เรื่องที่ไม่มีสอนในโรงเรียนแพทย์: The Untold Stories from The Medical School.
แด่วงการแพทย์

ตื่นเช้าขึ้นมากับความว่างเปล่าอันหนาวเหน็บและเจ็บปวด ข่าวศาลสั่งจำคุกแพทย์สามปี (ไม่รอลงอาญา) ที่หลายคนใน webboard แห่งหนึ่งที่ผมเข้าไปอ่านเป็นประจำพยายามออกมาแสดงความคิดเห็นทำให้การเริ่มต้นวันใหม่ของผมดูหดหู่กว่าที่ควรจะเป็น

..........


ผมในฐานะที่เป็นแพทย์ควรจะมีบทบาทอะไรบ้างกับสิ่งที่เกิดขึ้น ? กลไกและกระบวนการทำงานในกระทรวงสาธารณสุขสมควรได้รับการแก้ไขและปรับปรุงได้แล้วหรือยัง ? โรงพยาบาลยังสมควรเป็นหน่วยงานอันดับต้น ๆ ที่คนรู้สึกขยาดเมื่อจะต้องไปใช้บริการอยู่หรือเปล่า ? ปฏิกริยาของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขกับกรณีนี้จะเป็นอย่างไร ? แพทยสภา-ราชวิทยาลัย-สมาคมแพทย์เฉพาะทาง ควรจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างไร ? แพทยสมาคมควรมีมาตรการอย่างไรเพื่อสนองตอบเหตุการณ์นี้ ?

สิ่งเหล่านี้คือคำถามที่หลายคนในวิชาชีพถามถึง และควรมีคำตอบที่เหมาะสมสำหรับคำถามนี้ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับตัวบุคคลไปจนถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ รวมไปถึงหน่วยงานวิชาชีพจะต้องออกมาแสดงบทบาทอันเหมาะสมกับสถานะของตน (หรือหน่วยงาน)

การสนองตอบของหน่วยงานต่าง ๆ ที่พึงมีนั้นไม่จำเป็นจะต้อง (หรือถึงกับต้องไม่) ใช่การออกมาปกป้องแพทย์ซึ่งมีฐานะเป็นแพทย์ใช้ทุนผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยที่สุดในกระทรวงแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องรวมถึงการดูแลปัญหาในภาพรวม การหามาตรการเพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในลำดับต่อไป การจัดทำแนวทางปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ได้ในหน่วยงาน การดูแลเรื่องความขาดแคลนแพทย์ และที่สำคัญที่สุดคือการเข้าไปดูแลเพื่อช่วยเหลือในทางคดีกับแพทย์ผู้ต้องคำพิพากษา

ผู้ดูแลในภาพรวมคือผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขจะต้องมองปัญหาจากมุมสูงให้เห็นภาพที่ชัดเจนและหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ออกมาในที่สุด การกระจายตัวของแพทย์ในปัจจุบันเหมาะสมแล้วหรือไม่ การมีแพทย์เฉพาะทางมากเกินไป (ทั้งจำนวนและสาขา) สามารถทำให้โรงพยาบาลขนาดเล็กพัฒนาศักยภาพได้หรือไม่ ? (คำถามเรื่องได้หรือไม่นั้นเป็นคำถามเชิงปริมาณ ไม่ใช่เชิงคุณภาพ หากไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าจะพัฒนาศักยภาพได้หรือไม่ก็ยังไม่ควรก้าวข้ามไปตอบคำถามว่าได้มากหรือได้น้อย)

โรงพยาบาลขนาดเล็กหลายแห่งมีแพทย์เฉพาะทางมากสาขาและมากจำนวน แต่ไม่สามารถใช้ศักยภาพให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถที่มีได้ ในขณะที่โรงพยาบาลหลายแห่งที่ขาดแพทย์เฉพาะทางกลับต้องพัฒนาศักยภาพของแพทย์ให้ทำงานได้มากกว่าที่ควรจะเป็นโดยมีความเสี่ยงพ่วงท้ายเข้าไปด้วย

การแสดงออกถึงความตระหนักถึงปัญหานี้ของกระทรวงสาธารณสุขจะต้องครอบคลุมไปถึงกรณีดังกล่าวข้างต้นด้วยว่าจะพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ไปในทิศทางใด หากกระทรวงยังไม่มีทิศทางการตอบสนองที่ชัดเจน การปฏิบัติของแพทย์ตามโรงพยาบาลขนาดเล็ก (ซึ่งส่ว่นใหญ่แพทย์ที่ทำอยู่จะเป็นแพทย์จบใหม่และขาดประสบการณ์) จะขาดแนวทางชี้นำที่เหมาะสม ทำให้เกิดการส่งต่อผู้ป่วยเข้าไปยังโรงพยาบาลใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นการส่งต่อในรายที่ไม่เหมาะสม แต่ด้วยเหตุที่เกิดขึ้นนั้นคงไม่สามารถกล่าวโทษแพทย์ในโรงพยาบาลเล็ก (โรงพยาบาลชุมชน) ได้ว่าไม่รับผู้ป่วยหรือไม่รักษาผู้ป่วย เนื่องจากหากเกิดปัญหาแล้วผู้รับผิดชอบก็คือแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยในขณะนั้นนั่นเอง

ราชวิทยาลัยหรือสมาคม (วิสัญญี ศัลยศาสตร์ เวชศาสตร์ครอบครัว ฯ) จะต้องแสดงบทบาทและหน้าที่ให้เป็นรูปธรรมในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไป รวมถึงต้องตอบคำถามของแพทย์ผู้ทำงานในสถานพยาบาลขนาดเล็กเช่นโรงพยาบาลชุมชนว่าหากเกิดกรณีดังเช่นที่เป็นปัญหาขึ้นนั้นจะทำอย่างไร ? ราชวิทยาลัยหรือสมาคมแพทย์เฉพาะทางทั้งหลายควรจะมีการสนองตอบ เช่นกำหนดให้โรงพยาบาลชุมชนหรือสถานพยาบาลขนาดเล็กทำการรักษาใด ๆ ได้หรือไม่ได้บ้าง เพื่อเป็นบรรทัดฐาน และออกมาให้ข้อสรุปเพื่อให้แพทย์ผู้ทำงานในสถานพยาบาลที่มีความพร้อมต่ำได้ปฏิบัติได้อย่างมีความมั่นใจมากขึ้น

ในคดีที่ราชวิทยาลัยหรือสามคมแพทย์เฉพาะทางมีความเห็นอย่างชัดเจนว่าแพทย์กระทำการอย่างเหมาะสม (ทำถูก) ก็ควรออกความเห็นอย่างชัดเจน ส่วนหนึ่งเพื่อแจ้งให้แพทย์ที่อยู่ในระบบได้ทราบ นอกจากนั้นก็เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติ รวมถึงสังคม (ประชาชน-สื่อ-นักการเมือง-วงการยุติธรรม) จะได้รับทราบสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการการรักษาผู้ป่วย

แพทยสภาควรแสดงความชัดเจนในเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะประสานงานกับราชวิทยาลัยต่าง ๆ หรือในนามของแพทยสภา โดยเฉพาะกรณี่ที่เกิดขึ้นนี้ควรประกาศผลการสอบสวนให้ชัดเจน หากแพทยสภายืนยันความถูกต้อง (หรือกระทั่งปฏิเสธความชอบธรรมในการรักษาโดยแพทย์) ก็จะเป็นสิ่งที่รับรู้กันโดยทั่วไป การดำเนินงานของแพทยสภาต้องเปิดเผยมากขึ้นเพื่อให้คนทั่วไปได้ทราบถึงการจัดการและการวินิจฉัยของแพทยสภา บทบาทการดูแลแพทย์ผู้ถูกกล่าวหาทางคดีควรแยกกันให้ชัดเจนระหว่าแพทยสภากับแพทยสมาคม นั่นหมายถึงการจะต้องแสดงบทบาทของตนเองให้ชัดเจนขึ้นของแพทยสมาคมในอันที่จะดูแลแพทย์ (โดยเฉพาะในทางคดีความ) ให้เป็นคนละหน่วยงานกับแพทยสภา เพื่อลดภาพลักษณ์ในการปกป้องและช่วยเหลือกันเองของแพทย์ ที่ถูกปลูกฝังเข้าไปในสังคมมากขึ้นทุกที

..........


โรงพยาบาลในระดับโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง อัตรา 800 เตียง ที่ห้องฉุกเฉิน ช่วงเวรเช้า (08.30-16.30 น.) มีคนป่วย-เจ็บมาตรวจเฉลี่ยประมาณ 80 คน ..ยังคงใช้แพทย์เพิ่มพูนทักษะปี 1 ที่มีความรู้และประสบการณ์น้อยที่สุดมาดูแลคนป่วย-เจ็บกลุ่มนี้ ทั้งที่มีรายชื่อแพทย์เฉพาะทาง (staff) อีกคนให้ช่วยตรวจในเวรเช้าด้วยพร้อมคำสั่งผู้อำนวยการให้ออกตรวจเพื่อช่วยแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ...ตลอดเดือนที่ผ่านมา 20 วันทำการในวันราชการ มีแพทย์ staff ออกมาช่วย 2 คน (2 วัน)

ถ้าแพทย์ไม่ช่วยเหลือและดูแลกัน แถมยังเอาเปรียบกันอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ อีกไม่นานวงการแพทย์ก็จะเต็มไปด้วยความเหลวแหลกอย่างแน่นอน

..........


แด่วิชาชีพแพทย์


Create Date : 07 ธันวาคม 2550
Last Update : 7 ธันวาคม 2550 23:36:41 น. 1 comments
Counter : 643 Pageviews.

 
พูดไม่ออกครับ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jonykeano


โดย: jonykeano วันที่: 9 ธันวาคม 2550 เวลา:14:34:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Zhivago
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




มนุษย์เข้มแข็ง
กว่าที่ตนคิดไว้เสมอ
New Comments
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
7 ธันวาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Zhivago's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.