space
space
space
<<
ธันวาคม 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
3 ธันวาคม 2563
space
space
space

ประโยชน์จากผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการแปรรูปสับปะรด (เปลือกสับปะรด)
ประโยชน์จากผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการแปรรูปสับปะรด (เปลือกสับปะรด)
นิรมล ปัญญ์บุศยกุล


         สับปะรดเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้ประเทศไทย ประมาณปีละ 23,000-25,000 ล้านบาท โดยประเทศไทยส่งออกสับปะรดในหลากหลายรูปแบบทั้งแบบผลสด และสับปะรดแปรรูป ผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดส่งอกที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อสับปะรดบรรจุกระป๋อง และน้ำสับปะรด โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสับปะรดกระป๋องเป็นอันดับหนึ่งของโลก ชลบุรีซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของประเทศไทย โดยพันธุ์ที่ปลูกและขึ้นชื่อในจังหวัดชลบุรีคือ สับปะรดพันธุ์ศรีราชา ซึ่งนอกจากรสชาติที่ดีแล้วสับปะรดยังประกอบด้วยสารออกฤทธืชีวภาพที่สำคัญที่มีผลการวิจัยรายงานว่ามีคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคต่างๆ หลายชนิด เช่น ใยอาหาร วิตามินซี โพแทสเซียม และเอนไซม์โบรมิเลน เป็นต้น สัดส่วนของผลสับปะรดหนึ่งผลคิดเป็นสัดส่วนของผลสับปะรดคิดเป็น น้ำหนักเนื้อ 33 % แกน 6 % เปลือก 41 % และจุก 20 % ของผลสับปะรดทั้งผล จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เปลือกสับปะรดเป็นผลิตผลพลอยได้หลัก ๆ จากกระบวนการแปรรูปสับปะรด โดยในปีหนึ่ง ๆ จะมีเปลือกสับปะรดจากโรงงานแปรรูปสับปะรดประมาณ 330 พันตันต่อปี

         ปัจจุบันยังไม่มีการนำเปลือกสับปะรดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมมีเพียงรายงานว่าเปลือกสับปะรดมีองค์ประกอบที่มีคุณค่าทางโภชนาการอยู่สูง คือ มีโปรตีน ประมาณ 4-6 % ไขมัน 2-4 % เส้นใย 12-25 % ซึ่งโดยส่วนใหญ่โรงงานแปรรูปจะนำไปจำหน่ายให้เป็นอาหารสัตว์ในราคาถูกราคากิโลกรัมละ 5 บาทเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าเปลือกของสับปะรดนอกจากจะมีองค์ประกอบทางโภชนาการดังกล่าวแล้ว เปลือกสับปะรดยังมีองค์ประกอบเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่เช่นเดียวกันกับในเนื้อผลสับปะรดด้วย สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลัก ๆ ในเปลือกสับปะรดดังกล่าว จะเป็นสารในกลุ่มพอลิฟินอล ได้แก่ กรดแกลิก คาเทชิน และ อิพิคาเทชิน กรดเฟอรูลิก ที่ปกติพืชจะสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับเป็นภูมิคุ้มกันตนเอง ป้องกันตนเองจากสิ่งแปลกปลอมภายนอกที่เรียกว่า secondary metabolites (เซเกิ้นเดรีเมแทบอไลท์) หรือ เมแทบอไลท์ทุติยภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของจุลินทรีย์ก่อโรคชนิดต่าง ๆ สารเหล่านี้นอกจากจะมีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์แล้ว ยังเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง และฤทธิ์ทางชีวภาพอื่น ๆ อีกหลายประการด้วย

         จึงมีนักวิจัยหลายท่านมีความพยายามนำสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน เช่น พยายามสกัดสารออกฤทธิ์ชีวภาพเหล่านั้นมาเพื่อเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านจุลินทรีย์ เพื่อประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เพื่อผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพ หรือ supplements สกัดสารให้กลิ่นรส (flavor) หรือใช้สารสกัดดังกล่าวสำหรับทดแทนสารต้านจุลินทรีย์สังเคราะห์ในผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความกังวลในเรื่องสุขภาพ นอกจากนี้ยังนำเปลือกสับปะรดไปใช้เป็นวัตถุดิบในการหมักเป็นน้ำส้มสายชูแทนการใช้เนื้อผลสับปะรดเพื่อเพิ่มมูลค่าของเปลือกสับปะรดเอง หรือนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นพลังงานทางเลือกทดแทนพลังงานจากฟอสซิล ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการรักษาโรคได้ โดยมีรายงานว่าสารสกัดจากเปลือกสับปะรดสามารถลดการเปลี่ยนแปลงของสารฟอสโฟลิปิด และสามารถยับยั้งกระบวนการเกิดออกซิเดชันของลิปิด ในเนื้อเยื่อสมองที่เป็นผลมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์จากสารสกัดจากเปลือกสับปะรดเองมาใช้ในทางด้านอุตสาหกรรมการเกษตร เนื่องจากสารออกฤทธิ์ดังกล่าวสามารถยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชบางชนิด เช่น Collectotricum capsici (คอเลกโตตริกุ้ม แคบสิซิ) และ C. glocosporioides (คอเลกโตตริกุ้ม กลูโคสปอริออยเดส) ในพริก จึงมีแนวโน้มในการใช้สารสกัดดังกล่าวทดแทนสารเคมีเพื่อควบคุมหรือยับยั้งเชื้อราก่อโรคแอนแทรกโนสในแปลงปลูกพริกของเกษตรกรได้ ซึ่งจะสามารถลดอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชสังเคราะห์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรได้อีกด้วย

         จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่านอกจากประโยชน์จากการรับประทานเนื้อสับปะรดแล้วเปลือกสับปะรดที่ปกติเป็นผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการแปรรูปสับปะรด ที่ปัจจุบันเพียงจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ที่มีราคาถูก ยังมีประประโยชน์ในเชิงมูลค่าอีกมากมายในอุตสาหกรรมหลาย ๆ ประเภท ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตผลพลอยได้นี้นำมาซึ่งรายได้เข้าประเทศ และอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการลดการเสียดุลการค้าที่เกิดจากการนำเข้าอาหารเสริม พลังงาน ผลิตภัณฑ์ยาเพื่อรักษาโรค และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีกทางหนึ่งได้ด้วย
 
ที่มา : สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา


Create Date : 03 ธันวาคม 2563
Last Update : 3 ธันวาคม 2563 11:32:51 น. 0 comments
Counter : 3659 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6126135
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6126135's blog to your web]
space
space
space
space
space