space
space
space
<<
มกราคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
20 มกราคม 2564
space
space
space

จิ้งหรีดออร์แกนิคเงินล้าน

               จิ้งหรีด เป็นแมลงที่สามารถพบเห็นได้ตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ เจริญเติบโตได้ดีในอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 22-35 องศาเซลเซียส เดิมมีผู้นิยมบริโภคในบางพื้นที่ของประเทศเท่านั้น เช่น ในท้องถิ่นของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ชาวบ้านมักจะหาจิ้งหรีดตามธรรมชาติมาบริโภคเป็นอาหาร เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีความนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากมีรสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบไปด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส วิตามิน และให้พลังงานแก่ร่างกาย ที่สำคัญเป็นแมลงที่ปลอดภัยจากสารพิษ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์เศรษฐกิจต่าง ๆ ได้อีกด้วย ทำให้ประชากรจิ้งหรีดตามธรรมชาติมีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ จึงได้มีการนำจิ้งหรีดมาเลี้ยงในภาชนะหรือเลี้ยในระบบฟาร์ม เป็นการสร้างรายได้ และลดรายจ่ายให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย
               จิ้งหรีด เป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสั้นและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มีหลายชนิดและมีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของจิ้งหรีด จิ้งหรีดพันธุ์ไทยที่นิยมเลี้ยง คือ จิ้งหรีดทองแดง จิ้งหรีดทองดำ จิ้งหรีดทองลาย สามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้ 4-5 รุ่น ต่อปี โดยเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม หรือเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพหลัก ในเชิงพาณิชย์ก็ได้ เนื่องจากสามารถวางแผนการผลิตให้มีผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีได้ ประกอบกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยมีความเหมาะสมในการเลี้ยงจิ้งหรีดได้ตลอดทั้งปี
               นางสาวชุติกาญจน์ เจื้อแจ้ว อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 888 บ้านวังยายมาก หมู่ 3 ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เกษตรกรผู้ริเริ่มการเลี้ยงจิ้งหรีดออร์แกนิค มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 โดยเริ่มสนใจการเลี้ยงจิ้งหรีด เนื่องจากเห็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อเป็นรายได้เสริมเมื่อว่างเว้นจากการทำการเกษตร จึงมีความคิดทำเป็นอาชีพเสริมบ้างโดยเริ่มจากการศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และลองผิดลองถูกในทดลองการเลี้ยงจิ้งหรีดมาเรื่อย ๆ
               ภายหลังจึงมีแนวคิดที่จะเลี้ยงจิ้งหรีดให้เกิดความแตกต่างจากผู้เลี้ยงจิ้งหรีดรายอื่นๆ โดยปรับวิธีเลี้ยงให้เป็นออร์แกนิค โดยให้จิ้งหรีดมีความสะอาดทั้งภายนอกตัวและภายในตัว ควบคุมเรื่องอาหารเลี้ยงจิ้งหรีด และการดูแลจิ้งหรีดเป็นพิเศษตามที่ตลาดต้องการ จนกระทั่งประสบความสำเร็จทั้งเรื่องการผลิตและการตลาด จึงย้ายโรงเลี้ยงจากเดิมที่อยู่บริเวณบ้านไปตั้งฟาร์มที่ตำบลท่าชัย ซึ่งฟาร์มไม่อยู่ใกล้กับบ้านพักอาศัยตามหลักการจัดการฟาร์มที่ดี
               นอกจากนี้นางสาวชุติกาญจน์ ยังได้สร้างกลุ่มผู้สนใจเลี้ยงจิ้งหรีดทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด โดยจัดส่งอุปกรณ์การเลี้ยงจิ้งหรีดพร้อมทั้งควบคุมคุณภาพการเลี้ยงให้ได้มาจรฐาน รวมทั้งรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในกลุ่มโดยมีการรับประกันราคาล่วงหน้า จากนั้นจึงทำการแปรรูปผลผลิตจิ้งหรีดโดยการอบแห้งและแช่แข็งบรรจุในถุงพลาสติกเพื่อส่งจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างรายได้ต่อเดือนมากกว่า 1 ล้านบาท สำหรับประเทศที่รับซื้อจิ้งหรีดแปรรูปส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในทวีปอเมริกาและยุโรป ซึ่งในปัจจุบันยังมีความต้องการบริโภคอีกเป็นจำนวนมาก
               กรมส่งเสริมการเกษตรโดยสำนักงานเกษตรอำเภอศรีสัชนาลัยพิจารณาเห็นว่า เกษตรกรในอำเภอศรีสัชนาลัยเริ่มหันมาเลี้ยงจิ้งหรีดมากขึ้น เนื่องจากตลาดมีความต้องการสูง ต้นทุนต่ำ ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย และค่อนข้างเลี้ยงง่าย จึงส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่หรือแปลงใหญ่ผู้เลี้ยงจิ้งหรีด ในปี พ.ศ. 2561 โดยมีนางสาวชุติกาญจน์ เป็นแกนหลักในการจัดตั้งกลุ่ม ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 36 ราย กระจายไปในทุกตำบลของอำเภอศรีสัชนาลัย ทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์การจัดการด้านตลาดเพิ่มมูลค่าทางตลาด และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตทำให้เกษตรกรมีรายได้ และความเป็นอยู่ดีขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน
 
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร


Create Date : 20 มกราคม 2564
Last Update : 20 มกราคม 2564 14:03:58 น. 0 comments
Counter : 616 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6126135
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6126135's blog to your web]
space
space
space
space
space