space
space
space
<<
มกราคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
27 มกราคม 2564
space
space
space

ขนแพะ (Goat Fiber)

               ผลผลิตขนที่ได้จากแพะ โดยหลักแล้วแบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่ ขนแฮร์ โมแฮร์ แคชเมียร์ และแคชโกรา โดยส่วนใหญ่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในเขตอบอุ่นมีขนสองชั้น ขนชั้นนอกป้องกันสัตว์จากสภาพแวดล้อม เรียกว่า “guard hair” ขนมีลักษณะยาวและค่อนข้างหยาบ ส่วนขนชั้นในเรียกว่า “wool” มักสั้นกว่าและอ่อนนุ่มกว่า และเป็นฉนวนกันความหนาวได้ดี ขนนี้จะยาวในช่วงฤดูหนาวและขนจะผลัดออกในฤดูใบไม้ผลิ (Tebbit, 1996)
  1. ขนแฮร์ (Hair)
               โดยปกติเส้นขนแพะชนิดนี้ถูกตัดเพื่อนำมาใช้ถักทอเป็นผ้าที่มีเส้นใยหยาบ เช่น ผ้าห่ม พรม เชือก และกระเป๋า หรือในบางแห่งใช้ในการก่อสร้างเป็นส่วนผสมปูนสำหรับฉาบ ในประเทศจีนใช้ขนแพะทำปลายพู่กันสำหรับเขียนตัวอักษร และขนที่ติดหนังแพะจากโรงฆ่าใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ที่มีชื่อเสียงระดับสากล ได้แก่ ขนหนังแพะ แบลคเบงกอลจากบังคลาเทศ ที่มีคุณภาพราคาสูง และหนังแพะเรดโซโกโต (Red Sokoto) จากไนจีเรีย
               คุณลักษณะของขนแฮร์เป็นเส้นตรง เส้นหยาบ ไม่ยืดหยุ่น มีหลายสี และเส้นมีความยาวหลากหลาย ในประเทศปากีสถานมีการส่งออกขนแพะเป็นหลักและได้แบ่งเกรดขน ความยาวมากกว่า 8.9 เซนติเมตร เป็นความยาวพิเศษ ความยาวปกติ 5.3-8.9 เซนติเมตร และถ้าน้อยกว่า 5.2 เซนติเมตรเป็นขนสั้น
  1. ขนแคชเมียร์ (Cashmere)
               ขนแพะชนิดนี้เส้นละเอียดและอ่อนนุ่มที่สุดในบรรดาขนแพะทั้งหมด ขนแพะแคชเมียร์เป็นเส้นใยที่หายาก ล้ำค่าและมีชื่อเสียงล่ำลือทั่วโลก ถือเป็นวัตถุดิบชั้นสูงของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในช่วงฤดูหนาวแพะจะสร้างขนออกมาปกคลุมทั่วร่างกายเพื่อปกป้องความหนาว อากาศยิ่งหนาวขนแพะยิ่งงอกงามและละเอียด ดังนั้นจึงเป็นขนที่มีราคาสูงโดยเฉพาะถ้าเป็นขนแคชเมียร์สีขาว รองมาคือสีเทาและสีน้ำตาลตามลำดับ ราคาสูงสุดยังขึ้นกับความละเอียดของเส้นขน เส้นผ่านศูนย์กลางวัดเป็นไมครอน และคว่ามสม่ำเสมอของคุณภาพขน (ขนที่เส้นละเอียดที่สุดน้อยกว่า 15 ไมครอน* จากประเทศจีน และ 18-19 ไมครอนจากประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน) ขณะที่ขนแกะ (wool) เส้นขนคุณภาพดี (fine) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 16-20 ไมครอน (Tebbit, 1996) แพะที่ตัวใหญ่แม้จะให้ผลผลิตขนมากกว่า เพราะมีพื้นที่ผิวร่างกายมาก หรือการผลิตเส้นขนที่ยาวกว่า แม้จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นแต่จะมีผลทำให้ขนาดของเส้นขนมีความใหญ่หยาบมากขึ้น และคุณภาพเส้นขนลดลงด้วย เนื่องจากการซื้อขายขนชนิดนี้ซื้อโดยการชั่งจากน้ำหนักขนแคชเมียร์ ไม่ได้ซื้อจากขนแพะที่ตัดมาได้ทั้งหมด ซึ่งมักจะติดขนแฮร์มาด้วย และวิธีการปั่นเส้นขนจะต้องแยกขนแฮร์ออกก่อน และแพะที่มีอายุมากขึ้นมีผลต่อน้ำหนักและเส้นผ่านศูนย์กลางของขนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แพะเพศผู้ให้น้ำหนักขนมากกว่าเพศเมีย ดังนั้นนักปรับปรุงพันธุ์ที่ดีจะมองหาจุดสมดุลระหว่างขนาดร่างกาย เพศ อายุ และผลผลิตขน ความหนาแน่น ความละเอียด และความยาว โดยนักปรับปรุงพันธุ์จะเน้นที่น้ำหนักขนก่อน รูปพรรณ ความละเอียด เส้นขน ความมันวาว และความมันของเส้นขน
               แพะแคชเมียร์มักจะผลัดขนโดยธรรมชาติช่วงปลายฤดูหนาวต้นฤดูใบไม้ผลิ แพะแคชเมียร์ไม่ได้ปรากฏว่าเป็นสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง เนื่องจากมีแพะท้องถิ่นของอินเดียหลายสายพันธุ์ที่ผลิตขนที่มีความละเอียดพอจัดอยู่ในกลุ่มแคชเมียร์ในกลุ่มประเทศเอเชียกลางโดยเฉพาะประเทศจีน (เมืองเทียนฉาน) ทิเบต มองโกลเลีย และเกอจิสถาน บนเทือกเขาหิมาลายา ความสูง 15,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล มีแพะภูเขา หรือแพะแคชเมียร์ที่รู้จักกันในชื่อ พาสมินา (pashmina goats) มาจากคำเปอร์เซีย แปลว่า ขนปุยนุ่น (wool) แพะมีลักษณะเขาบิดม้วน ใบหูตั้ง ขนแพะเหล่านี้เส้นยาวและขาวซึ่งมีราคาสูง นิยมถักเป็นผ้าคลุมไหล่ ส่วนแพะในแถบรัสเซียมักมีสีดำ
               แพะแคชเมียร์ของมองโกลเลียมีน้ำหนักตัว 38-54 กิโลกรัม ให้ลูกปีละครั้งและมักเป็นลูกเดี่ยว ผลผลิตขนแคชเมียร์ 270-290 กรัม ความยาว 5 เซนติเมตร ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลาง 15.2-16.5 ไมครอน และให้ผลผลิตขนแฮร์ 360-610 กรัม ความยาว 14.5-15 เซนติเมตร
(* 1 ไมครอน = 0.000001 เมตร = 1 ไมโครเมตร = 1x10-6 เมตร)
               ขนแพะมีลักษณะพิเศษคือ ขนละเอียด อ่อนนุ่ม มีความโค้งงอตามธรรมชาติสูง เวลาถักทอจะทำให้เส้นใยเรียงตัวแน่น และรักษาความอบอุ่นได้ดี ซึ่งดีกว่าขนแกะ 1.5-2 เท่า ขนแพะภายนอกจะมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ แต่แวววาว เส้นใยตรงกลางมีช่องว่างอากาศ ทำให้น้ำหนักเบา ลื่นและเหนียว สีและความวาวอ่อนโยนตามธรรมชาติ เส้นใยละเอียดสม่ำเสมอ การดูดซับดี สีไม่ตกง่าย มีความยืดหยุ่นดี สวมใส่สบาย ซักแล้วไม่หดตัวใส่แล้วรู้สึกสบายตัวและให้ความรู้สึกสง่างาม แพะ 1 ตัวให้ปริมาณขนแพะบริสุทธิ์ที่ผ่านกระบวนการหวีใยเอาสิ่งสกปรกออกแล้ว จะเป็นเส้นใยมีลักษณะนุ่มเบา เพียง 50-80 กรัม โดยเฉลี่ยต้องใช้แพะ 5-8 ตัว ถึงจะผลิตเสื้อ sweater ได้ 1 ตัว (ธิดารัตน์, 2552)
 
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
 


Create Date : 27 มกราคม 2564
Last Update : 27 มกราคม 2564 11:17:21 น. 0 comments
Counter : 1306 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6126135
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6126135's blog to your web]
space
space
space
space
space