เรื่องที่ไม่มีสอนในโรงเรียนแพทย์: The Untold Stories from The Medical School.

อนาคตการผลิตแพทย์


เขียนบทความนี้แล้วจะติดคุกไหมเนี่ย

มีคนถามใน www.thaiclinic.com; ห้องพักแพทย์ ว่ามีการเปิดโรงเรียนแพทย์ใหม่ ๆ หลายแห่ง แล้วใครควรเป็นผูสอนดี เพราะบางแห่งขาดแคลนอาจารย์แพทย์

ลองอ่านดูก่อนนะครับ


ผมมองปัญหาเรื่องนี้ว่าเป็นการแก้ไม่ถูกจุด จำนวนการผลิตต่อปีไม่ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นแล้วหลังจากมีโครงการแพทย์ชนบท ปัญหาสำคัญคือการรั่วไหลของกำลังคน ซึ่งรัฐบาลกลับใช้วิธี -เทเข้าไปมาก ๆ ชดเชยกับที่ไหลออก- ซึ่งผิด

เดิมทีการผลิตในโรงเรียนแพทย์ของทบวงมหาวิทยาลัย (กระทรวงศึกษาธิการ) ก็ถูกปรับเพิ่มให้มีจำนวนมากขึ้น จนถึงเพดานจำกัดแล้ว การแก้ปัญหาที่รัฐบาลทำคือเพิ่มการผลิตในโรงพยาบาลศูนย์ (โครงการแพทย์ชนบท) บวกกับเพิ่มจำนวนแพทย์ชนบทในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เพื่อทำเป้าให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มได้ตามจำนวน

แต่ปัญหาของการเรียนการสอนในโรงพยาบาลศูนย์คือปรัชญาในการทำงานไม่เหมือนในโรงเรียนแพทย์ งานการเรียนการสอนสำหรับแพทย์ถูกจัดให้อยู่ในอันดับท้ายสุด งานบริการ งานบริหาร และงานวิชาการมาก่อนการเรียนการสอนเสมอ การจัดตั้งศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก (ศูนย์แพทย์ฯ)ในโรงพยาบาลเป็นการลงทุนที่ได้ถาวรวัตถุมากกว่าการผลิตแพทย์ที่พร้อมเป็นอาจารย์

หัวหน้าศูนย์แพทย์ฯ ไม่มีอำนาจสั่งการ มีเพียงอำนาจบริหารข้าราชการและลูกจ้างในศูนย์แพทย์ฯ แพทย์เฉพาะทางส่วนหนึ่งสามารถเลือก -ไม่สอน- โดยไม่มีผลกระทบกับงานบริการหรือการพิจารณาความดีความชอบ

เมื่อหน่วยงานขาดความเข้มแข็งและความเด็ดขาด การพัฒนาการเรียนการสอนจึงเป็นไปได้ยาก (หรืออาจเป็นไปไม่ได้เลย) ภาระงานสอนตกอยู่กับแพทย์เฉพาะทางผู้ที่รับทราบสภาพปัญหาและยินดี (หรือยินยอม) สอนนักเรียนแพทย์ที่ถูกส่งเข้ามาในระบบ

การเรียนการสอนในชั้นพรีคลินิก (ชั้นปีที่ 1-3) ก็ขาดความต่อเนื่อง นักเรียนแพทย์จากโรงพยาบาลศูนย์บางแห่งเมื่อเรียนวิชา introduction to medicine กับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ที่ต้องเรียนรู้พื้นฐานการซักประวัติ การตรวจร่างกาย กลับไปขึ้นอยู่กับภาควิชาหรือหน่วยงานที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วยโดยตรง นักเรียนขาดพื้นฐานที่ดี ทำให้เมื่อเข้าสู่ชั้นคลินิกไม่สามารถเรียนรู้ต่อไปได้อย่างถูกต้อง

งบประมาณสำหรับดูงานหรือประชุมต่างประเทศในแต่ละปีกลับไปอยู่ที่ผู้บริหาร ซึ่งไม่อยู่ในสายงานแพทยศาสตร์ศึกษาหรือสายงานการเรียนการสอนเลย

นักเรียนแพทย์ขาดต้นแบบที่ดีก็เป็นปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่ง ทุกวันนักเรียนจะพบกับแพทย์ที่เปิดคลินิกกินเวลาราชการ ทำธุรเวชปฏิบัติเป็นหลัก ขาดความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ไม่แสวงหาความรู้วิชาการ นักเรียนบางส่วนซึมซับสิ่งเหล่านี้เข้าไปในวิถีชีวิตการทำงานและนำมาปฏิบัติเมื่อจบการศึกษาแล้ว

-มีตัวอย่าง; แพทย์ฝึกหัด (intern) รับปรึกษาจากนักเรียนแพทย์เวชปฏิบัติ (extern) จากต่างแผนกทางโทรศัพท์ สั่งตรวจโรค (investigation) ทางโทรศัพท์ และสั่งการรักษาทางโทรศัพท์ รวมทั้งสั่งให้ปรึกษาแทพย์อีกแผนกทางโทรศัพท์ โดยไม่เคยเห็นผู้ป่วยเลยแม้แต่น้อย

ปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องโดยผู้รับผิดชอบ แต่รัฐกลับเร่งการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นไปอีก ตามโครงการ megaproject อ้างอิงมติคณะรัฐมนตรี พยายามเปิดโรงเรียนแพทย์เพิ่มอีกหลายแห่ง หลายแห่งรับนักเรียนแพทย์แล้วทั้งที่หลักสูตรแพทยศาสตร์ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากแพทยสภา !!!

คณะแพทยศาสตร์ (ใหม่) ตาม megaproject บางแห่งส่งผู้บริหารมาพูดคุย (บังคับ?) ให้โรงพยาบาลศูนย์ที่รับนักเรียนแพทย์จากโครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบทให้รับนักเรียนแพทย์โครงการใหม่นี้เพิ่มอีก ..ถ้าสำเร็จจะกลายเป็นสถาบันเดียวสอนนักเรียนแพทย์สองหลักสูตร รับปริญญาจากสองสถาบัน (น่าจะเป็นครั้งแรกของโลก) โชคดีที่แพทยสภาปฏิเสธการสอนสองหลักสูตรในโรงพยาบาลเดียว

แต่อีกหลายแห่งกลับรับนักศึกษาเข้าไปแล้วโดยอยู่ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงศึกษาธิการ+กระทรวงสาธารณสุข ผู้รับภาระหนักคือแพทยสภาซึ่งต้องพิจารณาหลักสูตรที่อาจปรับแต่งมาจากสถาบันมาตรฐานที่ใดสักแห่ง แต่ความพร้อมของสถาบันฝึกอบรมนั้นต่ำ (หรืออาจไม่มีเลย)

สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ มีนักศึกษาส่วนหนึ่งที่ไม่ผ่านการสอบ national test ที่จัดระหว่างการเรียนการสอน (และคาดว่าอีกส่วนหนึ่งก็คงจะไม่ผ่านในการสอบใบประกอบโรคศิลป์-หากแพทยสภาไม่อ่อนข้อหรือยกธงขาวไปเสียก่อน) และคำถามก็คือ จะเกิดอะไรขึ้นกับบัณฑิตแพทย์ซึ่งไม่สามารถทำเวชปฏิบัติได้ ???

จะเกิดมาตรฐานที่สองขึ้นในระบบกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ ?

ถ้าแพทยสภาตั้งกำแพงไว้สูงพอ ระบบมาตรฐานก็จะนำมาใช้ได้ แต่คนที่ไม่สามารถผ่านกำแพงออกมาได้จะทำอย่างไรต่อไป รับราชการเป็นลูกจ้างโรงพยาบาลตำแหน่งผู้ช่วยแพทย์รอสอบใบประกอบโรคศิลป์ ? เพราะส่วนหนึ่งจะต้องติดทุนซึ่งจำนวนปีและจำนวนเงินสูงขึ้นกว่ารุ่นก่อน ๆ จนหลายคนไม่สามารถหาเงินมาชดใช้ได้แน่ คนเหล่านี้จะอยู่ในสถานะใด ?

...พิมพ์มาถึงบรรทัดนี้ (ห้าทุ่มครึ่ง) ผมอยากจะปลุกลูกชาย (สองขวบ) ขึ้นมาบอกว่า -จะทำงานอะไรก็ได้ ขออย่างเดียว อย่าเป็นหมอ-


post ครั้งแรก Thaiclinic.com/doctorroom 26 สค. 2549 หัวเรื่อง "การสอน นศพ ชั้น คลินิก ควร สอนโดยใคร"; ความคิดเห็นที่ 10 ใช้ชื่อ Doctor Zhivago









 

Create Date : 26 สิงหาคม 2549
0 comments
Last Update : 17 กรกฎาคม 2550 10:08:04 น.
Counter : 1092 Pageviews.


Zhivago
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




มนุษย์เข้มแข็ง
กว่าที่ตนคิดไว้เสมอ
New Comments
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
26 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Zhivago's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.