เรื่องที่ไม่มีสอนในโรงเรียนแพทย์: The Untold Stories from The Medical School.
ใส่ซอง-ฝากพิเศษ



ไม่ว่าจะเรียกอะไร เงินก้อนนี้มีค่าเท่ากัน

ผมต้องเขียนเรื่องนี้ ผมต้องมีที่ระบาย ดูแล้วที่นี่น่าจะเหมาะที่สุดที่จะพูดเรื่องนี้ออกมา ขออภัยด้วยหากเรื่องนี้จะทำให้พี่น้องในวิชาชีพจำนวนหนึ่งต้องระคายเคืองหรื ออารมณ์เสีย แต่เมื่อใครสักคนต้องพบกับเรื่องแบบนี้บ่อย ๆ เขาก็ต้องการสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งเขาสามารถพูดออกไปแล้วมีคนฟัง (หรืออ่าน) บ้างตามสมควร ถ้ามันจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นมาบ้างก็คงจะดี อย่างน้อยมันก็คงไม่ได้เป็นแค่บทความทางโลกเสมือนจริงที่คนอ่านแล้วผ่านเลยไ ปโดยไม่น่าจดจำ
มาถึงเรื่องที่ผมจะบอกดีกว่า...

บ่ายวันหนึ่ง "ป้าศรี" ภรรยา "ลุงศักดิ์" ซึ่งเป็นผู้ป่วยคนหนึ่งของผมมารับยาให้สามีซึ่งนอนป่วยอยู่ที่บ้าน ป้าศรีมาที่ห้องตรวจแห่งนี้ทุกสองถึงสามเดือน วันนี้ป้าศรีดูไม่เหมือนวันอื่น ...ป้าใช้ร่มแทนไม้เท้า ค่อย ๆ เดินอย่างเชื่องช้า เหมือนหนึ่งว่าแต่ละก้าวของป้านั้นก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างหนัก ตาจ้องเขม็งไปที่พื้นข้างหน้าในระยะไม่เกินหนึ่งก้าว จ้องมองเหมือนกลัวจะสะดุดเศษฝุ่นผงที่ตกอยู่บนพื้น
"ปวดหลังหรือป้า?" ผมถามแบบเดาสุ่ม
ปกติป้าศรีเป็นคนที่คล่องแคล่วมาก การบาดเจ็บของสามีทำให้เธอต้องทำงานส่งลูกคนเดียวเรียนมหาวิทยาลัยแต่เพียงผ ู้เดียวพร้อมไปกับให้การพยาบาลสามีที่ชั่วชีวิตนี้ไม่มีวันจะลุกขึ้นมานั่งห รือเอ่ยชื่อภรรยาที่แต่งงานกันมายี่สิบกว่าปีอีกเลย

ก่อนนี้ป้าศรีจะเป็นคนเข็นเปลพาลุงศักดิ์เข้าห้องตรวจด้วยตัวเองแทบทุกครั้ง จนกระทั่งผมและป้าศรีเห็นพ้องต้องกันว่าลุงศักดิ์คงมีอาการดีขึ้นกว่านี้ไม่ ได้ จึงนัดป้าศรีให้มารับยาถ่าย น้ำยาทำแผล ยาลดเกร็ง ฯ เป็นระยะ
ป้าศรีทรุดตัวลงนั่งอย่างเชื้องช้า เหมือนภาพยนตร์ฉายภาพช้าในจังหวะที่ไม่จำเป็น ก่อนร่างกายจะสัมผัสเก้าอี้ ป้าศรีเกร็งตัวและหน้าเพื่อรอรับความเจ็บปวดที่จะตามมา
"ปวดหลังค่ะหมอ ปวดมาหลายเดือนแล้วหมอ" ป้าศรีตอบเป็นภาษาถิ่น
"ป้าไปรักษากับหมออะไรมาบ้างแล้วไหมล่ะ?"

ป้าศรีเป็นคนตัวเล็ก น้ำหนักไม่เกินห้าสิบกิโลกรัม ส่วนลุงศักดิ์เป็นคนตัวสูง แม้ว่าก่อนนี้จะไม่อ้วนมาก และน้ำหนักลดลงไปอีกมากหลังจากไม่สบาย ก็ยังเป็นปัญหาสำหรับป้าศรีทุกครั้งที่ต้องพยุงลุงให้ลุกขึ้นนั่งหรือพลิกตะ แคงตัว
"ป้าไปรักษากับ 'หมอสม' มาแล้วล่ะหมอ ไปหาแกที่คลีนิก เอ็กซเรย์แล้วหมอบอกว่ากระดูกทับเส้น"

"แล้วป้าปวดมากไหมล่ะครับ ?" ผมพูดพลางพลิกเวชระเบียนผู้ป่วยนอกดู ลุงศักดิ์อายุ 52 ปี ส่วนป้าศรีก็คงห้าสิบหรือห้าสิบเอ็ดปี "ป้าอายุเท่าไหร่แล้วล่ะ ?"
"ป้าห้าสิบแปดแล้วหมอ ...ป้าแก่กว่าลุงหลายปี" หลังพูดเสร็จ แววตาป้าศรีดูว่างเปล่าอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ทำให้ผมรู้สึกเหมือนหัวใจตัวเองกำลังเต้นผิดจังหวะอย่างไรพิกล

"แล้วหมอบอกว่ายังไงบ้างล่ะครับป้า ..จะต้องผ่าตัดไหม ?"
"หมอก็บอกให้ผ่าตัดนั่นแหละค่ะ แต่ป้าไม่มีตังค์เลยหมอ" แววตาป้าศรีกลับไปดูเหมือนว่างเปล่าอีกครั้ง
"ไม่เห็นเป็นไรเลยป้า ของลุงก็ยังใช้สามสิบบาทเลย" ...ผมโกหก ลุงศักดิ์ใช้ พรบ.

ปกติแล้ว ป้าศรีจะเป็นคนยิ้มแย้มอยู่เสมอ เผชิญหน้ากับปัญหาได้อย่างเหมาะสมมาโดยตลอด แม้การป่วยของลุงศักดิ์จะร้ายแรงจนทำให้ชีวิตของทั้งสามคนในบ้านต้องเปลี่ยน แปลงไปตลอดกาล ป้าศรีก็ไม่เคยแสดงให้เห็นว่ายอมแพ้ ไม่เคยร้องไห้ ป้าศรียอมรับความพิการอันรุนแรงของสามีได้ ตราบใดก็ตามที่ป้ายังดูแลสามีด้วยตัวเองได้ ...แต่วันนี้ผมยืนยันได้ว่าป้าศรีกำลังยอมแพ้อย่างช้า ๆ และอย่างทรมาน

"ป้ากลัว..." ป้าศรีเว้นจังหวะถอนหายใจ แล้วพูดต่อช้า ๆ "ป้ากลัวว่าใช้สามสิบบาทแล้วป้าจะไม่หาย ป้ากลัวเดินไม่ได้"
ป้าศรีทิ้งคำพูดไว้แค่นั้น แต่สีหน้าและดวงตาเหมือนกับจะบอกว่า 'แล้วใครจะดูแลลุงศักดิ์ต่อล่ะ ?'

"ของป้าเป็นคนละโรคกันกับของลุงนะครับ โรคของป้าพอผ่าตัดแล้วส่วนใหญ่ก็ดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็ไม่ปวดมาก ไม่ได้ผ่าแล้วแย่ทุกรายนะครับป้า"
ป้าศรีหยุดนิ่งไปนาน นึกคำพูดอะไรบางอย่างอยู่ แล้วก็ค่อย ๆ พูดช้า ๆ แต่น้ำเสียงหนักแน่น
"หมอศักดิ์บอกว่าถ้ากลัวก็ฝากพิเศษก็ได้ หมอคิดหมื่นหนึ่ง แล้วจะดูแลเป็นพิเศษ จะรีบลัดคิวให้ ...ป้าไม่มีเงินเหลือแล้วหมอ ลูกยังเรียนไม่จบเลย"


ผมเชื่อว่าป้าศรีไม่โกหก ไม่รู้เหมือนกันว่ามีเหตุผลอะไร แต่ผมก็เชื่ออย่างนั้น


"ป้าบอกหมอไปก็ได้ว่าป้าไม่มีเงิน รอเข้าคิวผ่าตอนลูกปิดเทอมก็ได้ ลูกจะได้มาช่วยดูแลลุงตอนป้านอนโรงพยาบาล" ผมนึกถึงแววตาของลูกสาวป้าศรีซึ่งแน่วแน่เหมือนแม่ไม่มีผิดเพี้ยน
"ป้าไปรักษาที่คลีนิกทุกทีเลยหมอ หมอแกยังไม่ได้นัดผ่าตัดเลย ข้างบ้านก็บอกว่าใส่ซองไปเถอะ ตอนแกมาผ่าก็ใส่ซองไปหมื่นนึงเหมือนกัน"
"ป้าจะมารักษาที่โรงพยาบาลไหมล่ะ ? เดี๋ยวหมอนัดเจอหมอคนอื่นให้" ผมนึกชื่อหมอรุ่นราวคราวเดียวกันได้สองถึงสามคน คนที่อย่างไรก็ไม่มีวันเรียกเงินจากคนป่วยเหล่านี้ น่าเสียดายที่รายชื่อเหล่านี้ลดน้อยลงทุกที ...เมื่อไหร่มันจะมาถึงคิวของผมนะ

"ไม่ดีหรอกหมอ ป้ารักษากับแกมานานหลายเดือนแล้ว มาผ่ากับหมอคนอื่นแล้วถ้าแกมาเห็นเข้ามันจะไม่ดี"
"ไม่เป็นไรหรอกป้า ไปขอใบส่งตัวมา แล้วมาหาผมคราวหน้าก็ได้ แล้วผมจะส่งไปให้หมอเขาดูให้ เขาไม่ว่าหรอก"
"แล้วมันจะไม่เป็นไรหรือคะ หมอ ?" ...ตั้งแต่ผมรู้จักป้าศรีมาเกือบปี คนเดียวที่ป้าศรีทำร้ายและทำลายคือตัวป้าศรีเอง
"ไม่เป็นไรแน่ ๆ ป้า ตอนผ่าลุงศักดิ์หมอยังไม่เรียกเงินป้าเลย บาทนึงป้าก็ยังไม่เคยให้หมอ หมอก็รักษาลุงมาตลอด..." มันต้องเป็นแบบนี้ มันต้องไม่มีใครไปรีดเลือดจากคนที่เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก คนที่แทบไม่มีความหวังใด ๆ หลงเหลืออยู่อีกแล้ว ผมเชื่ออยู่เสมอว่าในวงการแพทย์ 'ความหวัง'ไม่มีวันตีค่าเป็นเงินได้อย่างแน่นอน


ผม ...เรา ไม่เคยทำอะไรกับเรื่องแบบนี้ได้เลย นี่เป็นการให้โดยเสน่หา (ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสะกดแบบนี้ถูกหรือเปล่า) เป็นการปฏิบัตินอกระบบราชการ มันเป็นเวชปฏิบัติส่วนตัวซึ่งผู้ทำจ่ายค่าตอบแทนให้กับรัฐแล้วด้วยการไม่รับ เงินหนึ่งหมื่นบาทต่อเดือน เป็นการให้เพื่อขอคิวผ่าตัดและขอการรักษาที่ดีกว่า(หรืออาจไม่ดีกว่า)มาตรฐา นโดยไม่มีหลักฐานการรับเงิน คิวผ่าตัดอยู่ที่ปลายปากกา มิหนำซ้ำ จะผ่าตัดหรือไม่ก็อยู่ที่แพทย์นั่นเอง
ผมเชื่อว่านี่เป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่กัดกร่อนศรัทธาและท้าทายวงการแพทย์ อยู่ทุกวัน ก่อนนี้ผมเคยคิดว่าวงของการรับซอง/รับเงินนั้นถูกจำกัดอยู่ในกลุ่มแคบ ๆ แต่สิบปีที่ปฏิบัติอยู่ในวงการ ผมเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นแพทย์สาขาใดก็สามารถหาช่องทางเรื่องแบบนี้ได้โดยไม่ย ากเย็นนักถ้าวันนั้นคุณลืมเอาคุณธรรมติดตัวไปที่คลีนิกด้วย และหลายคนยินดีที่จะลืม และลืมได้บ่อยเสียอีก

สุดท้ายผมนัดป้าศรีมาอีกสองเดือน ป้าศรียอมรับความจริงที่ว่าถ้าเป็นมากกว่านี้ผลการรักษาอาจไม่ดี และลูกสาวอาจจะต้องลำบากเพราะต้องดูแลคนเจ็บสองคนแทนที่จะดูแลคนเจ็บคนเดียว ถ้าปวดมากหรือแย่ลง ป้าศรียินดีที่จะให้ผมปรึกษาหมอคนอื่นให้ ...หวังว่ารายชื่อหมอที่ผมคิดไว้จะไม่ลดน้อยลงในช่วงสองเดือนต่อจากนี้ไป


ถ้านักเรียนแพทย์หรือแพทย์ฝึกหัดได้ผ่านมาอ่านจนถึงบรรทัดนี้ ผมขอฝากเรื่องนี้ไว้ให้คิดไว้ด้วยว่าวันหนึ่งข้างหน้า ชีวิตของเราจะเดินไปในทิศทางใด จนถึงปัจจุบันผมยังเชื่อว่าคนดีมีมากกว่าคนไม่ดี แต่คนไม่ดีที่ฉลาดจะทำอันตรายคนอื่นได้มากกว่าคนไม่ดีที่โง่อย่างแน่นอน



ถ้ามันจะทำร้ายจิตใจมากจนเกินไป ก็ขอให้คิดว่ามันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเรื่องหนึ่งก็ได้ แล้วเราจะเจ็บปวดกับมันน้อยลง


post ครั้งแรก Thaiclinic.com/doctorroom 14 กค. 2549 หัวเรื่องเดียวกัน ใช้ชื่ออื่น




Create Date : 14 กรกฎาคม 2549
Last Update : 17 กรกฎาคม 2550 10:09:11 น. 2 comments
Counter : 868 Pageviews.

 
ครับ เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็เห็นซองแบบนี้เหมือนกัน ในที่ที่ทำงานอยู่นี่ล่ะครับ ก็รู้สึกตะหงิดๆนิดๆว่า สิ่งที่สอนกับสิ่งที่ปฎิบัติมันไม่เห็นเหมือนกันเอาซะเลย



โดย: keano (jonykeano ) วันที่: 5 กันยายน 2549 เวลา:22:05:39 น.  

 
แพทย์เป็นอาชีพที่มีฐานะค่อนข้างรวยอาชีพนึงเลยนะครับ เป็นเพราะแบบนี้นี่เอง ขอให้คุณธรรมมีกับแพทย์ใหม่ทุกคนนะครับ


โดย: ชาวบ้านเมืองกรุง IP: 10.15.20.111, 202.57.146.188 วันที่: 13 พฤษภาคม 2552 เวลา:9:53:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Zhivago
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




มนุษย์เข้มแข็ง
กว่าที่ตนคิดไว้เสมอ
New Comments
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2549
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
14 กรกฏาคม 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Zhivago's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.