space
space
space
<<
ธันวาคม 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
14 ธันวาคม 2563
space
space
space

แมลงวันไผ่…ศัตรูพืชอุบัติใหม่ที่น่าจับตามอง

               ไผ่เป็นพืชในวงศ์ Gramimeae เป็นพืชเขตร้อนและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง จากการศึกษาของ Anantachote (1993) พบว่าไผ่มีทั้งหมด 1,250 ชนิด และในประเทศไทยมีไผ่ประมาณ 60 ชนิด เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆได้มากมาย ไฝ่แต่ละพันธุ์มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม Chunram (1993) พบว่าการปลูกไผ่นั้นยังประสบปัญหาต่างๆ จากแมลงศัตรูพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งแมลงวันไผ่ (Bamboo-shoot fruit flies) พบการเข้าทำลายของแมลงวันไผ่ครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2538 จำนวน 7 ชนิด ในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย (Permkam, 1995) และในปี พ.ศ. 2548 พบแมลงวันไผ่เพิ่มขึ้นรวมทั้งหมดมี 9 ชนิด (Permkam, 2005)
สายพันธุ์ไผ่ที่เป็นพืชอาหารของแมลงวันไผ่ (แมลงวันผลไม้ในประเทศไทย, 2544) ได้แก่
  1. ไผ่บงป่า (Bambusa nutans Wall ex Munro)
  2. ไผ่ตง (Dendro calamus asper Backer)
  3. ไผ่ปอลูน (Dendrocalamus sp.)
  4. ไผ่เหลือง (Bambusa vulgaris Schrader)
  5. ไผ่ซางบ้าน (Dendrocalamus strictus Nees)
  6. ไผ่ไร่หวาน (Gigantochloa albo-ciliata Kurz)
  7. ไผ่บงบ้าน (Bambusu tulda Roxburgh)
  8. ไผ่ซางดอย (Dendrocalamus membranaceus Munro)
  9. ไผ่รวกแดง (Thysostachys siamensis Kurz ex. Munro)
  10. ไผ่ไร่ลอ (Gigantochloa nigrociliata Kurz)
  11. ไผ่รวกดำ (Thyrsostachys oliveri Gamble)
               การเก็บตัวอย่างไผ่ในแปลงที่คาดว่าถูกทำลายโดยแมลงวันไผ่นั้น เนื่องจากยังไม่สามารถสืบค้นรายงานหรือการศึกษาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของแมลงวันไผ่ ดังนั้นการลงพื้นที่สำรวจแปลงไผ่ของเกษตรกรในตำบลหนองหว้า อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว หลังจากได้รับแจ้งการพบศัตรูพืชในไผ่ จากกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว และกรมส่งเสริมการเกษตรได้วินิจฉัยไว้ในเบื้องต้นว่าเป็นแมลงวันผลไม้ จึงได้เก็บตัวอย่างของหน่อไม้ไผ่ที่คาดว่าถูกทำลายโดยแมลงวันไผ่ และนำตัวอย่างของหน่อไม้ไผ่ที่ได้มาบรรจุในกล่องพลาสติกใส ภายในบรรจุด้วยขี้เลื่อยละเอียดนานประมาณหนึ่งเดือนจะพบดักแด้ของแมลงวันไผ่ จากนั้นแยกเอาเฉพาะดักแด้ไปเพาะเลี้ยงในกรงตาข่ายที่สามารถระบายอากาศได้ โดยให้น้ำและอาหารเทียม (ยีสต์โปรตีนผสมน้ำตาลทราย) แก่ตัวเต็มวัย
               จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ตัวเต็มวัยของแมลงวันไผ่ สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยอาหารเทียมแต่ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ถึงแม้จะมีความพยายามล่อแมลงวันไผ่ให้วางไข่ด้วยหน่อไม้สด แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
               การสำรวจพื้นที่และการศึกษาเบื้องต้น ในครั้งนี้ทำให้ทราบว่า ปัจจุบันมีแมลงวันไผ่ไม่น้อยกว่า 5 ชนิดกลับมาอุบัติใหม่สร้างความเสียหายแก่การผลิตหน่อไม้ไผ่จนเกษตรกรสังเกตได้ แม้เรายังไม่สามารถจำแนกชนิดได้อย่างชัดเจนว่าเป็นแมลงวันไผ่ชนิดใดอยู่ในตระกูลไหน แต่ก็สามารถยืนยันได้ว่าหน่อไม้ไผ่ที่มีการทำลายของแมลงวันไผ่นั้นมีลักษณะแห้ง ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ หน่อไผ่ที่ถูกเข้าทำลายใหม่จะมีกาบหน่อสีน้ำตาลและแห้งเป็นหย่อมๆเมื่อลอกกาบหน่อไผ่ออกจะเห็นไข่แมลงวันผลไม้ถูกวางอยู่ในซอกระหว่างกาบใบ อาจพบตัวหนอนของแมลงวันไผ่อาศัยกัดกินอยู่ภายในหน่อ ดังนั้นเกษตรกรทั่วไปที่สงสัยว่าหน่อไม้มีลักษณะอาการดังกล่าวจะต้องกำจัดแมลงวันไผ่ในเบื้องต้นโดยการขุดหรือตัดหน่อที่ต้องสงสัย นำไปเผาไฟหรือทำลายนอกแปลงปลูก เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการตัดวงจรหรือลดจำนวนประชากรของแมลงวันไผ่ในธรรมชาติได้
 
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร


Create Date : 14 ธันวาคม 2563
Last Update : 14 ธันวาคม 2563 16:55:04 น. 0 comments
Counter : 173 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6126135
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6126135's blog to your web]
space
space
space
space
space