เรื่องที่ไม่มีสอนในโรงเรียนแพทย์: The Untold Stories from The Medical School.
แพทย์-วลัยลักษณ์



ขอตอบแบบเลี่ยงคุกหน่อยก็แล้วกัน ...ผมว่ายังไม่ค่อยพร้อมนะ !

มีคน post ใน webboard ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่ามีคณะแพทยศาสตร์จะเปิดใหม่ในภาคใต้อีกสองแห่ง คือที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนราธิวาส แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นคำถาม หรือมาบอกเล่าให้ฟังโดยไม่หวังผลตอบแทน

ทำ link ไว้ให้ด้วย //dcg.wu.ac.th/doc.html
ลองไปอ่านหลักสูตรสำนักวิชาแพทยศาสตร์ดูนะครับ

สำหรับผมขอวิจารณ์เฉพาะของ ม. วลัยลักษณ์นะครับ

ปัญหาของการเปิดคณะแพทย์ฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก็คือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่มีโรงพยาบาลเป็นของตัวเอง จึงต้องติดต่อโรงพยาบาลที่จะใช้เป็นโรงพยาบาลหลัก เดิมติดต่อที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลตรัง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลวชิรภูเก็ตไว้ แต่สามโรงพยาบาลหลังตอบปฏิเสธ ส่วนโรงพยาบาลสมทบ ซึ่งประกอบด้วยโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไปในบริเวณข้างเคียงนั้นตอบรับเป็นบางสาขาวิชา

จึงเหลือเพียงโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชเพียงแห่งเดียวที่พอจะเป็นโรงพยาบาลหลักได้ โดยจากการประชุมสำรวจความพร้อม ได้กล่าวอ้างถึงข้อสรุปในที่ประชุมร่วมกับผู้บริหารโรงพายาบลมหาราช ฯ ว่าพร้อมที่จะรับนักศึกษาที่ส่งมาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มีบันทึกข้อสรุป แต่ไม่สามารถหาบันทึกการประชุมมาได้)

แต่ปัญหาของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชคือ
1. เปิดเป็นโรงเรียนแพทย์ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกเรียบร้อยแล้ว และรับนักศึกษามาแล้วจำนวน 16 คน ต่อปี ซึ่งจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มของรัฐาบล ทางสถาบันได้ขอเพิ่มยอดเป็น 32 คนต่อปี ซึ่งทางโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชเริ่มรับ 32 คนในปี 2549 (หรือ 2550-จำไม่ได้) และจะขึ้นชั้นคลีนิกในอีกสี่ปีข้างหน้า หากจะนำนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มารวม (48 คน) จะเป็นนักศึกษา 80 คนต่อหนึ่งปีการศึกษา ไม่นับรวมนักศีกศาแพทย์เวชปฏิบัติจากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ซึ่งจะลดจำนวนลงเรื่อย ๆ และจะหยุดส่งนักศึกษามาปฏิบัติงานในโอกาสต่อไป)

ในปัจจุบัน (พค. 2549) การเรียนการสอนของศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลีนิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ยังอยู่ในกลุ่ม "สถาบันใหม่" ซึ่งศักยภาพไม่เพียงพอสำหรับการเรียนการสอนนักเรียนจำนวนมากถึง 80 คนต่อปี แผนกอายุรกรรมยังไม่สามารถจัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นปีที่ 4 ได้จนกระทั่งปี 2549 (โดยก่อนหน้านี้ส่งนักศึกษาไปเรียนที่ศูนย์ฯ นครสวรรค์ มาโดยตลอด)

สำหรับการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์แพทย์ ได้มีการประชุมปรึกษาในองค์กรแพทย์ ถึงจำนวนสูงสุดที่จะรับนักศึกษาเพื่อการเรียนการสอนและการบริการที่เหมาะสม คาดการณ์ว่าน่าจะเป็น 32 คน และได้แจ้งไปทางคณะผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก่อนการประชุมหารือเรื่องการจัดการเรียนการสอนร่วมกันแล้ว

แต่จากการประชุมหารือของทางคณะผู้ประสานงานทั้งสองสถาบัน ที่มีข้อสรุปว่าโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช "สามารถ" รับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ (ตามย่อหน้าที่สาม) โรงพยาบาลมหาราชจึงได้รับการบรรจุเป็นโรงพยาบาลหลักในที่สุด


2. ปัญหาที่จะเกิดต่อเนื่องคือปัญหาด้านหลักสูตรการเรียนการสอน
ปัจจุบัน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชมีแพทย์ประจำประมาณ 80 คน และจากการคาดการณ์ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีไม่เกิน 90 คน (ถ้าไม่มีแพทย์ลาออกหรือโอนย้ายเลย) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นแพทย์ที่ไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนอย่างน้อยสิบคน (ผู้บริหาร-แพทย์อาวุโสที่ทำงานเฉพาะที่ OPD) ในจำนวนแพทย์ 80-90 คน และภายใต้ปรัชญาการทำงานที่อิงการบริการเป็นอันดับหนึ่ง การวิจัยเป็นอันดับสอง และการเรียนการสอนเป็นอันดับสาม ไม่สามารถจัดให้มีการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ได้

แพทย์พี่เลี้ยง (intern ที่สามารถทำงานในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีฯ จนครบ 3 ปี โดยไม่ต้องไปทำงานโรงพยาบาลชุมชน) ที่ได้รับจัดสรรค์ ก็มีจำนวนน้อย โดยได้รับแผนกละ 1 คนบ้าง 3 คน บ้าง ต่อปี และในปัจจุบันมีไม่ถึง 10 คน ไม่สามารถแบ่งเบาภาระงาน และช่วยการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ (ถึงจะมีผู้แย้งว่าแพทย์พี่เลี้ยงไม่สามมารถสอนได้ในทางทฤษฎีก็ตาม)

และหลักสูตรที่ทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดนั้น เป็นหลักสูตรที่ไม่เหมือนกับที่จัดให้นักศึกษาของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช การมีสองหลักสูตร จะทำให้กระบวนการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกัน การหมุนเวียนนักศึกษา การจัดตารางเรียน การจัดประสบการณ์เรียนรู้ การประเมินผล จะต้องเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้บุคลากรที่มีไม่เพียงพอกับการสอนระบบเดิมอยู่แล้ว ไม่สามารถสอนในอีกหลักสูตรหนึ่งได้อย่างเต็มที่

จึงเป็นไปได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะทำให้เกิดการเรียนการสอนทั้งสองมหาวิทยาลัยพร้อมกันในสถาบันเดียว (นักเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนักเรียนแพทย์โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช ซึ่งสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล)


3. การสนับสนุนทางวิชาการ
แม้กระทั่งในปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลีนิกของโรงพยาบาล ที่เปิดการเรียนการสอนนักศึกษามาแล้วหลายรุ่น ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นหน่วยงานของโรงพยาบาล ไม่มีการยอมรับจาก กพ. ตำแหน่งหัวหน้าศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา ยังเป็นตำแหน่งลอย ไม่สามารถให้การดูแล และคำแนะนำ รวมถึงออกคำสั่งในเรื่องการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ กระบวนการเรียนการสอนแทบทั้งหมดใช้วิธี "ขอร้อง" และส่งผ่านหัวหน้าแผนก เพื่อให้มีความร่วมมือในการเรียนการสอน และในความเป็นจริง ยังมีแพทย์อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่มีความสนใจในด้านการเรียนการสอน และไม่เข้าร่วมกับกระบวนการผลิตนักศึกษาแพทย์เลย (ทำเฉพาะงานบริการ-วิจัย-บริหาร) และทั้งหมดนี้ ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาไม่สามารถมีคำสั่ง หรือให้การบังคับได้ ซึ่งจะแตกต่างจากโรงเรียนแพทย์ในกระทรวงศึกษาธิการ (ทบวงมหาวิทยาลัยเดิม) ซึ่งจะถูกบังคับโดยระบบให้ต้องเตรียมการเรียนการสอน ต้องเตรียมบทเรียน ต้องมีชั่วโมงสอน เพื่อคงสถานะของตนในโรงเรียนแพทย์เอาไว้

แพทย์ที่เป็นอาจารย์ (ในตำแหน่งเป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยที่ร่วมผลิตด้วย) ไม่สามารถขอตำแหน่งวิชาการได้ และค่าตอบแทนสำหรับการเรียนการสอนยังไม่มีความดึงดูดให้แพทย์มาทำงานด้านการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ ทำให้การผลิตนักเรียนแพทย์ได้รับความสนใจไม่มากนัก หรือแม้กระทั่งเรื่องหอพัก-สถานที่เรียน ทางมหาวิทยาลัยก็จะยกให้เป็นภาระแก่โรงพยาบาล

จากทั้งหมดนี้ เป็นเหตุหนึ่งที่กระบวนการเรียนการสอนในสำนักวิชาแพทยศาสตร์อาจทำได้ไม่เต็มที่ แต่หากมีการปรับปรุงในเรื่องต่อไปนี้ อาจทำให้ระบบนี้สามารถดำเนินไปได้ดีขึ้น

1. หาสถาบันหลักให้มากขึ้น เพื่อแบ่งเบาความหนาแน่นของนักเรียนแพทย์
2. รับอาจารย์ชั้นคลีนิกด้วย เพื่อช่วยงานการเรียนการสอนในระดับชั้นปีที่ 4-6
3. การสนับสนุนงานวิชาการและการเรียนการสอน ต้องมีการประเมินการเรียนการสอน ให้มีความเหมาะสมทั้งในเรื่องเนื้อหา จำนวนนักเรียน จำนวนผู้ป่วย แหล่งข้อมูลทางการศึกษา และสนับสนุนงานวิชาการสำหรับแพทย์ในโรงพยาบาลหลัก เพื่อประสานงานระหว่างผู้จัดทำหลักสูตร และผู้สอน ทำให้หลักสูตรดำเนินต่อไปได้ (ปัจจุบัน หลักสูตรจะเป็นของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แต่การสอนจะเป็นหน้าที่ของแพทย์ในโรงพยาบาลหลัก)
4. การจัดหลักสูตร การหมุนเวียนนักศึกษา และการสอบ ควรเป็นในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ทำให้เป็นภาระแก่อาจารย์แพทย์ที่จะต้องสอนสองระบบ ประเมินผลสองระบบ และสอนในเนื้อหาที่แตกต่างกันไปอย่างไม่จำเป็น
5. ควรมีการตรวจสอบจากภายนอกอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในชั้นพรีคลีนิก และชั้นคลีนิก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเรียนการสอน


อยากให้ทุกท่านที่อ่าน ตรวจสอบข้อมูล และหาข้อมูลจากทั้งสองด้าน เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม กับทั้งตัวนักเรียนที่จะเข้าเรียน และสถาบันทั้งสองแห่ง

แต่โดยความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าความพร้อมยังไม่มากพอที่จะผลิตนักเรียนออกมาจำนวนมากระดับนี้ครับ

หมายเหตุ *post ครั้งแรก 19 พค. 2549, 15:30 น. ที่ webboard คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้ชื่อ "พี่น้องฯ"

Medicine PSU Webboard

post ครั้งที่สอง bloggang.com แก้ไขเพิ่มเติมข้อความบางส่วน

28 พฤษภาคม 2549


update ล่าสุด มีคำตอบมาจากการสอบถามต่อ ๆ กันไปอย่างไม่เป็นทางการ ทราบมาว่าทางแพทยสภาอาจไม่รับรองหลักสูตร เนื่องจากจะทำให้ในสถาบันเดียวต้องสอนสองหลักสูตรพร้อมกัน และมีตัวอย่างมาก่อนหน้านี้ว่าแพทยสภาไม่รับรองหลักสูตรเช่นกัน

...ไม่ได้คิดว่าไม่อยากช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์นะครับ แต่การคิดเพิ่มจำนวนแบบนี้ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหา แต่เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ และกระบวนการแก้ปัญหาก็รวบรัดตัดความจนเกินไป

ถ้าไม่สามารถส่งนักเรียนมาเรียนที่ รพ. มหาราชนครศรีธรรมราชได้ ก็จะต้องไปแก้ที่หลักสูตร ว่าจะให้โรงพยาบาลไหนเป็นสถาบันหลัก

ในปัจจุบัน โรงพยาบาลในภาคใต้ที่พอจะเป็นสถาบันหลักนั้นได้เปิดสอนนักเรียนแพทย์ไปจนครบแล้ว

-โรงพยาบาลหาดใหญ่ เปิดรับนักศึกษาของตัวเองแล้ว สามปีแรกฝากเรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เปิดรับนักศึกษาในโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกำลังจะมีนักศึกษาไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล
-โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช กำลังจะเพิ่มนักศึกษาของสถาบันเป็น 32 คน
-โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทราบข่าวมาว่าจะเปิดรับนักศึกษาแล้ว (ตามโครงการเดียวกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) โครงการครอบคลุมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ส่วนโรงพยาบาลอื่น ๆ ก็ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอในการผลิตแพทย์; โรงพยาบาลกระบี่ พังงา ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สงขลา(โรงพยาบาลสงขลา; ไม่ใช่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์)

คงเหลือแต่โครงการเดิมที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้พยายามติดต่อให้โรงพยาบาลตรังและวชิรภูเก็ตเป็นสถาบันหลักร่วมกัน แต่โรงพยาบาลทั้งสองยังไม่มีโครงการพัฒนาสำหรับดำเนินงานพัฒนาให้เป็นโรงเรียนแพทย์

ทางเลือกที่เป็นไปได้คือ
1. เลื่อนเวลารับนักศึกษาออกไป โดยมหาวิทยาลัยจะต้องรีบประสานงานกับโรงพยาบาลเป้าหมายเพื่อพัฒนาอาจารย์ให้เรียบร้อยก่อนเปิดรับนักศึกษา
2. หากไม่สามารถเลื่อนการรับนักศึกษา ทางมหาวิทยาลัยต้องเร่งพัฒนาอาจารย์ในสถาบันหลักที่จะส่งนักศึกษาไปในชั้นปีที่สี่ (กลางปี 2553) โดยเร็ว เพื่อรองรับนักศึกษาให้ได้
3. ปรับหลักสูตรให้เข้าได้กับของศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เพื่อรองรับการเรียนการสอนแบบเดียวกัน แต่จะต้องมีการกระทำอันเป็นรูปธรรมในการช่วยเหลือการผลิตในชั้นคลีนิก เพื่อแบ่งเบาภาระการสอนของแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งจะต้องรองรับนักศึกษา 80 คนต่อปีให้สามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในโรงพยาบาล

ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางมหาวิทยาลัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างในระยะเวลาสี่ปีต่อจากนี้ไป แต่สิ่งที่จะต้องกระทำก็คือ ทำอย่างบริสุทธิ์ใจและแก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมา เพื่อทำให้การผลิตแพทย์เพิ่ม เป็นการผลิตอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน




Create Date : 19 พฤษภาคม 2549
Last Update : 17 กรกฎาคม 2550 10:31:06 น. 28 comments
Counter : 6952 Pageviews.

 
//smd.wu.ac.th/


โดย: ข้อมูลใหม่ 2552 IP: 91.179.145.194 วันที่: 9 กรกฎาคม 2552 เวลา:0:36:16 น.  

 
//sites.google.com/site/excellentenglish99

เรียนภาษาอังกฤษกับคุณครูชาวอังกฤษ ใกล้ม.วลัยลักษณ์


โดย: Excellent English IP: 111.235.71.29 วันที่: 30 สิงหาคม 2553 เวลา:16:56:05 น.  

 
กรุณาอย่าพูดถึงสถาบันในด้านลบ เพราะวลัยลักษณ์มีด้านบวกที่มากกว่าด้านลบมาก คุณยังไม่เคยสัมผัสกับสำนักวิชาแพทย์ศาสตร์เลย คุณจะรู้ดีได้ยังงัย กรุณาอย่านำข่าวลือที่เค้าสร้างกระแสขึ้นมาแบบผิดๆมาพูดให้สถาบันเสียหาย เพราะแพทย์ไม่ว่าจะเรียนที่ไหน สถาบันจะมีชื่อเสียงมากน้อยแค่ไหน แต่หน้าที่ของเราคือให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างดีที่สุด ม่ายช่ายมาเปรียบเทียบสถาบันที่จบกัน ว่าฉันเก่งกว่าเทอ เพราะแพทย์จะต้องไม่ถือว่าตัวเองเก่งแล้ว อีกอย่างก้อคือคนที่เรียนที่สถาบันที่มีชื่อเสียงมักจะคิดว่าตัวเองเก่งแล้วเพราะสามารถสอบเข้ามาได้อย่างจะบอกว่าคิดแบบนี้ผิดมาก เพราะจะไม่มีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองหั้ยดีขึ้นเลย ยังคงทำตัวเหมือนเดิม บางคนทำตัวแย่ลงอีก แต่หากเราได้ไปเรียนที่สถาบันที่ยังไม่ค่อยมีชื่อเสียง เราก้อจะมีแรงผลักดันตัวเองให้มีศักยภาพเท่ากับสถาบันอื่นได้ จึงเท่ากับว่าสถาบันของเราได้มีการพัฒนาก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ผิดกับสถาบันที่มีชื่อเสียงอยู่ก่อนแล้วแต่ไม่ได้มีการพัฒนาอะไรเลย คุณคิดว่าแบบไหนดีกว่า อีกทั้งสถาบันทางการแพทย์ของไทยที่มีชื่อเสียงเค้าเริ่มต้นแบบนี้ทั้งนั้น หากทุกคนในสถาบันช่วยกันผลักดันสถาบันให้ก้าวไกล ไม่นานก้อจะมีชื่อเสียงขึ้นมา อีกทั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่ได้มุ่งเน้นในด้านวิชาการอย่างเดียวแต่สอนให้เราเป็น"คน"สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี และเข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริงดังคติพจน์ของสำนักวิชาที่ว่า"ความรู้ดี มีจรรยา เป็นที่พึ่งพาของชุมชน"ไม่เอาแต่ท่องหนังสือ เมื่อไปรักษาคนไข้จริงๆทำอะไรไม่ถูก หมอที่จบมาจากสถาบันที่มีชื่อเสียงบางคนจะรักษาคนไข้ต้องเปิดtextbookอ่าน แบบนี้การรักษาคนไข้จะมีคุณภาพได้ยังงัย และปัจจุบันสำนักวิชาแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำลังพัฒนาไปในทางที่ดี มีโรงพยาบาลรองรับแน่นอน และได้รับการยอมรับจากแพทยสภาด้วย ส่วนที่คุณได้กล่าวมานั้นปัจจุบันไม่ได้เปนความจริง ผู้ที่อ่านกรุณาเข้าไปที่เว็บของสำนักวิชาเพื่อดูข้อมูลที่ถูกต้อง อยากบอกว่าที่สำนักแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความอบอุ่นมาก อาจารย์หมอจะเปนกันเองกับนักศึกษามีความใกล้ชิดสนิทสนมกัน อยู่กันแบบพี่แบบน้อง ไม่ได้แข่งขันกัน ไม่ได้คิดว่าใครเก่งกว่าใคร และเน้นการฝึกปฏิบัติจริง นี่คือเอกลักษณ์ของที่นี่ที่ไม่เหมือนสถาบันใด


โดย: ข้อมูลใหม่2553 IP: 182.52.52.50 วันที่: 28 ธันวาคม 2553 เวลา:18:28:20 น.  

 
ความเห็นที่3 อ่ะ คนละเรื่องเดียวกันเลยนะ
โยงเรื่องผิดไปหมด เนื้อความเค้ากล่าวถึงความพร้อมของโรงพยาบาลในการรับนักเรียนแพทย์เพื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ แต่เคุณกลับตอบไปมั่ว นี่นะหรอ นักเรียนแพทย์ จับใจความยังไม่ถูกอีก ว่าเขาพุดเรื่องอะไรกัน


โดย: 11 IP: 223.206.22.220 วันที่: 1 มกราคม 2554 เวลา:2:42:26 น.  

 
ปกติผมไม่ค่อยตอบ response ใน webblog เท่าใดนัก (นับเป็นนิสัยไม่ดีประการหนี่ง) สำหรับกรณีนี้ขออนุญาตตอบความเห็นที่สามดังนี้

1 กรุณาอย่าพูดถึงสถาบันในด้านลบ

ด้านบวกด้านลบของสถาบัน(และคณะ ในที่นี้คือสำนักวิชา)นั้นผมคงวิจารณ์ไม่ได้ แต่เท่าที่ได้พูดคุยกับอาจารย์ระดับคลินิกของสถบันสมทบ(ตรังและภูเก็ต)จำนวนหนึ่ง ความพร้อมสำหรับการเรียนการสอนในระดับคลินิกยังต้องปรับปรุงอีกมาก ทั้งเรื่องการเรียนการสอน หลักสูตร การประเมินผล แน่นอนว่าสายการผลิตสำหรับรุ่นแรก ๆ นั้นคงยังไม่สมบูรณ์อย่างที่คุณได้บอกไว้จริง แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือผลลัพธ์ของความไม่สมบูรณ์ของผลผลิตนั้นจะไปตกที่ใคร ? เราปฏิเสธความจริงได้ แต่ผลของความจริงนั้นไม่มีใครปฏิเสธได้แน่นอน


2 หมอที่จบมาจากสถาบันที่มีชื่อเสียงบางคนจะรักษาคนไข้ต้องเปิดtextbookอ่าน

หมอที่จบมา ไม่ว่าจากสถาบันไหน จะรักษาคนไข้ต้องเปิด textbook อ่านทุกคนครับ ผมเรียนจบมาระยะหนึ่งแล้วก็ยังต้องเปิดอ่านอยู่ ไม่ผิดที่หมอจะเปิดหนังสืออ่านหากไม่รู้ครับ โลกก้าวไปไกลกว่าเราจะหยุดอ่านหนังสือแม้เพียงวันเดียว


3 มีโรงพยาบาลรองรับแน่นอน และได้รับการยอมรับจากแพทยสภาด้วย ส่วนที่คุณได้กล่าวมานั้นปัจจุบันไม่ได้เปนความจริง

ปัจจุบันมีโรงพยาบาลรองรับจริง แต่ใช้โรงพยาบาลต่างจังหวัดเป็นหลัก (ตรัง ภูเก็ต) มีโรงพยาบาลอำเภอในจังหวัดอีกส่วนหนึ่งเป็นสถานที่ฝึกอบรม สิ่งหนึ่งที่ผมอยากเรียกร้องคือให้มหาวิทยาลัยสร้างโรงพยาบาลของตนเอง ผมยังมองการส่งนักศึกษาออกไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหลาย ๆ แห่งโดยที่สถาบันแม่ข่ายไม่มีโรงพยาบาลเป็นของตัวเองไม่ออกว่าการเรียนการสอนและการประเมินผลจะทำให้เป็นแบบเดียวกันได้อย่างไร ? (ต้องขออภัยหากนี่เป็นระบบที่ผมยังไม่เข้าใจจริง ๆ )


จนปัจจุบันผมก็ยังยืนยันให้ศึกษาข้อมูลให้ดีทั้งสองด้าน มองทั้งด้านดีและข้อด้อยเพื่อประกอบการตัดสินใจครับ


โดย: Zhivago วันที่: 3 มกราคม 2554 เวลา:6:18:05 น.  

 
ครับผมอยู่ที่นี้ครับและผมคิดว่าที่นี้ยังขาดอะไรๆอีกหลายๆอย่างรู้สึกขาดโอกาสที่ควรจะได้รับในหลายๆสิ่งแรกๆก้รู้สึกน้อยใจนะครับเพราะรู้สึกว่าทั้งๆที่มีทางเลือกไม่น่ามาอยู่ที่นี้เลยแต่ตอนนี้ไม่ละครับอาจารย์ที่นี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรุ่นสร้างของที่อื่นมาก้ก้บอกเสมอว่า"รุ่นแรกๆทุกที่ก้เป็นอย่างนี้แหละแต่รุ่นแรกๆมักจะได้ดีเพราะเค้าอึด" อาจารย์บอกว่ามอ เค้ากางเต้นเรียน grossที่ลานจอดรถแต่เห็นรุ่นแรกๆของมอเห็นเค้าได้ดีกันทั้งนั้นพวกเธอยังโชคดีนะที่มีตึก gross เป็นของตัวเอง "และผมคิดว่าที่นี้ก้พยายามพัฒนาอยู่นะครับและคิว่าก้ไปได้เร็วพอสมควร โรงบาลก้ได้งบแล้วแต่สร้างช้ามากกกกกกไม่มีอะไรคืบหน้าธรรมดาของระบบราชการไทย


โดย: จากเด็กตัวเล็กๆ IP: 111.235.71.29 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:16:33:03 น.  

 
ขอโทษด้วยจิงๆนะครับที่มีการกล่าวอ้างถึงมอ คืออาจารย์ชอบเอามาเล่าให้ฟังครับ


โดย: จากเด็กตัวเล็กๆ IP: 111.235.71.29 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:16:40:07 น.  

 
ต้องขวนขวายให้มากและเกาะกลุ่มให้ดีครับ
เข้าใจว่ารุ่นแรก ๆ ต้องแบ่งกันไปเรียนที่ตรังกับภูเก็ต
ซึ่งต้องไปขึ้นกับอาจารย์ที่โรงพยาบาลเป็นอย่างมาก
ถ้าพื้นฐานดี โอกาสเรียนรู้เพิ่มเติมก็จะมากขึ้นด้วย

ผมบอกนักเรียนอยู่เสมอว่าตอนโดนฟ้อง
เขาจะไม่ถามหรอกว่าจบจากไหน
ไม่ว่าสถาบันเก่าแก่หรือสถาบันเปิดใหม่
ถ้าคนที่จบไปไม่มีความรู้และความรับผิดชอบก็จบเห่เหมือนกัน
ภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดคือต้องดิ้นรนหาความรู้ให้มากเข้าไว้ครับ


โดย: Zhivago วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:19:16:44 น.  

 
"ขอตอบแบบเลี่ยงคุกหน่อยก็แล้วกัน ...ผมว่ายังไม่ค่อยพร้อมนะ !"......

....ถึงแม้สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะยังไม่ค่อยพร้อมอย่างที่คุณว่า
แต่รู้ไหมค่ะ ดิฉันอยู่ที่นี่ฉันภูมิใจในความเป็นแพทยศาสตร์ของที่นี่มาก
"แม้ไม่พร้อมสรรพ์ทุกอย่างดังที่ใครๆมอง แต่เราพร้อมใจกันสร้างประวัติศาสตร์ค่ะ"
ไม่ว่าจะต้องพยายามขวนขวานแค่ไหนพวกเราก็ไม่เคยท้อ เพราะอะไรรู้ไหมค่ะ
ก็เพราะว่าทั้งหมดของนศพ.ที่นี่ เราเชื่อมั่นค่ะ เชื่อมั่นในสำนักวิชา เชื่อมั่นในอาจารย์
เชื่อมั่นในศักยภาพของพวกเราเอง รวมไปถึงเชื่อมั่นในความเป็นแพทย์ที่ไม่ได้วัดกันที่ความ
พร้อมหรือไม่พร้อม ความขาดแคลน ความห่างไกลจากเมืองศรีวิไลซ์ หรือไม่อันใด....
เพราะใจเราศรัทธาจนเกิดเป็นพลัง ที่ค่อยๆมี ค่อยๆเติมให้มันสมบูรณ์ขึ้นไปทีละน้อย
แม้วันนี้เราจะยังก้าวเล็กๆ ก้าวไม่ค่อยแข็งแกร่ง แต่อยากจะบอก ทุกคนให้ทราบน่ะค่ะ
ว่า นศพ.ที่นี้ไม่ได้ต้องการความพร้อมไปเสียทุกอย่างจนกระทั่งละเลยแม้กระทั่งความพร้อมทาง
จิต-ใจ ของตนที่ยังหาไม่เจอ(หรือไม่มี) ทุกคนที่นี่มีดวงไฟน้อยๆในใจนำทางอยู่เสมอไม่เคยหวั่นเกรงต่ออุปสรรคใดๆ
ปล.ขอบคุณสำหรับความหวังดีน่ะค่ะ
+หวังว่าแสงสว่างคงรออยู่ที่ปลายอุโมงค์น่ะค่ะ .....ในนามพระเยซูเจ้า..อาเมน


โดย: โปรดอย่ามองฉันเป็นสารละลาย IP: 202.28.68.33 วันที่: 3 มีนาคม 2554 เวลา:3:35:21 น.  

 
ขอทำความเข้าใจในที่นี้ก่อนนะครับ
บทความนี้เขียนเมื่อปี 2549 นะครับ
update ปี 2550 หนึ่งครั้ง

วันที่มีความพยายามจะให้โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชเป็นสถาบันฝึกอบรม (เมื่อสี่ปีก่อน) มีความพยายามอย่างยิ่งยวด ทั้งจัดห้องบรรยายเพิ่ม ซื้อคอมพิวเตอร์เพิ่ม ติดเครื่องปรับอากาศเพิ่ม ในห้องที่เป็นแม้กระทั่งห้องใต้บันใด เพื่อจะให้เข้าเกณฑ์สำหรับเป็นสถาบันฝึกอบรม โดยที่ขณะนั้นความพร้อมของบุคลากรยังไม่ได้เตรียมไว้รองรับเลย แม้ว่าในขณะนั้นโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชเป็นหนึ่งในสถาบันฝึกอบรมแล้ว แต่ศักยภาพก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการรับนักศึกษาที่จะมีจำนวนเพิ่มเป็นสามเท่า (จาก 16 คน และถ้าจะรับเพิ่มจาก ม.วลัยลักษณ์ ในอีกห้าปีถัดไปจากปี 2549 คือปี 2555 ก็ต้องเพิ่มนักเรียนเป็นสามเท่า)

บทความนี้กล่าวถึงสถานการณ์ดังกล่าว ในปีดังกล่าว ไม่ได้เป็นบทความที่ทำนายทายทักถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอีกห้าปีข้างหน้าแต่อย่างใด

บทความนี้เขียน comment สำหรับสถานการณ์เมื่อปี 2549 และ 2550 นะครับ ใครจะเรียนอยู่ปีสามปีสี่ตอนนี้ โปรดเข้าใจด้วย ถ้าจะ comment โปรด comment เหตุการณ์ที่เกิดเมื่อปี 2549 นะครับ ไม่ต้องบอกผมว่าตอนนี้สถาบันดีหรือไม่ดีอย่างไร เพราะทุกวันนี้ผมก็ได้รับเชิญไปสอนที่ ม. วลัยลักษณ์ 3 รายวิชา ต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่สามแล้ว นักเรียนนักศึกษาก็ลูกหลานทั้งนั้น ไปสอนก็เตรียมไปให้ทุกอย่างแล้ว ไม่ส่งมาก็ต้องไปสอนถึงวิทยาเขตอยู่ดี ลำบากกว่าส่งมาเรียนที่นี่อีก แต่ก็อย่างที่บอกว่าลูกหลานกัน เชิญมาก็ไปสอนให้ จะสร้างประวัติศาสตร์หรือจะขวนขวายอย่างไรนั้นเป็นเรื่องดีอย่างแน่นอนครับ เพราะผมก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้านี้เหมือนกัน


ย้ำอีกครั้งสำหรับ comment เกี่ยวกับบทความนี้ โปรดดูลำดับเวลาในการ post บทความด้วย ถ้ายัง comment แบบไม่ดู timeline ผมขออนุญาตลบบทความนี้นะครับ



โดย: Zhivago วันที่: 6 มีนาคม 2554 เวลา:0:54:59 น.  

 
ก็ไม่พร้อมจิงๆจะไปยกยอตัวเองทำไม
เป็นน้องใหม่ไมไม่นอบน้อมา่ะแล้วยังไปเถียงกับรุ่นพี่ซะด้วย
ขอโทดแทนเพื่อนร่วมสถาบันด้วยครับ


โดย: จากเด็กตัวเล็กๆ IP: 202.28.68.33 วันที่: 13 มีนาคม 2554 เวลา:15:33:51 น.  

 
ผมว่าบางที่ มวล เปิดคณะแพทย์ เภสัช ได้ไม่เต็มร้อย เพราะ
1.มวล ไม่ได้อยู่ในจุดศูนย์กลางในการรับคนไข้ที่หลากหลาย หากพูดถึงศูนย์ภาคใต้ตอนบนแล้ว คนไข้ส่วนใหญ่ จะไปที่ รพ.สุราษฎร์ สะมากกว่า เพราะที่นั้นมีเครื่องมือพร้อม
2.มวล อยู่ไกล เกินไปหาก มีการหากเปรียบเที่ยบระยะทางแล้ว คนไข้ภาคใต้ตอนบน อาจใช้ทางเลือก ที่สูงกว่าโรงพยาบาลสุราษฎร์ ก็น่าจะ ไป มอ.หาดใหญ่ มากว่า ไป มวล (โรงพยาบาลมวล)
ทั้งหมดนี้ อาจเป็นเหตุที่ การก่อสร้าง รพ.มวล หยุดชงักหลายครั้ง จนวันนี้ การอนุมัติงบ ยังมีปัญหาอยู่ อาจเป็นเพราะ เรื่องจุดยุทธศาสตร์ ก็เป็นไปได้ การใช้งบแต่ละครั้ง ต้องคำนวน ถึงผลประโยชน์ ของประชาชนเป็นหลัก


โดย: ธรรมศาสตร์ IP: 110.164.109.118 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:10:53:34 น.  

 
ผมได้ยินมาไม่นานนี้ว่าอนุมัติงบประมาณสร้างโรงพยาบาลแล้วนะครับ น่าจะไปได้ในเร็ววันนี้ครับ หมอที่รู้จักสองสามท่านก็ไปบริหารอยู่ ดีตรงที่มือสะอาดไม่มีคดโกง แต่ต้องได้ทีมงานที่ดีด้วยถึงจะไปข้างหน้าได้อย่างไม่สะดุด

ถ้าเปิดโรงพยาบาลแล้วน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับ ทำเลที่ตั้งนั้นจริง ๆ แล้วผมว่าไม่ได้ขี้ริ้วขี่เหร่นัก เสียแต่ว่าไม่ใช่แหล่งที่คนพลุกพล่าน แต่ต้องดูระยะยาวครับ

ถ้ารักษามาตรฐานของการพัฒนาไปเรื่อย ๆ ได้ โรงพยาบาลรอบข้างก็จะมีที่พึ่งได้ครับ


โดย: Zhivago วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:53:40 น.  

 
ก็คงได้แค่บางส่วนละครับ เรื่องงบ รพ.มวล เท่าที่ได้ยินมา ยังไม่ได้เลยนะครับ ยังมีการยื่นเรื่องเพื่อของบประมาณ กันอยู่เลย อย่างที่ผมบอกละครับ อาจเป็นเพราะเรื่องจุดยุทธศาสตร์ ของการจัดตั้ง ศูนย์แพทย์ศาสตร์ ที่ใช้ชื่อ ภาคใต้ตอนบน อาจเป็นเรื่องของความเป็นศูนย์กลางก็ได้นะครับ ถ้าพูดกันจิงๆ รพ.มวล ไม่ใช่เป็นศูนย์กลางใต้บนเลย การจัดตั้งศูนย์แพทย์ ต้องคำนึงถึงความสะดวกของประชาชนเป็นหลัก หากมองถึงศูนย์กลางจิง ๆ ผมว่าสุราษฎร์เหมาะสุด สำหรับคำว่าศูนย์กลางทางการแพทย์ เพราะปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับ โรงบาลขนาดใหญ่ อย่าง มหาราชนครศรี แล้ว รพ.สุราษฎร์ยังถือว่าเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิ ในใต้บนอยู่ ยิ่งข่าวการจัดตั้ง คณะแพทย์ พยาบาล และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สุราษฎร์ ของ มอ.เขตสุราษฎร์ อีก ผมว่าปัญหาการจัดตั้ง รพ.มวล อาจมีปัญหาเรื่องงบประมาณของ รพ มวล ก็ได้ นะครับ


โดย: ธรรมศาสตร์ เขตอุดมศักดิ์ IP: 110.164.109.118 วันที่: 16 มีนาคม 2555 เวลา:18:59:28 น.  

 
ในเรื่องการจัดตั้งโรงพยาบาล มวล อาจต้องใช้เวลาและประสบการณ์ อีกยาวนาน ครับ ถึงแม้ในเขตภาคใต้ตอนบน จะมี คณะแพทย์ มวล เป็นหลักก็จิง แต่ ในเรื่องความเป็นศูนย์กลางของโรงพยาบาลแพทย์ นั้น ก็เรื่องสำคัญ อีกเรื่องหนึ่ง เพราะในในเขตภาคใต้ตอนบน ถ้าหากเอา รพ.มวล เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ใต้บน ผมว่ามันคงไม่ใช่คำตอบกับชาวใต้บนนะครับ ขนาดคนนครศรี เอง ถ้าหากเปรียบเทียบระยะทางระหว่าง มอ.กับ มวล บางอำเภอของนครศรี เดินทางไป มอ. ใกล้กว่า มวล เสียอีก นี้ก็คงเป็นเหตุผล ของการจัดตั้ง รพ.มวล ส่วนหนึ่งนะครับ


โดย: อยากตอบ IP: 110.164.109.118 วันที่: 17 มีนาคม 2555 เวลา:11:35:57 น.  

 
ม.ทักษิณ เขตพัทลุง ก็จะเปิด คณะแพทย์ ศูนย์กลางการแพทย์ ใต้ตอนกลาง ต่อไปคงมีคณะแพทย์ กันทุกจังหวัดเลย 55555555+ สนุกกันแหละครับ


โดย: อยากบอก IP: 110.164.109.118 วันที่: 24 มีนาคม 2555 เวลา:9:48:49 น.  

 
เมื่อก่อนผมรู้สึกต่อต้านกับการเปิดคณะแพทย์ ฯ ในหลายสถาบันเนื่องจากความไม่พร้อม แต่ถ้ามองย้อนกลับไปถึงสถาบันที่ผมจบมา (มอ.) เริ่มแรกก็ฝากเรียนที่หาดใหญ่กันหลายรุ่น ก่อนโรงพยาบาลสงขลานครินทร์จะสร้างเสร็จและรับนักศึกษาไปสอน และสามารถพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้

แต่ปัญหาที่พบในกระบวนการผลิตแพทย์(สำหรับกระทรวงสาธารณสุข)ก็คือความไม่พร้อมของ staff ในหลายสาขาที่ไม่มีแพทย์ ก็เอาแพทย์สาขาอื่นมาสอน (โรงพยาบาลผมไม่เคยมี CVT-ศัลยแพทย์ทรวงอกและหัวใจ แต่ก็ผลิตบัณฑิตแพทย์ออกมาได้) งานหนักเกินไปทำให้การเรียนการสอนทำได้ไม่เต็มที่ รวมไปถึงแนวคิดของผู้บริหารโรงพยาบาล ถ้าลำพังแนวคิดผู้บริหารยังยึดติดที่ว่าการมีนักเรียนแพทย์ปีสุดท้าย (ที่เรียกกันว่า extern) เป็นการแบ่งเบาภาระการทำงานนั่นก็ผิดแล้ว นักเรียนแพทย์ถูกปล่อยให้เป็นด่านหน้าทั้งที่นักเรียนยังไม่มีวุฒิภาวะ-วุฒิบัตรด้วยซ้ำ กลายเป็นนักเรียนแพทย์มีบุญคุณต่อ staff เพราะสามารถปล่อยให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ในขณะที่ staff เปิดคลินิกหรือไปประชุม

สำหรับแพทย์เพิ่มพูนทักษะ (เรียกกันว่า intern) ก็ถูกคาดหวังว่าจะรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหลายได้เต็มกำลัง และถูกปล่อยให้ทำเช่นนั้นในหลายสถานการณ์ เช่นที่ห้องฉุกเฉิน เพิ่มความสบายให้กับ staff แต่ก็เป็นการผลักภาระไปให้ intern และผู้ป่วย สิ่งนี้ไม่เคยมีใครออกมาเรียกร้องและปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน

ปัญหาหนึ่งที่ไม่เคยได้รับคำตอบคือเรา(ในความหมายของประเทศไทย)ต้องการปริมาณหรือคุณภาพ เราต้องการผลิตแพทย์จำนวนมากออกมาเพื่อทดแทนส่วนที่รั่วออกไปสู่ภาคเอกชนและกระจายแพทย์ไปสู่ชนบทได้ครั้งละมาก ๆ โดยไม่พร้อมจะพัฒนาคุณภาพตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพการทำงาน คุณภาพการเรียนการสอน ไปจนถึงคุณภาพของผู้ตรวจสอบคุณภาพโรงพยาบาล (ใครที่ทำ HA คงพอนึกภาพออกว่าเราลงทุนปลูกผักชีกันขนาดไหน) ปริมาณแพทย์ที่มากขึ้นไม่ได้แปลว่าคุณภาพจะสูงขึ้นตามไปด้วย

ในส่วนมหาวิทยาลัย มุมมองเรื่องนี้จะต่างออกไป งานอันดับแรกของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยคือการผลิตบัณฑิต (แพทย์) ไม่ใช่การเรียนการสอน ดังนั้นคุณภาพการเรียนการสอนต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง (ผู้บริหารศูนย์ผลิตแพทย์แห่งหนึ่งเคยตอบว่าเหตุที่เราต้องผลิตแพทย์โดยกระทรวงสาธารณสุขคือ "มติ ครม." ซึ่งมันฟังดูเลื่อนลอยมาก) ถ้าการผลิตแพทย์ทำโดยหน่วยงานที่มีคุณภาพและสามารถรับประกันคุณภาพได้ในระดับที่เหมาะสม ผมว่าน่าสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งครับ


ขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ
ยินดีที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนครับ




โดย: Zhivago วันที่: 17 เมษายน 2555 เวลา:17:46:46 น.  

 
ตอนนี้วลัยลักษณ์มีโครงการสร้างโรงพยาบาลแล้ว เริ่ม ปี 55 นี้แล้ว อิอิ


โดย: อิอิ IP: 180.183.25.3 วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:10:51:09 น.  

 
อยากทราบว่าโรงพยาบาลวลัยลักษณ์จะสร้างเสร็จเมื่อไหร่คะ อีกนานมั้ยคะ


โดย: rone IP: 101.109.247.245 วันที่: 26 ธันวาคม 2555 เวลา:17:42:59 น.  

 
ก้าวแรกมันยากเสมอครับ


โดย: เด็กเก่า IP: 182.53.192.177 วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:10:06:18 น.  

 
มวล ได้รับ งบประมาณจากรัฐบาล 6000กว่าล้านครับ สำหรับการเปิดศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยครับ ปี 2561 คาดว่าจะเปิดได้ ในฐานะ ศิษย์ รุ่น 8 ผมภูมิใจ ที่มหาวิทยาลัยก้าวไปใกลและเติบโตได้อย่างรวดเร็วและผมเชื่อว่าศูนย์การแพทย์ของ วลัยลักษณ์ จะเป็นสถายบริการทางการแพทย์ที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้อย่างสูงสุดครับ



โดย: อัศวิน จินา IP: 182.52.63.47 วันที่: 8 มกราคม 2557 เวลา:12:57:22 น.  

 
ยินดีครับที่กำลังจะเปิดศูนย์การแพทย์ได้ เชื่อว่าจะทำให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องในระยะยาวได้ครับ


โดย: Zhivago วันที่: 21 มกราคม 2557 เวลา:17:30:21 น.  

 
เปิดเร็วก็ดีครับได้ช่วยพัฒนาการศึกษาและช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไปในอนาคตครับ


โดย: dorn3698 IP: 223.206.243.128 วันที่: 4 กันยายน 2557 เวลา:19:34:40 น.  

 
มีนาคม 2558 ยังไม่ได้ถมที่เลยครับ มีปัญหาหลายเรื่องมาก เปลี่ยนคณบดีไปแล้ว เปลี่ยนทีมบริหารมหา'ลัยไปแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรคืบหน้าเลย นักเรียนก็ต้องส่งไปเรียนที่ตรังกับภูเก็ต คุณภาพนั้นยังไงก็ไม่สู้ผลิตเองครับ ส่งนักเรียนไปเรียนที่โรงพยาบาลสังกัดสาธารณสุข เขาจะสอนเหมือนกับโรงพยาบาลที่มีการผลิตแพทย์โดยตรงไม่ได้แน่นอนครับผม


โดย: Zhivago วันที่: 10 มีนาคม 2558 เวลา:19:41:02 น.  

 
ถึงแม้ มวล ได้เปิดคณะแพทยที่ชื่อว่าศูนย์แพทยภาคใต้ตอนนบก็จิง แต่ต้องใช้ระยะเวลา ไม่ใช่เปิดแล้วจะเป็นศูนย์แพทยแล้วความสามารถเท่า มอ เลยนะครับมันต้องสะสมประสบการอีกนาน หลายๆมหาลัยที่เปิดคณะแพทย การพัฒนาเครื่องมือและขีดความสามารถก็ยังตามหลัง โรงพยาบาลศูนย์ ก็หลายที่นะครับ


โดย: อยากบอก IP: 110.164.109.118 วันที่: 24 สิงหาคม 2558 เวลา:13:08:23 น.  

 
ตค. 58

ตอนนี้ก็ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างนะครับ มีปัญหาตั้งแต่การปรับพื้นที่แล้ว ถ้าเป็นแบบนี้ก็บวกไปอีกอย่างน้อย 3 ปีถึงจะได้เปิดครับ


โดย: Zhivago วันที่: 27 ตุลาคม 2558 เวลา:10:34:06 น.  

 
ต้องมีเส้นสายด้วยนะครับ ถึงจะเข้าไปเรียนได้
ไม่โอเคเลยจริงๆ


โดย: unknown IP: 171.6.234.52 วันที่: 28 ธันวาคม 2559 เวลา:23:12:22 น.  

 
โรงพยาบาล มวล ก็ต้องใช้ประสบการณ์ หลายๆด้านครับ เรื่องแบบนี้ก็ต้องยึดจุดยุทธศาสตร์ เป็นหลักในการพัฒนาศูนย์การแพทย์ขั้นสูง ต้องยอมรับว่าเครื่องมือทางการแพทย์แต่ละชิ้น ค่อนข้างแพงและประชาชนก็ต้องได้รับประโยชน์สูงสุด ถึงแม้ มวล. จะมีโรงพยาบาลแต่ก็ใช่ว่า ขีดความสามารถในการรักษาจะต้องขึ้นมาระดับ 1-2 ได้นะครับตัวอย่าง ก็เป็นแค่โรงเรียนแพทย์ ที่ไม่ได้เน้นในเรืองการรักษาขั้นสูง ตัวอย่างก็มีหลายมหาลัย ที่เป็นโรงเรียนแพทย์ แต่ขีดความสมารถก็ไม่ได้ สูงอย่างนะครับ เพราะแต่ละภาคเขาก็มี สูนย์แพทย์ประจำอยู่แล้วตัวอย่าง
ศูนยตติยภูมิระดับ 1ƒภาระงานสูง
1.รพ.จุฬา
2.รพ.ศิริราช
ศูนยตติยภูมิระดับ 2 ƒภาระงานสูง-ปานกลาง
1. รพ.รามาธิบดี
2. รพ.มหาราชนคร
เชียงใหม
3. ศูนยสริิกิติ์ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ
4. ศรีนครินทรม.ขอนแกน
5. รพ.สงขลานครินทร
ม.สงขลานครินทร
6. รพ.วชิรพยาบาล
7. รพ.ราชวิถี
8. สถาบันสุขภาพเด็ก
แหงชาติมหาราชิน
9. สถาบันโรคทรวงอก
10. รพ.ภูมิพล
11. พระมงกุฎ
12. ตํารวจ
ศูนยตติยภูมิระดับ 3 ƒภาระงานปานกลาง
1. รพ.มหาราชนครราชสีมา
2. รพ.สรรพสิทธิประสงค
อุบลราชธานี
3. รพ.ชลบุรี
4. รพ.ยะลา
5. รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก
6. ม.นเรศวร
7. รพ.พระปกเกลาจันทบุรี
8. สุราษฎรธานี
9. รพ.ธรรมศาสตรเฉล  ิมพระ
เกียรติ
ศูนยตติยภูมิระดับ 4
1. รพ.สกลนคร
2. รพ.สุรินทร
3. รพ.บุรีรัมย
4. รพ.รอยเอ็ด
5. รพ.ชัยภูมิ
6. รพ.อุดร
7. รพ.ขอนแกน
8. รพ.เชียงรายประชานุเคราะห
9. รพ.นาน
10. รพ.แพร
11. รพ.อุตรดิตถ
12. รพ.ลําปาง
13. รพ.เพชรบูรณ
14. รพ.สวรรคประชารักษ
นครสวรรค
15. รพ.ชุมพรเขตอุดมศักดิ์
16. รพ.หาดใหญ
17. รพ.วชิระภูเก็ต
18. รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช
19. รพ.หัวหิน
20. รพ.ราชบุรี
21. รพ.ประจวบคิรีขนธั 
22. รพ.จันทรเบกษา ุ
23. ศูนยการแพทยสมเด็จ
พระเทพฯ
จะเห็นว่าหลายมหาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์ ก้ไม่ได้ เป็นศูนย์แพทย์ประจำภาค และขีดความสามารถขั้นสูงเสมอไปนะครั้บ ต้องดูวัตถูประสงค์ของแต่ละภาคด้วยครับ


โดย: โคจิ IP: 110.164.109.118 วันที่: 20 มกราคม 2560 เวลา:18:10:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Zhivago
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




มนุษย์เข้มแข็ง
กว่าที่ตนคิดไว้เสมอ
New Comments
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2549
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
19 พฤษภาคม 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Zhivago's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.