
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
มองอีกด้าน นโยบายจำนำข้าว
วันนี้ ได้ฟังสัมภาษณ์นโยบายจำนำข้าว ให้ราคา 15000 บาท และวิธีป้องกันการนำข้าวเพื่อนบ้านมาสวมรอย ด้วยการออกบัตรเครดิตให้ชาวนาไว้ใช้ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ต้องใช้ในการปลูกข้าว เพื่อเป็นการยืนยันว่า มีการปลูกข้าวจริง
ฟังแต่แรกก็เสียวหัวใจเสียแล้ว ราคาข้าว 15000 บาท... คนขายคงชอบใจ แต่ในฐานะคน "กินข้าว" อย่างเรา ฟังแล้วหนาวหัวใจเสียจริง ข้าวเปลือกจะแพงขึ้นทันทีที่นโยบายนี้ ถูกประกาศใช้ แล้วข้าวสาร ข้าวสุก จะแพงขึ้นไปขนาดไหน
แม้จะอย่างไร ก็ยังพอทำใจได้ว่า อยากให้ชาวนามีเงินใช้ ข้าวที่เค้าใช้ความวิริยะ อุตสาหะ ปลูกมา ก็ควรมีราคาให้คนปลูกได้ชื่นใจบ้าง
แต่ที่สะดุดใจ จนทนไม่ไหว ก็นโยบายบัตรเครดิตชาวนา
ฟังเผินๆ ดูเหมือนดี ไม่มีอะไรเสีย ชาวนาได้เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา ไปใช้ทำนา โดยไม่ต้องจ่ายเงินไปก่อน ทางการ ก็สามารถป้องกันพวกหัวใสใจต่ำ ที่จะลักลอบซื้อข้าวถูกเอามาจำนำแพง
หากแต่มองให้ลึกลงไป ตามประสาชาวบ้านร้านค้าธรรมดาอย่างเรา ก็อยากจะบอกว่า นี่เป็นวิธีการผูกขาดแบบที่...จำกัดความไม่ถูกเลยทีเดียว
แรกสุด ที่ว่า การตรวจสอบว่ามีการปลูกข้าวจริงหรือไม่ จะดูจากการใช้ขัตรเครดิตในการซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา ฟังคล้ายๆว่า ข้าวที่จะนำมาจำนำได้ ต้องปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมา ปุ๋ยเคมีที่ซื้อมา ยาฆ่าแมลงที่ซื้อมา...อีก แล้วถ้าเช่นนั้น กลุ่มชาวนาที่กำลังใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการปลูกข้าว คัดเลือกเมล็ดพันธุ์เอง ทำปุ๋ยใช้เอง ใช้สมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช จะไม่มีสิทธิ์นำข้าวไปจำนำอย่างนั้นหรือ
มองต่อไป ในมุมของคนค้าขายปัจจัยการเกษตจร ก็คงต้องมาตั้งตัวกันใหม่เลยทีเดียว เพราะถ้าไม่หาทางเข้าร่วมเป็นหนึ่งในร้านค้าที่ชาวนามาใช้บัตรเครดิตได้ ก็อาจถึงคราวต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน ด้วยเหตุที่ชาวนาจำเป็นต้องรักษาสิทธิ์ของตัวเอง ด้วยการซื้อของจากร้านที่ถูกกำหนดมาแล้ว ดูจะไม่มีทางเลือกกันทั้งคนซื้อ และ คนขาย และแน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ ร้านไหนๆ ก็ต้องอยากเข้าร่วมโครงการ เพราะมีลูกค้ามาเพิ่มแน่ๆ แถมด้วยการไม่ต้องง้อลูกค้า ถึงขายแพงก็ยังขายได้ เพราะถึงแม้อีกร้าน จะขายถูกกว่า แต่ถ้าซื้อแล้วไม่ได้สิทธ์จำนำข้าว ชาวนาที่ไหน จะไปซื้อให้เสียสิทธิ์ตัวเอง การแย่งชิง แข่งขันทางการค้า สุดท้าย ก็คงไม่พ้น ต้องมีคนที่ตัดสินใจ ทำทุกอย่าง เพื่อให้ร้านตัวเองอยู่รอด ไม่ว่าด้วยทางถูก หรือ ทางผิด
แล้วไหนยังจะมีดอกเบี้ย ที่ต้องเกิดจากการใช้ก่อน ผ่อนทีหลัง ซึ่งวันนี้ ก็ไม่ได้ยินว่า จะจ่ายเงินให้กับร้านค้าที่ให้ชาวนาใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าอย่างไร เดาเอาเองเล่นๆว่า น่าจะเหมือนระบบทั่วไป ที่ร้านค้าเรียกเก็บเงินจากธนาคารเจ้าของบัตร ผุ้อนุมัติวงเงิน แล้วธนาคารก็มาเรียกเก็บกับลูกค้า ถ้าเป็นแบบนั้นจริง ก็แปลว่า ร้านค้าเรียกเก็บเงินจากรัฐบาล รัฐบาลค่อยไปหักหนี้จากชาวนาตอนจำนำข้าว แปลได้อีกว่า ร้านค้ามีแต่ได้กับได้ ได้ขายของง่าย ขายได้ราคา แล้วยังได้เงินแน่นอน (จะมีแถมได้ดอกเบี้ยแพงมหาศาลแบบบัตรเครดิตธรรมดาด้วยหรือไม่ อันนี้สุดจะเดา) ดีกว่าปล่อยเงินเชื่อให้ชาวนา ที่ไม่รู้ว่าจะมาใช้คืนหรือเปล่า ดีไม่ดี ยังต้องเสียเงินค่าจ้างส่งคนไปทวงหนี้อีก
ความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ ดูเหมือนว่า ชาวนะจะไม่ได้อะไรจากนโยบายนี้เลย นอกจากการเป็นหนี้ง่ายขึ้น....
แต่ก็ไม่ได้ถูกใจนโยบายประกันราคาของอีกพรรรค เพราะดูเหมือนมันไม่ใช่ทางแก้ปัญาหาที่ยั่งยืนเลย
แอบสงสัยเองว่า ทำไมไม่มีพรรคไหน พูดเรื่องการลดต้นทุน เพื่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์พืช เพิ่มช่องทางการหารายได้ ประกันภัยพืชผลเสียหายจากภัยธรรมชาติ
ถ้าต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลติตต่อไร่มากขึ้น ถึงราคาขายจะเท่าเดิม แต่เงินต้องเหลือมากขึ้นแน่ๆ
น้ำท่วม นาแล้ง หนต่อๆไป อยากเห็นชาวนา ให้สัมภาษณ์แบบชิลๆ ว่า ไม่มีปัญหา เราต้องการเวลาฟื้นฟูที่นาเลิกน้อย ส่วนเรื่องเงินทุน บริษัทประกันจะชดเชยให้ ทั้งในส่วนของพืชผลที่สูญเสียไป และ ชดเชยรายได้สำหรับช่วงเวลาที่ยังทำนาไม่ได้
จำได้ว่า ไฟไหม้ CTW เมื่อปีที่แล้ว ผู้บริหารของห้าง ดูจะไม่ได้แสดงความเดือดร้อนมากนัก เพราะบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบชดเชยค่าเสียหาย ทั้งทรัพย์สิน และ ค่าเสียโอกาส
เมื่อไหร่ เกษตรกรไทย จะได้แบบนี้บ้าง
Create Date : 07 มิถุนายน 2554 |
Last Update : 7 มิถุนายน 2554 22:09:18 น. |
|
0 comments
|
Counter : 964 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
วัลยา |
 |
|
 |
|