ตามเส้นทางตอนกลางของสหรัฐ
มักจะพบเห็นลูกศรคอนกรีตขนาดยักษ์
ทิ้งร้างอยู่เป็นแนวเกือบเป็นเส้นตรง
หัวลูกศรชี้ไปทางทิศตะวันตกทั้งหมด
สามารถพบเห็นได้ตามเส้นทาง
จากตะวันออกจรดตะวันตก
เรื่องราวลูกศรคอนกรีตมีที่มายาวนาน
ในยุคแรกที่มีกิจการไปรษณีย์ด่วน
จากทางทิศตะวันออกเมืองนิวยอร์ค
ไปจรดทิศตะวันตกเมืองซานฟรานซิสโก
ในยุคที่ระบบวิทยุโทรเลขยังไม่ทันสมัย
ยังไม่มี Internet GPSใช้งานเหมือนทุกวันนี้
ต้องใช้คนขับขี่ม้าหรือใช้รถม้า
ขนส่งข้าวของ/เอกสารข้ามประเทศ
พร้อมกับการดูเข็มทิศหรือแผนที่
หรือสังเกตทิศทางจากดวงดาวดวงตะวัน
ถ้าเกิดหลงทางขึ้นมาจะเสียเวลามาก
หรืออาจจะตายกลางทะเลทรายได้ในบางแห่ง
การเดินทาง/ไปรษณีย์ในยุคนั้น
จึงต้องกำหนดจุดพักระหว่างทาง
เพื่อเป็นจุดพักแรมของผู้คน
หรือพนักงานขนส่งสินค้าจะได้แวะพัก
ผลัดเปลี่ยนม้าหรือผลัดเวรขนส่งต่อไป
ต่อมา เมื่อเริ่มมีการใช้เรือบินทหารมากขึ้น
รัฐบาลสหรัฐจึงได้ใช้ประโยชน์จากแนวขนส่งเดิม
ในปี 1924 จึงมีการสร้างลูกศรคอนกรีตขนาดใหญ่
ยาวประมาณ 50-70 ฟุตชี้ไปทางตะวันตก
พร้อมกับหอคอยติดตั้งไฟนำทาง
ใช้น้ำมันจุดไฟตะเกียงให้แสงสว่าง
ติดตั้งตามแนวเส้นทางนี้
แสงไฟนำทางจากหอคอยแต่ละจุด
สามารถมองเห็นได้จากที่ไกลถึง 10-15 ไมล์(16.09-24.14 กิโลเมตร)
ตามทำเลที่ตั้งที่เป็นที่ราบหรือพื้นที่สูง
ตามแนวเส้นลองติจูดจากตะวันออกจรดตะวันตก
เส้นทางนี้มีการใช้ประโยชน์มาก
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กับ 2
มีการขนส่งเสบียงอาหารยุทโธปกรณ์
และเอกสารด้วยทางเรือบินตามเส้นทางนี้มาก
นักบินจะขับเรือบินไปตามแนวเส้นทางนี้
ยิ่งในยามค่ำคืนจะสามารถบินได้โดยไม่หลงทาง
ในยุคที่ยังไม่มีเรดาห์ วิทยุการบิน GPS เหมือนทุกวันนี้
ถ้าเกิดหลงทางแล้วเจอลูกศรขนาดยักษ์นี้
หรือเห็นไฟนำทางบนหอคอยแล้ว
ผู้คนที่ใช้เส้นทางนี้จะสามารถคลำทาง
เพื่อออกเดินทางต่อไปได้อีก
แม้ในทุกวันนี้คนที่หลงทางกลางทะเลทราย
ถ้าพบลูกศรนี้ก็แสดงว่าพอมีทางรอดแล้ว
ต่อมาเมื่อวิทยุการบินมีการพัฒนาดีขึ้นกว่าเดิม
ความจำเป็นในการใช้หอคอยไฟแสงสว่างนำทางและลูกศรคอนกรีต
จึงค่อย ๆ หมดความจำเป็นไปในที่สุด
จึงถูกปล่อยทิ้งร้างและถูกวัชชพืชปกคลุม
เสื่อมสภาพสลักหักพังเสื่อมสลายไปตามธรรมชาติ
เพิ่งจะมีการสร้างทดแทนจำลองแบบเดิมในนิวเม็กซิโก
เรียบเรียง/ที่มา
หมายเหตุ
การใช้เส้นทางเดินเก่าเป็นแนวนำทาง
เมืองไทยมีสมัยพระยารัษฏานุประดิษฐ์ (คอซิมบี๋)
ที่นำยางพารามาปลูกเป็นทางการรายแรกในไทย
อดีตเจ้าเมืองตรัง สมัยยังต้องส่งส่วยสาภาษีอากรให้เมืองหลวง
ตอนสร้างถนนเขาพับผ้าตัดจากตรังไปพัทลุง
เพราะเมืองพัทลุงปลูกข้าวมาก
ส่วนเมืองตรังขาดแคลนข้าว
กับการคมนาคมติดต่อไปมาหาสู่กันยาก
ท่านใช้วิธีการให้นำโจรเก่าหรือโจรร้าย
นำทางหนีทีไล่ในการหลบหลีกตำรวจในป่าเขา
บนทางเดินโจรที่ตัดเส้นทางระหว่างตรังกับพัทลุง
แล้วทำเป็นแนวตัดถนนบนเส้นทางนี้
สมัยนั้นยังไม่มีระเบิดเวลาเจอหินก้อนใหญ่ ๆ
จะใช้ไม้ฟืนจุดไฟเผาแล้วเอาน้ำเย็นราด
ให้ก้อนหินแตกออกมาเป็นเสี่ยง ๆ
แล้วค่อยใช้คนใช้ช้างลากทิ้งไป
สุดท้ายท่านตายกับกระสุนปืน
ที่มีการยิงผิดคนแต่ถูกตัวท่าน
ตอนอยู่ที่ท่าเรือกันตัง(ถ้าจำไม่ผิด)
เพราะคนรอบข้างของท่านเองไปก่อเหตุ
กล่าวคือ หมอที่ยิงถูกตัวท่าน
กล่าวหาว่าน้องชายท่าน
ไปเป็นชู้กับภริยา
หมอจึงมาดักยิงน้องชายท่าน
แต่ยิงผิดคนแต่ถูกตัวท่าน
ทำให้ต้องนอนเจ็บอยู่เกือบอาทิตย์
ก่อนตายเพราะพิษบาดแผล
ส่วนหมอที่ยิงท่านศาลตัดสินให้ปล่อยตัวจำเลยไป
พบกับท่านที่ปรโลกต่อไปด้วยการประหารชีวิต