space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2563
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
17 พฤศจิกายน 2563
space
space
space

ถั่วดาวอินคา

               ต้นถั่วดาวอินคา ชื่อภาษาอังกฤษ sacha inchi เป็นพืชที่มาจากป่าอะเมซอน ของประเทศเปรู ชอบขึ้นในเขตป่าร้อนชื้น สูงจากระดับน้ำทะเล 2,000 เมตร เมื่อสกัดเมล็ดมีน้ำมัน และมีโปรตีนที่มีคุณค่าสูง
ลักษณะทั่วไป
               เป็นพืชสมบูรณ์ดอกมีขนาดเล็กและฝักมีขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร มีสีเขียวสดใสเมื่อฝักอ่อน และมีสีน้ำตาลเข้มเมื่อฝักแก่ ฝักของถั่วดาวอินคามักจะมี 4-6 แฉก เมล็ดกว้าง 15 ถึง 20 มม. หนา 7-8 มม น้ำหนักของเมล็ดถั่วดาวอินคาประมาณ 0.8-1.4 กรัม เมล็ดอุดมไปด้วยสารอาหารและกรดไขมันที่จำเป็นทำให้ไม่ซ้ำกันระหว่างพืชอื่นที่คล้ายคลึงกัน
               ลำต้น เป็นไม้เถาทรงพุ่ม เจริญเติบโตสูง 2-3 เมตร เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดและความชื้นสูง ผลเป็นรูปดาว เมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียวและมีสีน้ำตาลเข้มเมื่อฝักแก่เต็มที่ มีเปลือกที่ครอบคลุมเมล็ดใน 3 ชั้น 1 ฝักมีเมล็ก 3-7 เมล็ด สามารถเก็บเกี่ยวหลังจากการปลูกเพียงแค่ 7-8 เดือนเท่านั้น หลังการเก็บเกี่ยว ครั้งแรกยังสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายต่อหลายครั้งตลอดทั้งปีและขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปลูก แหล่งน้ำ และการใส่ปุ๋ย สามารถให้ผลผลิตได้นานเป็นสิบๆปี
สรรพคุณ
  1. มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  2. มีกรดไขมัน โอเมก้า 3,6 และ 9
  3. มีวิตามิน A และ E
  4. ช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลและป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  5. ลดน้ำหนักควบคุมระบบน้ำตาลในเลือด ลดอาการซึมเศร้า
  6. รักษาโรคผิวหนัง หอบหืด ไมเกรน ต้อหิน
  7. ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
การผลิตชาถั่วดาวอินคา
               ถั่วดาวอินคา มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรูเป็นพืชกึ่งเถาว์กึ่งเลื้อย เมล็ดให้น้ำมันชั้นดีเยี่ยมประกอบด้วยสารโอเมก้า 3,6,9 วิตามิน A E และกรดไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา           บำรุงประสาท แก้ผมร่วง ลดไขมันในหลอดเลือด ป้องกันโรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ลดไขมันส่วนเกิน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง ชะลอความแก่ เมล็ดบีบน้ำมัน ใบใช้ทำชา
วิธีทำ
  1. เก็บใบถั่วดาวอินคาที่แก่โดยเอาก้านออกเพื่อชาจะได้แห้งเร็ว
  2. นำใบดาวอินคาไปล้างให้สะอาด
  3. นำใบชามาหั่นให้เป็นเส้น
  4. นำชาที่หั่นแล้วไปคั่วในหม้อหรือกระทะให้ใบชาลวกสุกอย่าให้ไหม้กรอบโดยใช้ไฟอ่อน ๆ
  5. นวดใบชาให้นุ่มให้เซลใบแตกซึ่งจะทำให้ใบชาชงออกเร็ว
  6. นำไปตากแห้งบรรจุซองปิดให้สนิท
ข้อควรระวัง
               อย่าใช้ไฟแรงใบจะไหม้กรอบไม่อร่อย
 
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
 


Create Date : 17 พฤศจิกายน 2563
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2563 17:33:48 น. 0 comments
Counter : 355 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6126135
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6126135's blog to your web]
space
space
space
space
space