การรับด้วยปัญญาหรืออารมณ์โทสะ
การรับด้วยปัญญาหรืออารมณ์โทสะ

    เวลาเราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อนหรือคู่กรณีของเราได้พูดจา หรือกระทำผิดต่อเรา เราจะรับด้วยอารมณ์แห่งโทสะหรือปัญญาขึ้นอยู่กับเรา วิธีรับทั้ง ๒ อย่าง มีดังนี้


"อย่ามองว่าเขาผิด แต่ให้มองว่าเขาขาด"

เพราะถ้าเรามองว่าเขาทำผิด เราก็จะมีจิตที่จะเอาคืนเขา ต่อว่าเขา ทำร้ายเขา แต่ถ้าเรามองว่าเขาขาด คือ เขาขาดการเรียนรู้ ขาดกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ที่คอยตักเตือนชี้แนะแก่เขา ไม่มีใครสอน เขาจึงเป็นเช่นนี้ ฉะนั้น เราจะต้องชี้แนะเขา ให้เขาได้รู้ เข้าใจในสิ่งนั้นๆ

อารมณ์แห่งจิตโทสะถึงจะลงได้

    
๑. รับด้วยปัญญา

        ๑.๑ ควบคุมตนเองได้ คือ เราต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ไม่ปล่อยไปตามอารมณ์ ให้เรานึกถึงผลดี ผลเสียของการใช้อารมณ์ไปในทางที่ผิดจะก่อให้เกิดโทษแก่เรา ณ ปัจจุบันและส่งผลถึงอนาคต ฉะนั้น เราต้องควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ได้อย่าให้เกินเลย อารมณ์ที่ว่านี้ อารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง แล้วแต่เหตุการณ์จะเป็นเหตุการณ์ใด (พิจารณากรรม ๕ วิบาก ๗ แล้วค่อยกระทำในการรับ หรือบริหารกรรมนั้นๆ)

        ๑.๒ ชี้ว่าผู้กระทำผิดตรงไหน คือ ระหว่างที่เราสนทนากับคู่กรณี เราต้องรู้จักสังเกตสีหน้าของผู้ที่เราพูดคุยด้วย หากเราเห็นคู่สนทนาของเราคับข้องใจ เราต้องหยุดสิ่งที่เราจะพูดสิ่งต่อไป แล้วพิจารณาถึงคำพูดของเรา พิจารณาถึงบุคคลคู่สนทนาว่าเรามีสิทธิ์ในการชี้แนะมากน้อยเพียงใด ถ้าเรามีสิทธิ์ในการชี้แนะ เราต้องชี้แนะเขาว่า ขณะนี้จิตใจของเรามีจิตดำ จิตมารตัวไหนเกิดขึ้น แล้วชี้แนะให้แก่เขา เพื่อเขาจะได้เข้าใจและแก้ไขได้ถูกในครั้งถัดไป แต่หากว่าบุคคลนั้นเราไม่มีสิทธิ์ในการชี้แนะเขาได้ ก็ให้เราหลีกเลี่ยงคำพูดนั้นที่จะทำให้เขาเกิดโทสะ และรีบแก้ไขคำพูดนั้นใหม่

        ๑.๓ หาวิธีแก้ไข คือ ชี้แนะนำให้เขาเกิดปัญญาในการที่เขาจะไปใช้แก้ไข

    รับด้วยปัญญาจะเกิดความสันติ


    
๒. รับด้วยโทสะ   คือ รับด้วยความไม่พอใจ ขุ่นข้องหมองใจ ไม่ได้ดั่งใจที่ตนคิดไว้ ในการับ เช่น จะเกิด ฉุนเฉียว หงุดหงิด ด่าทอ กล่าวโทษ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเลวร้ายลง

        ถ้าเราหรือคู่สนทนารับอารมณ์ด้วยโทสะ โดยทั่วไปมักจะแสดงอาการเช่นนี้ 

        ๒.๑ เงียบ คือ เขาพูดมาแล้วเราไม่พึงพอใจ เราจะเงียบและไม่อยากสนทนาต่อ หรือจะคอยรับฟังว่าเขาจะต่อว่าสิ่งใดกับเราอีก

        ๒.๒ วางแต้มให้เขาทำมากขึ้น คือ จะมีการยกย่องเพื่อให้เขาเกิดความลืมตัว ยั่วให้เขาเกิดอารมณ์ ยุแหย่ให้เขาทำมากขึ้น

        ๒.๓ ฝากคำเยาะเย้ยไว้ก่อน คือ มีการพูดจาถากถาง เยาะเย้ย เย้ยหยัน

        ๒.๔ มุ่งร้าย

        ๒.๕ จองเวร

        ๒.๖ พยาบาท อาฆาต

        ๒.๗ ทำร้าย สังเวยกัน

    ถ้ารับด้วยโทสะก็จะนำไปสู่ความสังเวย

^_^  ..._/_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต



Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2563
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2563 17:54:18 น.
Counter : 377 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กุมภาพันธ์ 2563

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29