงจะทำให้เกิด “การเคลื่อนที่ไปตามทาง อริยมรรคมีองค์ 8
 
ซึ่งจะมีผลดังนี้
 
  1. จะทำให้เกิด “ความเห็น (ทิฎฐิ)” ที่ถูก ที่ตรง ที่เป็นสัมมา ยิ่งขึ้น
  2. จะทำให้เกิด “ความนึกคิด (สังกัปปะ)” ที่ถูก ที่ตรง ที่เป็นสัมมา ยิ่งขึ้น
  3. จะทำให้เกิด “การพูดจา (วาจา)” ที่ถูก ที่ตรง ที่เป็นสัมมา ยิ่งขึ้น
  4. จะทำให้เกิด “การกระทำทางกาย (กัมมันตะ)” ที่ถูก ที่ตรง ที่เป็นสัมมา ยิ่งขึ้น
  5. จะทำให้เกิด “การประกอบการงานอาชีพ (อาชีวะ)” ที่ถูก ที่ตรง ที่เป็นสัมมา ยิ่งขึ้น
  6. จะทำให้เกิด “ความเพียร (วายามะ)” ที่ถูก ที่ตรง ที่เป็นสัมมา ยิ่งขึ้น
  7. จะทำให้เกิด “ความระลึกรู้ตัว (สติ)” ที่ถูก ที่ตรง ที่เป็นสัมมา ยิ่งขึ้น
  8. จะทำให้เกิด “ความสงบตั้งมั่นของจิตใจ (สมาธิ)” ที่ถูก ที่ตรง ที่เป็นสัมมา ยิ่งขึ้น
 
***************
 
อธิ (มค. อธิ) คำใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น แปลว่า พ้น, เหนือ, ทับ, ยิ่ง, เจริญ, เช่น อธิราช = พระราชาผู้ยิ่งใหญ่กว่าราชาอื่นๆ
 

พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 20 มีนาคม 2565
Last Update : 20 มีนาคม 2565 7:38:47 น. 2 comments
Counter : 362 Pageviews.

 
อนุโมทนาบุญ สาธุ ๆ ๆ ครับ ที่เผยแพร่พุทธศาสนา

เขียนได้เยอะนะครับเกือบ 100 ชิ้นแล้ว... ผมเองตั้งแต่ได้ศึกษา
เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาก็ปฏิบัติเท่าที่ทำได้ รู้สึกสงบ มีความสุขสงบ
ดี

ขอบคุณนะครับที่แวะไป เยือนบล๊อกผมเมื่อ 10 มีค เพิ่งเห็นครับ

ทีแรกผมเข้าดูไม่เห็นกล่องที่จะมาทักทาย (ไม่เหมือนบล๊อกคนอื่นจน ลองคลิ๊กที่ comments ) เลยมาทักทายและยินดีที่ได้รู้จักครับ


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 21 มีนาคม 2565 เวลา:6:12:22 น.  

 
ขอบคุณครับ คุณไวน์กับสายน้ำ ยินดีมากครับ ขอให้เจริญในธรรม ยิ่งๆขึ้นไป นะครับ


โดย: chancamp (chancamp ) วันที่: 21 มีนาคม 2565 เวลา:7:09:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.