เปรียบเทียบคนกับดอกบัว ๔ เหล่า
เปรียบเทียบคนกับดอกบัว ๔ เหล่า

    กว่าจะมาเป็นบัวได้นั้น จะต้องมีการไต่เต้ามาตั้งแต่เล็กๆ ตั้งแต่ยังอยู่โคลมตม ผุดแทงหน่อขึ้นมาเป็นบัวใต้น้ำ ปริ่มน้ำ และพ้นน้ำ เช่นเดียวกับเรา เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์เราต้องเอาเยี่ยงอย่างบัว เกิดมาจากอวิชชา ความไม่รู้แจ้ง ก็กระทำให้เกิดความรู้แจ้ง เห็นสภาพตามความเป็นจริงของธรรม 

    ดอกบัวสี่เหล่านี้ ทุกๆ คน สามารถมีทั้งหมด ๔ เหล่านี้อยู่ในตัว เช่น บางคนเป็นช่างซ่อมรถ เมื่อมีผู้รู้พูดถึงเกี่ยวกับรถ เข้าก็เข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องอธิบายมาก เป็นอุคคฏิตัญญู แต่ถ้าพูดเรื่องการวาดภาพ ซึ่งช่างรถไม่เคยได้เรียนรู้มาก่อน อธิบายยังไงเขาก็ไม่เข้าใจ ดอกบัว ๔ เหล่า มีดังนี้

    ดอกบัวเหล่าที่ ๑ โคลนตม คือ เหลวใหล ไม่จริงจัง มีชีวิตอยู่ไปวันๆ ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีจุดหมาย ประเภทหลงทาง เรื่อยเฉย ไปตามสภาวะรูปธรรม (จะคิดถึงตัวเอง)

    พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าและปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)

    ดอกบัวเหล่าที่ ๒ มีการริเริ่ม รู้จักเอามาเสียดายเวลา ความรู้สึกริเริ่ม มีความรู้สึกล่ะ ริเริ่มสัมมา อยากให้มีสาระมากขึ้น อยากจะรู้ (จะคิดถึงตัวเอง)

    พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

    ดอกบัวเหล่าที่ ๓ กระตือรือร้น อยากเปลี่ยนแปลง อยากแก้ไขสิ่งที่ถูกต้อง อยากทำอะไรให้มีสาระ เริ่มเห็นประโยชน์ อยากรู้อยากเห็น จะตั้งเป้าหมาย จุดหมาย เห็นประโยชน์ว่าตนเองเป็นคนทำ

    พวกที่มีสติปัญญาดี เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปจิตัญญู)

    ดอกบัวเหล่าที่ ๔ พ้นน้ำ รับแสงอาทิตย์ พยายามขบคิด ปุจฉา วิสัชนาอะไรต่างๆ วินิจฉัย พิจารณาสิ่งต่างๆ เตรียมตัวเข้าสู่ปรมัตถ์

    พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที   (อุคคฏิตัญญู)

    พระพุทธเจ้าคิดว่า จะโปรดสัตว์แล้วมันยากตรงไหน?

    ยากที่ว่า "คนรับความจริงไม่ได้"

    พระพุทธเจ้าจะเน้นเรื่องความจริง

    คนทั่วไปจะรับความจริงไม่ได้ เพราะว่ามันถูกสอนมาในเรื่องไม่รับความจริง แต่พระพุทธเจ้ามาปฏิวัติ (Revolutions) ความคิดเขา ใหม่ๆ พระพุทธเจ้าออกมาประกาศ ผู้คนด่าทอ ต่อว่าไปหมด คนก็จะเถียง กว่าจะให้คนเขายอมรับได้ไม่ใช่ง่ายๆ พระพุทธเจ้าต้องเดินสายไปเทศน์ ไปคุยกับผู้คนหลากหลาย จนในที่สุดกษัตริย์เห็นแล้วได้ทดลองแล้วก็ได้ผล จึงหันมาสนับสนุน

     บัวเหล่านี้ก็จะพยายามให้ออกเป็นเม็ดผล ให้เป็นสำเร็จ เข้าใจ เพราะว่าเป็นเม็ด

    พอเป็นเม็ดแล้วต้องบ่มเพาะ มี ๓ ขั้น

    ให้เกิดอานิสงส์แบบกว้าง โปรดสัตว์ มหาชน

    ทะลึ่งดันขึ้นมา ก็จะเป็นบัวถัดไป

    ทุกขั้นมี ๑๒ ขั้น

    สาเหตุที่เปรียบเทียบกับดอกบัว เพราะใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด

    การดูบุคคล ดูว่าเขาขาดอะไร จะเพิ่มเติมอะไร

    ดอกบัวเหล่าที่ ๑-๒ จะคิดถึงแต่ตัวเอง

    ถ้าสืบต่อไม่ได้ สั่งสอนคนอื่นไม่ได้ จะเรียกว่าปัจเจกพุทธก็ได้



^_^  ..._/_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต



Create Date : 07 กรกฎาคม 2563
Last Update : 10 มิถุนายน 2564 4:43:53 น.
Counter : 290 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กรกฏาคม 2563

 
 
 
1
2
3
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31