ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสนามบิน
Amsterdams Schiphol Airport
บริเวณรอบ ๆ ทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบิน
มีการสร้างแนวป้องกันยกร่องพื้นดินและทางระบายน้ำ
รูปร่างเหมือนเหลี่ยมเพชรเชื่อมประสานกัน
Buitenschot Land Art Park คือ
พื้นที่สีเขียว/พื้นที่สาธารณะกว่า 80 เอเคอร์(200 ไร่)
ที่เหมือนงานศิลปะและแนวขุดยกร่องเป็นแนวสูง
พร้อมกับมีทางราบและทางระบายน้ำ
ใช้เป็นเส้นทางจักรยานและสนามกีฬา
แต่องค์ประกอบดังกล่าวเป็นส่วนเสริมเท่านั้น
เพราะวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แท้จริงคือ
การลดระดับเสียงความถี่ต่ำของเครื่องบินที่บินขึ้นลง
สนามบิน Schiphol ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ Amsterdam
คือหนึ่งในสนามบินที่การจราจรพลุกพล่านมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
เป็นศูนย์กลางของ KLM Royal Dutch Airlines
และจุดแวะพักที่สำคัญในการขนส่งสินค้าไปที่ทวีปเอเซีย
มีเที่ยวบินขึ้นลงมากกว่า 1,600 เที่ยวในแต่ละวัน
เมื่อลองเปรียบเทียบกับสนามบิน Atlantas Hartsfield-Jackson
สนามบินที่การจราจรพลุกพล่านที่สุดในสหรัฐอเมริกาและในโลก
จะมีเที่ยวบินขึ้นลงมากกว่า 2,500 เที่ยวในแต่ละวัน
ดังนั้น สนามบิน Schiphol จึงมีการจราจรพลุกพล่านและมีเสียงดัง
ในปี 1916 เมื่อกองทัพดัชท์ ได้สร้างสนามบิน
พวกเขาเลือกพื้นที่ลุ่มแห่งนี้เพราะขนาดของพื้นที่
ที่มีความราบ กว้างขวาง และเป็นที่โล่ง
ทำให้เหมาะสมกับการบินขึ้นลงของเครื่องบิน
แต่ในทางกลับกันคุณสมบัติดังกล่าวนี้
ทำให้เกิดผลข้างเคียงคือ คล้ายเสียงโทรโข่งยักษ์
ที่ส่งกระจายเสียงเครื่องบินไปรอบ ๆ บริเวณสนามบิน
ชาวบ้านและคนที่อยู่อาศัยในละแวกใกล้สนามบิน
ต่างเริ่มบ่นเกี่ยวกับเสียงดังของเครื่องบิน
ยิ่งในปี 2003 ที่มีการสร้างทางวิ่ง Polderban
ที่ยาวที่สุดและทันสมัยที่สุดในสนามบิน
คนที่พักอาศัยสามารถได้ยินเสียงอึกทึกเหล่านี้
แม้ว่าอยู่ห่างไกลไปจากสนามบินถึง 18 ไมล์ (28.9 กิโลเมตร) แล้วก็ตาม
และเสียงก็ดังแบบไม่หยุดหย่อนด้วยในแต่ละวัน
เสียงภาคพื้นดินจากการบินขึ้นลงของเครื่องบิน
เป็นเรื่องยากมากในการควบคุมเรื่องเสียง
เพราะเส้นทางเดินทางของคลื่นเสียง
ไม่สามารถป้องกันได้ด้วยแผ่นคอนกรีตป้องกันเสียง
ที่วางอยู่ตามด้านข้างถนนหรือบนทางด่วนรถยนต์
เพราะเป็นคลื่นความถี่ต่ำ จะกระจายสัญญาณได้ไกลกว่า/ไร้ทิศทาง
จึงแทรกซึมเข้าไป/ทะลุแผ่นป้องกันเสียงได้
ต่อมาในปี 2008 ทางสนามบินได้แนวทางแก้ไขแบบใหม่เพราะหลังจากให้
Netherlands Organization for Applied Scientific Research [TNO]
เป็นแกนนำในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเสียงนี้
ก็ค้นพบว่า ในฤดูใบไม้ร่วง
หลังจากพื้นที่ทำไร่ทำนาที่ผ่านการไถพรวนแล้ว
ระดับเสียงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เพราะร่องดิน/การยกร่องดินของชาวไร่ชาวนา
ที่มีในหลายแบบหลายแนวได้ดูดซับคลื่นเสียง
หรือลดทอนเสียงลงได้และทำให้เสียงเงียบลงได้
ประเทศ Netherlands มีชื่อเสียงและประวัติยาวนาน
ในเรื่องการสร้าง/ดัดแปลงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
เพื่อตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องของชาวบ้าน
เช่น ใน Amsterdam มีการสร้างระบบคลองขุดด้วยคนโดยรอบ ๆ จำนวนมาก
ดังนั้น โครงการขนาดใหญ่ในเรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงของสนามบิน Schiphol
จึงได้เริ่มลงมือทำขึ้นมา ด้วยการปรับปรุงภูมิทัศน์แวดล้อมสนามบิน
เพื่อลดทอนระดับเสียงภาคพื้นดินให้น้อยลงที่สุดเท่าที่จะทำได้
ด้วยการอนุมัติให้ H+N+S Landscape Architects
Dutch Profiles: H+N+S landscape architects
และศิลปิน Paul De Kort นักออกแบบสวนเขาวงกต
Paul De Kort ได้ใช้หลักการ/รูปแบบการทำงานในยุคศตวรรษที่ 17 ของ Chladni
ที่ทำการทำลองเรื่องเกี่ยวข้องกับเสียง acoustics
นักวิทยาศาสตร์เยอรมัน Ernst Chladni ที่ใช้ทรายหรือเกลือ
โรยบนแแผ่นโลหะแล้วสีซอไปมา ผลจากเสียง
มีการสร้างแรงสั่นสะเทือนทำให้มีการกระจายรูปภาพตามเสียงได้
นอกจากนี้ Paul De Kort ยังได้ทำการศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์
เกี่ยวกับเทคนิคการทำฟาร์มในพื้นที่ลุ่มน้ำมาก่อน Harlemmermeer
เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบครั้งนี้
" ผมพยายามสร้างสรรค์การเอื้อประโยชน์ร่วมกัน
ระหว่างองค์ประกอบภูมิประเทศที่มีแนวยกร่องเป็นสันเขา
กับสภาพแวดล้อมที่ดูน่าพึงพอใจ
Chladni Plates
De Kort ใช้เครื่องมือ GPS ในการระบุ/กำหนดตำแหน่ง
เพื่อทำการไถพรวนรูปทรงแนวตั้งเป็นร่องที่สมมาตรจำนวน 150 แถว
มีความสูงถึง 6 ฟุตวัดจากด้านล่างของร่องที่ระบายน้ำได้ในตัว
ในหุบเขาจำลองแห่งนี้ ได้มีสวนหย่อมขนาดเล็กและเส้นทางรถจักรยาน
ทั้งยังได้สร้างประติมากรรมเพื่อเป็นเกียรติประวัติของโครงการนี้
ให้ชื่อว่า สดับตรับฟัง Listening Ear รูปร่างคล้ายจานพาราโบลาขนาดใหญ่
ที่วางตะหง่านอยู่เหมือนกำลังรับฟังเสียงรอบด้านของสนามบินแห่งนี้
โครงการนี้เสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม 2013
Buitenschot (สวนศิลป์แนวร่องไถพรวน)
ลดระดับเสียงลงได้เกือบครึ่งหนึ่งได้ทันที
มีการติดตั้งตัวจับ/วัดระดับเสียงจำนวน 38 เครื่อง
รอบ ๆ บริเวณพื้นที่เป้าหมายโครงการแห่งนี้
และเมื่อได้มีการทดสอบอีกครั้งในปี 2014
เสียงในแต่ละพื้นที่ไม่เคยเกินกว่าระดับที่ต้องการเลย
รวมทั้งสนามบินพยายามที่จะร่วมมือในการลดระดับเสียงลง
ด้วยการเปลี่ยนเส้นทางบินขึ้นลงตามแนวร่องดินดังกล่าว
รวมทั้งให้สายการบินต่าง ๆ พยายามปรับปรุงเส้นทาง/การบินอย่างรวดเร็วด้วย
ผลการศึกษาของ NASA พบว่าโครงการสนามบิน Schiphol
การเผชิญหน้ากับระดับเสียงที่หลากหลายมากมายของเครื่องบิน
เป็นกรณีศึกษาและสร้างผลกระทบที่มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะถ้าความกังวลจากระดับเสียงมีการแก้ไขเพียงมิติเดียว
เช่น การลดจำนวนเที่ยวบินลง จะสร้างผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจได้
(ทำให้เศรษฐกิจหดตัวลงได้อย่างมาก)
" การบริหารจัดการระดับเสียงของเครื่องบิน
มีศักยภาพที่สร้างผลกระทบได้อย่างกว้างขวาง
ต่อการพัฒนาของประเทศ ระหว่างประเทศ การค้า
และมีผลเชิงลบอย่างมากกับอุตสากรรมการบิน " ผลการศึกษาระบุไว้
เสียงจากเครื่องบินที่บินขึ้นลงในสนามบิน
เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงและคัดค้านกันมาก
มีการประท้วงกันมากเรื่องเสียงเหล่านี้ทั้งที่สนามบิน
LaGuardia และ JFK ใน New York City
และเรื่องการลดระดับเสียงในสนามบินนี้ทำให้ FAA
กำลังสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
จากผลการศึกษาเรื่องเสียงในสนามบินเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี
ส่วนสนามบินที่การจราจรพลุกพล่าน เช่น ที่สนามบิน
Melbourne และ Londons Gatwick
ต่างกำลังเริ่มก่อสร้างแนวลดเสียงเลียนแบบธรรมชาติ
ที่คล้ายคลึงกับแบบสนามบิน Schiphol
นักวางแผนในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เพียงแต่สนามบิน
ต่างสนใจรูปแบบภูมิทัศน์ที่แก้ไขปัญหาเรื่องเสียงดัง
ใน Delhi ประเทศอินเดีย ผู้อยู่อาศัยในละแวก Panchsheel Park
ต่างบ่นเกี่ยวกับเรื่องระดับเสียงอึกทึกที่สูงเกินขีดทั้งวันทั้งคืนแล้ว
และได้ยื่นคำร้องกับ National Green Tribunal หน่วยงานของรัฐสภา
ให้สร้างแนวร่องสวนเพื่อลดระดับเสียงลง
ผลการศึกษากว่า 10 ปีของ U.S. National Parks Service
มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้
ระบุว่ามีระดับเสียงที่รบกวนในพื้นที่วนอุทยานกว่า 600 แห่ง
ที่ตรวจสอบพบได้ในแต่ละสถานที่
Kurt Fristrup นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นหัวหน้าทีมในการศึกษาเรื่องนี้
คาดการณ์ว่ามลพิษทางเสียงมีการเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก ๆ 20 ปี
การตรวจวัดและป้องกันเสียงแบบสนามบิน Schiphol
จะช่วยลดระดับเสียงให้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงได้
แต่สำหรับ Paul De Kort กล่าวว่ารู้สึกเห็นใจเหมือนกัน
ที่ผู้โดยสารบนเครื่องบินไม่ได้ชื่นชมผลงานสวนศิลป์ของเขา
พื้นที่ลดเสียงอยู่เบื้องหลังเครื่องบินที่บินขึ้นลงในสนามบิน
ซึ่งความจริงแล้วผู่โดยสารต่างบินจากไปในทิศทางอื่น
ทำให้ไม่สามารถมองเห็นพื้นที่แห่งนี้ได้จากบนอากาศ(เครื่องบิน) "
เรื่องเล่าไร้สาระ
เนเธอแลนด์ มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น ฮอลแลนด์ ฮอลันดา ดัชส์ วิลันดา
ชาวดัชส์มีชื่อเสียงมากในเรื่องระบบชลประทาน
การสร้างคูคลองระบายน้ำและมีพื้นที่ส่วนมากต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
ในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเรียกว่า ชาววิลันดา
ที่สงขลามีหลุมศพชาววิลันดา
อยู่ตรงปากทางเข้าคลังน้ำมัน ปตท.
บริเวณมรหุ่มสุลต่านสุไลมาน
(กูโบว์ ป่าช้าชาวมุสลิม ภาษาชาวบ้าน)
สันนิษฐานว่าเป็นศพชาววิลันดา
รายที่ได้รับการฝังน่าจะเป็นทหารรับจ้าง
หรือนายช่างที่มาก่อสร้างป้อมค่ายประตูเมืองสงขลา
หรือช่วยในการหล่อปืนใหญ่ของเจ้าเมืองสงขลา
สมัยสุลต่านสุไลมาน (ทวดหุม ภาษาชาวบ้านสงขลาเรียกท่าน)
ต้นตระกูลนามสกุล ณ พัทลุง ศรียาภัย ทิพย์ธารา ณ ป้อมเพ็ชร
ที่เคยทำสงครามรบกับพระนารายณ์มหาราช
จนต้องเจรจาสงบศึกกันไม่มีใครแพ้ใครชนะ
ส่วนในอินโดนีเซีย
ชาวบ้านจะเกลียดชังชาวดัชส์อย่างแรง
ใครที่ถูกเรียกคำนี้หมายความว่า
เป็นคนขี้โกงมากด้วยเล่ห์เหลี่ยมเต็มไปด้วยความชั่วร้าย
เพราะเคยบังคับคนพื้นเมืองให้ปลูกสมุนไพร
ส่วนมากเป็นพริกไทย และกาแฟ
และห้ามชาวบ้านกินกาแฟโดยเด็ดขาด
จนชาวบ้านต้องไปเก็บเม็ดกาแฟจากขี้ชะมด Kopi Luwak
ปรากฏว่าหอมอร่อยและรสชาติดีมาก
ก็ถูกห้ามเก็บกินกาแฟจากขี้ชะมดอีก
ราคากาแฟขี้ชะมดตอนนี้กิโลกรัมละหลายหมื่นบาทเป็นอย่างต่ำ
ผลความโลภและความชั่วร้ายของชาวดัชส์
ทำลายระบบนิเวศน์ประเทศนี้วอดวายไปมากมาย
และตามประวัติศาสตร์ชาวบ้านต่างอดตาย
จากการขาดแคลนอาหารและพื้นที่เพาะปลูกข้าว
จึงไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมตอนอินโดนีเซียได้เอกราช
จึงขับไล่ไส่ส่งพวกดัชส์กับพวกลูกครึ่ง
ออกจากประเทศนี้ไม่ต่างจากไล่หมูไล่หมา
เรียบเรียง/ที่มา