space
space
space
<<
มกราคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
20 มกราคม 2564
space
space
space

ไก่กระดูกดำ


               ไก่กระดูกดำ เป็นไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงกันในชนบทของภาคเหนือ โดยเฉพาะบนพื้นที่สูง มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงกันอยู่ทั่วไป แต่มีลักษณะที่แตกต่างไปจากไก่พื้นเมือง คือจะมีสีดำตลอดทั้งตัว เช่น ปาก ลิ้น หน้า หงอน แข้ง ขา เล็บ และผิวหนัง ปัจจุบันเนื้อของไก่กระดูกดำเป็นที่นิยมของผู้บริโภคโดยเฉพาะในหมู่ชาวจีนฮ่อ ม้ง และชาวเขาอีกหลายเผ่า รวมถึงคนพื้นราบ เนื่องจากมีความเชื่อทางด้านการเป็นอาหารบำรุงร่างกาย ช่วยให้มีอายุยืน จึงทำให้ไก่กระดูกดำมีราคาสูงกว่าไก่พื้นเมืองชนิดอื่น


               จุดเด่นของไก่กระดูกดำ คือ มีโปรตีนสูง แต่มีไขมัน คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และกรดไขมันชนิดอิ่มตัวต่ำ และมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวอยู่สูง เมื่อเทียบกับไก่พื้นบ้านไทย ไก่เบรส และไก่พันธุ์โรดไอส์แลนด์เรด (Jaturasitha และคณะ, 2008) และมีกรดอะมิโนมากกว่า 20 ชนิด โดยมีกรดอะมิโนที่จำเป็น (Essential Amino Acids) จำนวน 8 ชนิด (ตารางที่ 1) และยังมีแคลเซียม โซเดียม โปแตสเซียม เหล็ก ทองแดง และแมงกานีส ปริมาณสูงเป็นพิเศษอีกด้วย ส่วนสีดำที่ปรากฏในเนื้อและกระดูกนั้น เป็นผลมาจากการทำงานของสารเมลานิน (melanin) ซึ่งพบว่าทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และเกี่ยวข้องกับการทำงานของภูมิคุ้มกัน (Hsiedl and Lien, 2012)

               ดังนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จึงจัดทำโครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ไก่กระดูกดำพันธุ์แท้ ที่มีสมรรถภาพการผลิตที่ดีสำหรับพื้นที่ 3 ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล โดยทำการทดสอบการเลี้ยงไก่กระดูกดำ ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ โครงการขยายผลโครงการหลวงห้วยเป้า (400-800 เมตร) สถานีเกษตรหลวงปางดะ (800-1,000 เมตร) และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง (1,000 เมตรขึ้นไป) โดยนำลูกไก่ที่ได้จากการปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์จากฟาร์มปศุสัตว์ มูลนิธิโครงการหลวง อายุ 1 เดือน มาเลี้ยงต่อจนถึงอายุ 16 สัปดาห์ หรือ 4 เดือน ผลปรากฏว่า ไก่กระดูกดำที่เลี้ยงที่โครงการขยายผลฯ ห้วยเป้า ให้น้ำหนักตัวเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 1.65 กิโลกรัม และมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก หรือ FCR (กินน้อยกว่าแต่โตมากกว่า) ดีที่สุดด้วย คือ 3.34 ส่วนปริมาณอาหารที่ไก่กินนั้น พบว่าศูนย์ฯ ขุนวาง มีปริมาณมากที่สุดคือ 6,257.39 กรัม/ตัว ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เย็นกว่าอีก 2 พื้นที่ จึงทำให้ไก่กระดูกดำกินอาหารมากกว่าทั้ง 2 พื้นที่ เพื่อนำไปใช้สร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย และเมื่อดูผลกำไรจากการเลี้ยง พบว่าผู้เลี้ยงจะมีกำไรเฉลี่ยอยู่ที่ 98.17 บาทต่อตัว โดยโครงการขยายผลฯ ห้วยเป้า ได้กำไรจากการเลี้ยงมากที่สุด คือ 115.78 บาท รองลงมา คือ สถานีฯ ปางดะ และศูนย์ฯ ขุนวาง


               สรุปแล้วไม่ว่าพื้นที่จะมีความสูงจากน้ำทะเลระดับใดก็ตาม ก็สามารถที่จะเลี้ยงไก่กระดูกดำให้ได้ผลดีได้ แต่สิ่งที่จะมีผลต่อการเลี้ยงที่สำคัญประการหนึ่งคือ ประสบการณ์และความเอาใจใส่ดูแลของผู้เลี้ยง ที่จะป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของตัวผู้เลี้ยงเอง ดังนั้น หากผู้เลี้ยงปฏิบัติตามระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกที่ดีบนพื้นที่สูงอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยให้การเลี้ยงประสบผลสำเร็จได้ง่ายยิ่งขึ้นและมีความยั่งยืน สามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ต่อไป หากสนใจรายละเอียดหรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 053-328496-8 ต่อ 2202

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร


Create Date : 20 มกราคม 2564
Last Update : 20 มกราคม 2564 14:13:53 น. 1 comments
Counter : 903 Pageviews.

 
สวัสดีคะ...

ยังไม่เคยทานเลยคะ..

ถ้าไปทางเชียงใหม่ จะลองหาทานบ้าง..

แต่ถ้าจะหายากนะ..



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 20 มกราคม 2564 เวลา:21:28:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6126135
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6126135's blog to your web]
space
space
space
space
space