ฟิลิปปินส์มองไทย --- ไทยมองมาเลเซีย
สองบทความนี้แตกต่างกันครับ มุมหนึ่งเป็นการมองประเทศไทยโดยชาวฟิลิปปินส์ อีกมุมหนึ่งเป็นการมองมาเลเซียโดยคนไทย ทั้งสองบทความนี้ พูดก็พูดผมก็ไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด แต่ลองอ่านดูและคิดตาม ก็จะได้ข้อคิดใหม่ ๆ ว่าอะไรที่เราน่าจะทำ อะไรที่เราไม่น่าทำครับ ลองดูครับ
Commentary : A tale of two countries คำแปลด้านล่าง
By Felicito C. Payumo Inquirer
Posted date: July 10, 2007
A recent trip to Bangkok found me wondering how far behind we are now in building our physical infrastructure. Bangkoks new airport, large and functional, is one of the best in the region. The sight of it made me dread the thought of returning home through the old and dilapidated Ninoy Aquino International Airport as well as the traffic-snarled Tramo Street. Thailand and the Philippines used to be described as twin countries up to the 1960s, when they had roughly the same population and economic size. Curious to check how we now compare, I looked up the World Fact Book on the Internet. In 2006, our gross domestic product (GDP) per capita was $5,000, while it was $9,200 for the Thais. People living below the poverty line made up 40 percent of our population, while it was only 10 percent in Thailand.
Do we blame this on our large population? The World Fact Book says we now number 91 million, while there are 65 million Thais. This would explain the difference in our per capita shares if we had the same GDP, but Thailands stood at $585.9 billion while ours was $443.1 billion. Thai exports also amounted to $123.5 billion, three times more than our $47.2 billion.
This is the main reason why the unemployment rate in Thailand was 2.1 percent, while ours was 7.9 percent. The Thais dont have to look beyond their shores to find gainful employment while 8 million of our compatriots endure separation from their families to work abroad.
What accounts for Thailands higher production? Production comes from a countrys installed manufacturing capacity, and its agriculture and services sector, so Thailands higher GDP would not have come about if it had not done a better job of attracting investments. In fact its investment rate, at 28.7 percent of GDP, is nearly twice our 14.6 percent.
We are thankful for small blessings, such as the reported 6.9 percent GDP growth during the first half of this year. While some people tend to be skeptical about this figure, given how tax collections have fallen below target, our efforts in attracting call centers and business process outsourcing have obviously produced results. And given good infrastructure, we can attract big investments, such as the $1.6-billion shipbuilding facility of Hanjin in Subic, and the $1-billion expansion plant of Texas Instruments (TI) in Clark. Subic is fast becoming a maritime center with the new shipyard and container port, grains and fertilizer bulk facilities, and dry dock for ship repair. Philippine Airlines plans to expand its operations to the Diosdado Macapagal Airport in Clark. I am sure this piece of news, along with the anticipated completion of the Subic-Clark-Tarlac Expressway by yearend helped Texas Instruments choose Clark over China despite the more liberal terms the latter offered.
But we have a long way to go before we can ever catch up with our old twin. Thailand has built 57,403 km of paved roads while we have 19,804 km. Thailands superiority in terms of railways is even more dramatic. Their trains run on 4,071 km of rails while we make do with 897 km of narrow gauge tracks, of which only 40 percent is operational. If we have more airports (83 with paved and 173 with unpaved runways compared to Thailands 63 and 42, respectively) is due to geography. We either fly or ride a boat to island destinations.
But geography is also the reason the Thais have a more extensive irrigation system. They have irrigated close to 50,000 sq km of land while we have only 15,500 sq km. Of course, Thailand is served by the mighty Mekong River, but we could have built small water impounding systems which are better suited to our archipelagic geography.
But where did Thailand get the resources needed to build all these infrastructures that in turn attracted investments? One likely source is tourism. Bangkok is the doorstep of travelers from Europe to Asia. And Thailand has a lot to offer than just its
In 2006, Thailand received about 15 million visitors who spent some $14 billion. The Philippines could not even bring in 3 million tourists to earn $2.5 billion. On the other hand, our overseas Filipino workers (OFWs) remitted an estimated $14 billion last year, whereas Thailand does not even keep a record of remittances from its workers abroad. Thus, our combined earnings from visitors and OFW remittances of $16.5 billion is bigger than Thailands comparable figure of $14 billion.
So why are we lagging behind? Because we have long failed to harness this remittance resource. A central bank survey showed that after providing for educational and medical expenses, and buying or improving their houses, only 40 percent of our OFWs save and most of their savings are kept in banks abroad. Only 10 percent invest, while they dissipate their earnings by spending on home appliances, gadgets and fast foods.
The challenge before us then is how to mobilize this huge and continuing resource for economic development. And this can be done by providing OFWs investment alternatives other than buying tricycles for their relatives.
In this regard, the decision of ING Bank and Philippine National Bank to create a $500-million mutual fund for OFWs is welcome. But how about creating Special Purpose Investment Vehicles for infrastructure, microfinance or agribusiness for countryside development? For example, extending the Subic-Clark-Tarlac Expressway to Kennon Road would be viable under a build-operate-transfer scheme. There already exists mainstream traffic in the north-south artery unlike in the missionary east-west Subic-Clark segment. There are other viable infrastructure projects awaiting funding but which local capital plus the $14-billion annual remittance from overseas can fund. We can also put up Special Purpose Vehicles (SPVs) for infrastructures or business ventures that will provide livelihood in rural communities.
Our compatriots overseas sincerely want to help. They just have to be shown how. Wouldnt it be wonderful if we could provide them good investment opportunities even as they do their share in nation building?
Felicito C. Payumo is a former congressman and former chair of the Subic Bay Metropolitan Authority.
//services.inquirer.net/print/print.php?article_id=75926
จาก A tale of two countries โดย Felicito C. Payumo
Felicito C. Payumo ได้เขียนไว้ใน Philippines Daily Inquirer เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2550 ว่า
จากการเดินทางมากรุงเทพฯ ครั้งล่าสุด ทำให้ผมสงสัยว่า เราตามหลังประเทศไทยอยู่เท่าไหร่ สนามบินใหม่ของกรุงเทพฯใหญ่และมีประโยชน์ใช้สอยดี เป็นหนึ่งในสนามบินที่ดีที่สุดในภูมิภาค
ประเทศไทยกับฟิลิปปิส์ซึ่งเคยถูกเรียกว่าเป็นประเทศ ฝาแฝด ในช่วงทศวรรษที่ 1960 (พ.ศ. 2503 - 2513) ตอนที่เคยมีขนาดประชากรและเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน สงสัยว่าเราต่างกันยังไง ผมจึงค้นหาข้อมูลจาก The World Fact Book บนอินเตอร์เน็ต พบว่า ในปีพ.ศ. 2549 ระหว่าง ฟิลิปปินส์ | ไทย
GDP per capita (เฉลี่ยต่อคนต่อปี): US$5,000 | US$9,200 (หรือ ต่อคนต่อเดือน ราว ฿14,200 | ฿26,100) คนยากจน ต่อประชากรทั้งหมด: 40% | 10%
ประชากร: 91 ล้านคน | 65 ล้านคน
GDP: $443.1 พันล้าน | $585.9 (฿15.07 ล้านล้าน ฿19.92 ล้านล้าน) ไทยประชากรน้อยกว่า แต่ GDP มากกว่า
ส่งออก: $47.2 พันล้าน | $123.5 พันล้าน (฿16.05 แสนล้าน | ฿41.99 แสนล้าน) ไทยมากกว่าฟิลิปปินส์ถึง 3 เท่า
อัตราการว่างงาน: 7.9% | 2.1% การที่ประเทศไทยมีการส่งออกมากกว่า ทำให้คนไทยไม่ต้องมองหางานที่ให้เงินดีในต่างประเทศ ในขณะที่คนฟิลิปปินส์ถึง 8 ล้านคน ต้องทนห่างไกลจากครอบครัวเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
สัดส่วนการลงทุนจากGDP: 14.6% | 28.7% การที่ไทยมีผลผลิตมากกว่าฟิลิปปินส์ก็เนื่องมาจาก กำลังการผลิตของประเทศ, ภาคการเกษตร, และภาคบริการ ดังนั้น GDPที่สูงกว่าของไทยจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าไทยไม่มีการดึงดูดการลงทุนที่ดีกว่า
เราซาบซึ้งต่อเรื่องดีๆเล็กๆ อย่างเช่น การเติบโตของGDP ที่ 6.9% ในครึ่งปีแรกของปีนี้ ในขณะที่บางคนก็ยังสงสัยในตัวเลขนี้ ด้วยการเก็บภาษีที่้ต่ำกว่าเป้า ทำให้ความพยายามที่จะดึงดูด การเอางานด้าน call centre และ กระบวนการทางธุรกิจบางอย่างจากประเทศอื่นมาทำ (Call centre and Business process outsourcing) เป็นผล
และด้วยโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ดี เรา์สามารถดึงดูดการลงทุนใหญ่ๆได้ อย่างเช่น อู่ต่อเรือมูลค่า $1.6 พันล้านที่ ฮันจิน (Hanjin) ในซูบิค (Subic) และการขยายโรงงานของ Texas Instruments (TI) มูลค่า $1 พันล้าน ที่คลาร์ก (Clark) และฟิลิปปินส์ แอร์ไลส์ (Philippines Airlines) ก็วางแผนที่จะขยายการให้บริการไปถึง สนามบิน ดิโอสดาโด (Diosdado Airport) ที่คลาร์กด้วย ผมมั่นใจว่าข่าวนี้ประกอบกับทางด่วนซูบิค-คลาร์ก-ทาร์แลค (Tarlac) ที่คาดว่าน่าจะเสร็จปลายปี เป็นตัวสำคัญให้ Texas Instruments เลือกคลาร์ก แทนที่ประเทศจีน ทั้งๆที่จีนมีกฏที่ไม่เคร่งเท่า
แต่เราก็ยังต้องไปอีกไกลกว่าี่์จะตามแฝดเก่าของเราทัน ประเทศไทยมีถนนยาว 57,403 ก.ม. ในขณะที่เรามี 19,804 ก.ม. ความเหนือกว่าของไทยในด้านการรถไฟยึ่งมากกว่ามาก รถไฟไทยวิ่งบนรางยาว 4,071 ก.ม. ในขณะที่ เรามีราง 897 ก.ม. โดยที่มีเพียง 40% เท่านั้นที่ถูกใช้งาน ถึงแม้ว่าเราจะมีสนามบินมากกว่า คือ 83แห่งสำหรับรันเวพื้นปูน และ 173แห่งรันเวพื้นดิน เมื่อเทียบกับไทย 63แห่ง และ 42แห่ง ตามลำดับนั้น ก็เป็นเพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ ถ้าเราไม่บินไปยังเกาะต่างๆ เราก็ต้องนั่งเรือไป
แต่สภาพทางภูมิศาสตร์ก็เป็นสาเหตุให้ไทยมีการชลประทานที่กว้างขวาง พวกเขาทำการชลประทานเกือบถึง 50,000 ตร. ก.ม. ของพื้นดิน ในขณะที่เรามีแค่ 15,500 ตร. ก.ม. จริงอยู่ประเทศไทยมีแม่น้ำแม่กลองที่ยิ่งใหญ่ แต่เราก็น่าจะสามารถสร้างระบบเก็บกักน้ำเล็กๆ ที่เหมาะกับภูมิประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆอย่างเราได้
แต่ว่าประเทศไทยเอาทรัพยากรจากไหนมาสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในทางกลับกันก็ดึงดูดเงินลงทุน? ที่มาอันหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้คือ การท่องเที่ยว กรุงเทพฯเป็นประตูนำนักท่องเที่ยวจากยุโรป สู่เอเชีย และประเทศไทยก็มีอะไรที่มากกว่าแค่ที่ตั้งที่สะดวกมอบให้
ในปี 2549 ไทยรับนักท่องเที่ยวประมาณ 15 ล้านคนซึ่งใช้จ่ายประมาณ $14 พันล้าน (฿47.6 หมื่นล้าน) ประเทศฟิลิปปินส์ยังไม่สามารถนำนักท่องเที่ยวเข้ามาถึง 3 ล้านคน เพื่อให้ได้ $2.5ล้าน (฿8.5 หมื่นล้าน) เลย ในทางตรงกันข้าม ชาวฟิลิปปินส์ของเรา ที่ทำงานต่างประเทศ ส่งเงินกลับมาบ้านราว $14 พันล้าน เมื่อปีที่่แล้ว โดยที่ประเทศไทยไม่แม้แต่จะเก็บข้อมูลการส่งเงินกลับประเทศ ของคนไทยในต่างประเทศเลย ดังนั้น รวมรายได้ของเราจากนักท่องเที่ยวและเงินที่ส่งกลับมาบ้านแล้วได้ $16.5 พันล้าน (฿56.1 หมื่นล้าน) มากกว่า $14 พันล้านของไทย
แล้วทำไมเรายังตามหลัง? ก็เพราะเราล้มเหลวมานานที่จะจัดการกับเงินที่ส่งกลับมานี้ ผลการสำรวจจากธนาคารกลาง แสดงให้เห็นว่า หลังจากใช้จ่ายด้านการศึกษาและยา และซื้อหรือซ่อมบ้านแล้ว เพียงแค่ 40% ของผู้ทำงานต่างประเทศ เก็บสตางค์ และเงินเก็บส่วนใหญ่ของพวกเขาก็อยู่ต่างประเทศ เพียงแค่ 10% ลงทุน โดยที่พวกเขากระจายรายได้ของเขาด้วยการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็คโทรนิค (Gadgets) และอาหารฟาสท์ฟูด
เพราะอย่างนี้ ความท้าทายที่อยู่ตรงหน้าเราก็คือ การจะเคลื่อนย้ายจำนวนเงินที่มหาศาลและมีอย่างต่อเนื่องนี้อย่างไร เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งก็สามารถทำได้ด้วยการให้ทางเลือกการลงทุน แก่ผู้ทำงานต่างประเทศ นอกเหนือจากการซื้อสามล้อให้ญาติๆ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ การตัดสินใจของ ธนาคาร ING และธนาคารชาติฟิลิปปินส์ (Philippine National Bank) ที่จะเปิดกองทุนรวม $500 ล้าน สำหรับผู้ที่ทำงานต่างชาติ ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ แล้วการสร้างวิถีทางการลงทุนที่มีจุดประสงค์พิเศษ เพื่อโครงสร้างพื้นฐาน, การเงินขนาดย่อย (Microfinance) หรือ ธุรกิจการเกษตรเพื่อการพัฒนาชนบทหละ? อย่างเช่น การขยายต่อทางด่วน ซูบิค-คลาร์ก-ทาร์แลค ไปถึงถนนเคนนอน (Kennon road) นั้นจะจำเป็นอย่างมาก ภายใต้รูปแบบ สร้าง-ดำเนินงาน-ขนย้าย (build-operate-transfer scheme) ยังมีโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นที่ยังรอเงินทุนอยู่ ซึ่งความจริงแล้วเงินทุนท้องถิ่นบวกกับเงิน $14 พันล้านที่ส่งกลับมาบ้านทุกปีก็เพียงพอ นอกจากนี้ เรายังสามารถก่อตั้ง วิถีทางเพื่อจุดประสงค์พิเศษ (Special Purpose Vehicles: SVPs) สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการเปิดธุรกิจใหม่ เพื่อให้ชีวิตที่ดีในชุมชนชนบท
เพื่อนร่วมชาติที่อยู่ต่างประเทศของเรา ต้องการช่วยจากใจจริง เพียงแค่เราต้องบอกว่า "อย่างไร" มันจะไม่เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมเหรอ ถ้าเราสามารถให้โอกาสการลงทุนที่ดีแก่เขาได้ ในขณะที่เขาก็ช่วยสร้างประเทศไปด้วยกัน
จาก //www.trekkingthai.com/board/show.php?Category=trekking&forum=2&No=98113
สาเหตุที่ มาเลเซีย เจริญพัฒนากว่าไทย ในช่วงเวลาอันสั้น
>> ............ สาเหตุที่ มาเลเซีย เจริญพัฒนากว่าไทย ในช่วงเวลาอันสั้น ................
>>
> > คัดจากหนังสือ "คิดเป็น รวยก่อน" หน้า 271-274 โดย กรพจน์ อัศวินวิจิตร
>>
> > (อดีตรมช.กระทรวงพาณิชย์ สมัยรัฐบาล ชวน ๒, อดีตผู้แทนการค้าระหว่างประเทศ
> > รัฐบาลทักษิณ, กรรมการผู้จัดการ ธนาคาร....ในปัจจุบัน)
> > ISBN : 974-90226-8-8
> >. ........." เมื่อ 15 ปี ก่อน ผมไปเจรจาการค้าที่ประเทศมาเลเซีย
> > ผมประเมินด้วยสายตา มาเลเซียล้าหลังกว่าเรา 20 ปี เป็นอย่างน้อย
> > ปัจจุบันนี้ ผมไปมาเลเซียอีกครั้ง ผมตกใจ เขาทำท่าจะแซงหน้าเราซะแล้ว
> > มหาเธร์ใช้เวลา 15 ปี ทำให้มาเลเซียที่ล้าหลังกว่าเราประมาณ 20 ปี
> > กลับมาตีคู่กับเราได้ ต้องยอมรับว่า เก่งมาก
> > ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มาเลเซียพัฒนาได้เร็วมากก็คือ
> > การเมืองของมาเลเซีย...นิ่ง..
> > รัฐบาลมีเสถียรภาพมาก มีคะแนนเสียงในสภาสูง มีฝ่ายค้านน้อย
> > ทำให้มีเวลาทำงานเต็มที่ สามารถแก้กฏหมายสำคัญๆ ได้อย่างรวดเร็ว
> > สามารถวางแผนระยะยาวได้ ที่สำคัญคือ มีโอกาสทำงานต่อเนื่องถึง 20 ปี
> > ทำให้ทุกโครงการถูกสานต่อจนเสร็จ
> > และเกิดโครงการใหม่ที่ต่อเนื่องสอดรับกับโครงการเก่า เสร็จไปแล้วหลายรุ่น
> > ผมได้พูดคุยกับนักธุรกิจชาวมาเลย์ ก็พูดจาชมเชยเขาว่า คนมาเลย์เป็นคนฉลาด
> > คิดเก่ง ถึงสามารถพัฒนาประเทศให้เจริญได้อย่างรวดเร็ว
> > เขาบอกว่า ไม่จริง คนไทยฉลาด และคิดเก่งกว่าคนมาเลย์เยอะ ผมก็งง ไม่เข้าใจ
> > คนไทยฉลาดกว่า คิดเก่งกว่าคนมาเลย์
> > แล้วทำไมประเทศไทยถึงทำท่าจะเจริญช้ากว่ามาเลย์ล่ะ
> > เขาหัวเราะ แล้วอธิบายว่า เขายอมรับว่า คนไทยเป็นคนฉลาด มีความคิดดี
> > ประเทศไทยมีคนคิดโครงการดีๆ เยอะแยะมากมาย
> > แต่ค่อนข้างโชคร้ายที่มีฝ่ายค้านและสื่อมวลชนที่เก่งเกินไป และขยันเกินไป
> > ผมยังไม่เข้าใจ เขาอธิบายว่า เวลามีโครงการดีๆ เป็นประโยชน์ต่อประเทศมหาศาล
> > ถูกเสนอเข้ามา ฝ่ายค้าน นักวิชาการ NGO ประชาชนนักประท้วง สื่อมวลชน
> > จะร่วมกันคัดค้าน ถกเถียงกันไปมา ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่มีใครยอมใคร
> > เก่งหมดทุกคน กว่าจะหาข้อสรุปได้ก็ใช้เวลา 20 ปี คนมาเลย์เนี่ยเป็นคนโง่
> > คิดอะไรไม่ค่อยเป็น แต่เรารู้ตัวว่าเราโง่ เราจึงร่วมมือกันทำงาน
> > ร่วมมือกันวางแผน มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่ประชุมสรุปยังไง
> > เราทำยังงั้น
> > ที่ประชุมสรุปว่า เมื่อเราโง่ เราไม่ต้องคิด เสียเวลา
> > ให้ใช้วิธีคอยชะเง้อมองประเทศไทย ดูว่าไทยกำลังคิดอะไร
> > ใครเสนอความคิดอะไรแปลกๆใหม่ๆ เป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ
> > คนมาเลย์จะเอาโครงการนั้นมาทำทันที
> > มาเลย์ทำจนเสร็จ ใช้งานได้แล้ว ประเทศไทยยังทะเลาะกัน
> > ยังถกเถียงกันไม่เสร็จเลย
> > นี่คือเหตุผลว่า ทำไมมาเลเซียถึงเจริญเร็วกว่า พูดเสร็จ ก็หัวเราะลั่นห้อง
> > น้ำหูน้ำตาไหล
> > ผมหัวเราะไม่ออก แต่หน้าชา เพราะพอหลับตา ก็เห็นภาพสนามบินหนองงูเห่า
> > เพื่อนเห็นผมทำหน้าไม่ดีก็หยุดหัวเราะ แล้วหันมาขอโทษ บอกว่า ยูอย่าซีเรียส
> > นี่เป็นโจ๊ก ไม่ใช่เรื่องจริง
> > เป็นเรื่องเล่าคลายเครียดในหมู่นักธุรกิจชาวมาเลย์ "................
> > อ่านแล้วเครียดไหม หน้าชาไหม
...... อ่านแล้วช่วยกัน Forward ต่อให้คนไทยได้อ่านกัน
> > Good book ISBN : 974-90226-8-8
.......
บทความนี้เขียนเมื่อปี 2543
Create Date : 09 ตุลาคม 2550 |
Last Update : 9 ตุลาคม 2550 18:07:44 น. |
|
8 comments
|
Counter : 6662 Pageviews. |
|
|
|