space
space
space
<<
ธันวาคม 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
3 ธันวาคม 2563
space
space
space

กล้วยไม้อัจฉริยะ


               ระยะนี้เรามักจะได้ยินคำว่าเกษตรอัจฉริยะบ่อยๆ เป็นเพราะนโยบายภาครัฐเองก็พยายามส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในการผลิตของภาคการเกษตร ส่วนในแวดวงผู้ผลิตกล้วยไม้เช่นกัน มีพัฒนาการเกิดขึ้นหลายประการในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนของชาวสวนผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ก็มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกล้วยไม้ที่เห็นอย่างชัดเจน เช่น มีการสร้างแขนกลเพื่อช่วยในการพ่นปุ๋ย พ่นยา มีการผลิตถาดคอนกรีตสำหรับการปลูกกล้วยไม้เพื่อทดแทนกระบะมะพร้าว
               เมื่อพูดถึงเกษตรอัจฉริยะก็ย่อมจะหมายรวมถึง การนำเอาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) หรือ AI มาใช้ในการเกษตรด้วย ในต่างประเทศ การทำงานร่วมกันระหว่าง AI กับเครื่องมือการเกษตรมักจะเรียกอีกแบบหนึ่งว่า Robot Farming หรืออาจแปลตรงๆ ได้ว่าการทำฟาร์มด้วยหุ่นยนต์

แล้ว AI มาเกี่ยวข้องอย่างไรกับการผลิตกล้วยไม้ ?
               อย่างที่กล่าวมาแล้ว ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาด้านการผลิตกล้วยไม้อย่างต่อเนื่อง คลัสเตอร์กล้วยไม้ได้เรียนเชิญนักวิชาการ นักวิจัย จากสถาบันต่างๆมามีส่วนร่วมในการพัฒนาดังกล่าว
               สำหรับการนำ AI เข้ามาเพื่อการผลิตกล้วยไม้คุณภาพ จุดเริ่มต้นเกิดจากการประดิษฐ์แขนกลเพื่อใช้พ่นปุ๋ยยาแทนแรงงานคน โดยคุณสมพงษ์ ทวีสุข ผู้ปลูกเลี้ยงและส่งออกกล้วยไม้ตัดดอก ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสำคัญ แขนกลดังกล่าวแขวนอยู่ระหว่างโต๊ะปลูกกล้วยไม้และเคลื่อนที่โดยการดึงของสลิง แขนกลดังกล่าวมีลักษณะ
  • แขวนอยู่เหนือโต๊ะปลูกกล้วยไม้
  • ตรงกลางแขนกลจะถูกเชื่อมต่อกับสายปุ๋ย – ยา
  • สามารถฉีดพ่นปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช ทดแทนการใช้แรงงานคน
  • แขนกลเคลื่อนที่และจะลากสายปุ๋ย ยา ไปด้วย
  • แขนกล 1 แขนใช้ได้กับโต๊ะกล้วยไม้ 1 ช่อง ซึ่งหมายความว่า หากสวนกล้วยไม้มีหลายช่องก็จะต้องติดตั้งแขนกลมากกว่า 1 แขน
               ในปี 2561 คลัสเตอร์กล้วยไม้ โดยผู้ประสานงานคลัสเตอร์ได้ติดต่อ อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา หัวหน้าทีม KU ROBOT & INNOVATION คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการนำระบบ AI ของกล้อง CCTV มาใช้ในสวนกล้วยไม้ มีการหารือกับทีม อาจารย์ปัญญา หลายครั้ง ตลอดจนได้นำอาจารย์ปัญญา และคณะไปเยี่ยมชมสวนกล้วยไม้ของคุณสมพงษ์และสวนกล้วยไม้อื่นที่มีการติดตั้งแขนกลของคุณสมพงษ์ จนถึงในที่สุดได้ข้อสรุปดังนี้
  • แขนกลที่จะพัฒนาขึ้นมาใหม่จะเป็นการต่อยอดจากแขนกลที่คุณสมพงษ์ได้ทำไว้
  • แขนกลแบบใหม่นี้จะติดกล้อง CCTV สำหรับระบบ AI ด้วย
  • ระบบ AI จะเรียนรู้ลักษณะของต้นกล้วยไม้ เพื่อจำแนกต้นกล้วยไม้ที่ดี ต้นที่ถูกทำลายจากโรค หรือแมลง โดยกล้อง CCTV ซึ่งหากระบบ AI ได้เรียนรู้มากขึ้นก็จะยิ่งเพิ่มขีดความสามารถในการจำแนกได้ดีขึ้น
  • แขนกลจะเคลื่อนที่ได้เองบนสลิงที่จะขึงไว้ด้วยโปรแกรมที่เขียนโดยทีมงาน
  • แขนกลมีความกว้าง 6-8 เมตร ตามช่องโรงเรือนกล้วยไม้
  • แขนกล 1 ชุดสามารถเคลื่อนเปลี่ยนช่องได้ด้วยตัวเอง ซึ่งหมายความว่าสวนกล้วยไม้ สามารถมีแขนกลเพียงแค่ 1 แขน ก็จะใช้ได้ทั้งสวน
  • แขนกลจะบรรทุก ปุ๋ย ยา เพื่อทำการฉีดพ่นได้ โดยไม่ต้องลากสายปุ๋ย ยา
  • จะมีทีมคณาจารย์จาก ภาควิชาพืชสวน ภาควิชากีฎวิทยา และภาควิชาโรคพืช เข้าร่วมในการวิจัยเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถของระบบ AI ให้สามารถจำแนก ชนิดของโรคและแมลงได้ดีขึ้น
               ขณะนี้ ทีมงานของ อาจารย์ปัญญา และคณะกำลังเตรียมโครงร่างงานวิจัยเพื่อขอรับทุนวิจัย จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ซึ่งก็หวังว่าหากโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สวก. เราก็คงได้เห็นกล้วยไม้อัจฉริยะกันในไม่นานนี้
 
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร


Create Date : 03 ธันวาคม 2563
Last Update : 3 ธันวาคม 2563 10:57:04 น. 0 comments
Counter : 467 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6126135
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6126135's blog to your web]
space
space
space
space
space