space
space
space
<<
ธันวาคม 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
3 ธันวาคม 2563
space
space
space

ราบิวเวอเรีย สำหรับกำจัดแมลงศัตรูพืช


               ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนมีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกพืชหลายชนิดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ไม้ดอก ไม้ประดับ ผลไม้และผักต่างๆ เป็นต้น ผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้สร้างรายได้เข้าประเทศปีละหลายแสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม การเพาะปลูกพืชเหล่านี้มีปัญหาหลักอย่างหนึ่งคือ การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากในระยะหลายปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ยิ่งเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายจำนวนมาก เพื่อป้องกันและควบคุมแมลงศัตรูพืชอย่างแพร่หลาย แม้ว่าจะได้ผลดีในระยะสั้น แต่แมลงหลายชนิดสามารถพัฒนาการดื้อต่อยาฆ่าแมลงได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นสารเคมียังออกฤทธิ์ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์อื่นๆ เช่น ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรุพืช ทำให้ระบบนิเวศน์เสียสมดุลเกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชอย่างรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้

               การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยใช้ชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ที่สามารถก่อโรคอย่างจำเพาะในแมลง เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ถือว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การใช้จุลินทรีย์เหล่านี้แม้ว่าจะมีข้อดีหลายอย่างแต่ก็มีข้อจำกัดบางประการ เช่น ออกฤทธิ์ช้ากว่าการใช้สารเคมี ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งจึงจะทำให้แมลงตายได้และจุลินทรีย์ให้เหมาะสมกับชนิดของแมลงที่กำลังระบาด ซึ่งบางครั้งมีแมลงหลายชนิดเข้าทำลายพืชพร้อมกันทำให้ควบคุมยาก จึงต้องใช้จุลินทรีย์หลายชนิดร่วมกับวิธีการอื่นๆ เป็นการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated pest management : IPM) จึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด

               จุลินทรีย์ที่นิยมใช้และออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงหลายชนิด ได้แก่ แบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis) อย่างไรก็ตามเชื้อบีทีจะใช้ได้กับแมลงประเภทปากกัดและทำลายพืชจากภายนอกเท่านั้น เช่น หนอนผีเสื้อต่างๆ ทั้งผีเสื้อกลางวัน และผีเสื้อกลางคืน บีทีไม่สามารถใช้กำจัดเพลี้ยได้ดีจึงเป็นเชื้อราที่สามารถงอกและเจริญเข้าไปในตัวเพลี้ยได้ดีจึงเป็นเชื้อราที่สามารถงอกและเจริญเข้าไปในตัวเพลี้ยจนทำให้เพลี้ยตายได้ จากการคัดเลือกเชื้อราต่างๆในคลังจุลินทรีย์ของศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (สวทช.) พบว่าเชื้อราบิวเรอเรีย Beauveria bassiana BCC2600 สามารถออกฤทธิ์ต่อเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยอ่อนได้ดี การทดสอบในภาคสนามทั้งนาข้าว ไร่มันสำปะหลัง และแปลงถั่วผักยาว พบว่า สามารถควบคุมเพลี้ยได้ดีเทียบเท่ากับการใช้สารเคมี นอกจากนั้น เรายังได้พัฒนาสูตรอาหารและวิธีการเลี้ยงเชื้อราให้ได้ผลผลิตสูงและคงประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงได้ดี สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้ผู้สนใจนำไปผลิตใช้ได้

               ราบิวเวอเรียสายพันธุ์ สวทช. (Beauveria bassiana BCC2660) เป็นเชื้อราที่แยกได้จากธรรมชาติในประเทศไทย ลักษณะเป็นเส้นใยสีขาว เมื่อเจริญเต็มที่จะสร้างสปอร์สีขาวขนาดเล็กคล้ายผงแป้ง มีคุณสมบัติในการก่อโรคในแมลงศัตรูพืชหลายชนิด แต่ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง

               ราบิวเวอเรียฆ่าแมลงได้อย่างไร : เมื่อสปอร์ของราชนิดนี้ปลิวไปตกบนผิวของแมลงในสภาวะที่มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม สปอร์จะงอกและแทงทะลุเข้าไปภายในตัวของแมลงมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน ทำให้แมลงเป็นโรคและตายในที่สุดซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน เชื้อราจะใช้สารอาหารจากตัวแมลงเพื่อเพิ่มจำนวนและสร้างเส้นใยสีขาวขึ้นมาปกคลุมตัวแมลง จากนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นสปอร์ ซึ่งสามารถกระจายไปกับลม น้ำ หรือการสัมผัสของแมลงที่เดินผ่าน ทำให้สามารถควบคุมแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผิวของแมลงแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ทำให้มีความไวต่อราบิวเวอเรียไม่เหมือนกัน ราชนิดนี้จึงออกฤทธิ์ได้ดีกับแมลงบางชนิดเท่านั้น เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยไฟ และแมลงหวี่ขาว เป็นต้น

               ข้อควรคำนึงในการใช้ราบิวเวอเรีย : เนื่องจากสปอร์ของราบิวเวอเรียไม่ชอบน้ำ ดังนั้น จึงต้องผสมสารช่วยลดแรงตึงผิวหรือสารจับใบในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้สปอร์ราบิวเวอเรียกระจายตัวสม่ำเสมอ และสามารถเกาะติดกับตัวแมลงได้ดีขึ้น เมื่อทำการผสมสปอร์รากับน้ำแล้วให้ฉีดพ่นทันที การผสมทิ้งไว้นานจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง ทำการฉีดพ่นช่วงเย็นทุก 3-7 วัน ติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้ง และพ่นให้สปอร์ราสัมผัสกับตัวแมลง หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นขณะมีแดดจัดเนื่องจากแสงแดดและความร้อนจะทำลายสปอร์ราบิวเวอเรีย ควรเก็บรักษาเชื้อราในที่แห้งและเย็น ห้ามตากแดดหรือเก็บในที่มีความร้อน ผู้ทำการผลิตสปอร์ราไม่ควรทำการต่อเชื้อเอง เนื่องจากการต่อเชื้อแต่ละครั้งจะทำให้ประสิทธิภาพการทำลายแมลงลดลงเรื่อยๆ การใช้หัวเชื้อใหม่ทุกครั้งในการผลิตจะทำให้ได้สปอร์ราที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ข้อดีของการใช้ราบิวเวอเรีย
  1. รักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ เนื่องจากราบิวเวอเรียไม่ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน
  2. เป็นวิธีการที่ไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้บริโภค
  3. สามารถใช้ได้กับระบบเกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์
  4. สามารถใช้ร่วมกับยาฆ่าแมลง และช่วยลดการดื้อยาของแมลงศัตรูพืช
  5. ออกฤทธิ์เสริมกับชีวภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไวรัสเอ็นพีวีและเชื้อแบคทีเรียบีที ทำให้สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ดียิ่งขึ้น
  6. เกษตรกรสามารถผลิตราบิวเวอเรียใช้เองได้
               ปัจจุบันทีมวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กำลังทำการทดสอบการใช้เชื้อราบิวเวอเรียสายพันธุ์ BCC2660 ควบคุมแมลงในสวนกล้วยไม้ ซึ่งแมลงเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ บั่วกล้วยไม้ และเพลี้ยไฟ โดยทำการทดสอบในแปลงเกษตรกรอาสาสมัครผู้เข้าร่วมโครงการในหลายพื้นที่ คือ สมุทรสาคร นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร นอกจากนั้น ทีมวิจัยยังได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสปอร์ราสด (ก้อนเชื้อสด) แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ราย เพื่อทำการผลิตสปอร์ราบิวเวอเรียส่งให้แปลงทดสอบต่างๆ โดยทีมวิจัยได้ช่วยให้คำแนะนำปรับปรุงวิธีการผลิตให้ได้สปอร์ที่มีคุณภาพดีตามมาตรฐานที่กำหนด
 
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร


Create Date : 03 ธันวาคม 2563
Last Update : 3 ธันวาคม 2563 11:00:12 น. 0 comments
Counter : 495 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6126135
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6126135's blog to your web]
space
space
space
space
space